ตราแผ่นดินของบริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี
ตราแผ่นดินของบริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี

ตราแผ่นดินของบริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี

ตราแผ่นดินของบริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี มีลักษณะเป็นตราอาร์ม รูปโล่พื้นสีขาว มีแถบขวางรูปคลื่นสีฟ้า 3 แถบที่ตอนบนของโล่ บนพื้นโล่นั้นแบ่งเป็นช่องสามเหลี่ยมหัวกลับพื้นสีแดง ภายในมีรูปคบเพลิง ถัดจากโล่ขึ้นไปเป็นหมวกเกราะอัศวินโบราณ ประดับด้วยพู่ประดับสีขาว-น้ำเงิน คาดด้วยผ้าโพกสีเดียวกัน ตอนบนสุดนั้นเป็นเครื่องยอดรูปเรือสำรวจชื่อ อาร์เอสเอส ดิสคัฟเวอรี (RRS Discovery) ซึ่งเป็นเรือที่ โรเบิร์ต ฟอลคอน สก็อตต์ และเออร์เนสต์ แชคเคิลตัน นักสำรวจชาวอังกฤษ ใช้เดินทางมาสำรวจขั้วโลกใต้ในปี ค.ศ. 1901 (พ.ศ. 2444)ตราดังกล่าวนี้ตั้งอยู่บนพื้นรองรูปพื้นหญ้าสีเขียว (ครึ่งซ้าย) และพื้นน้ำแข็งสีขาว (ครึ่งขวา) มีราชสีห์สีทองยืนผงาดประคองข้างตราด้านซ้าย หมายถึงสหราชอาณาจักร ส่วนด้านขวาประคองด้วยนกเพนกวินจักรพรรดิ อันเป็นสัตว์ที่สามารถพบได้ทั่วไปในขั้วโลกใต้ เบื้องล่างสุดมีแพรแถบสีเหลือง จารึกคำขวัญเป็นอักษรสีแดงใจความ "Research and Discovery" แปลความได้ว่า "สำรวจและค้นพบ" ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญของดินแดนส่วนนี้ตราดังกล่าวนี้ ทางการสหราชอาณาจักรเริ่มกำหนดให้ใช้ได้เมื่อปี ค.ศ. 1952 (พ.ศ. 2495) ขณะที่ดินแดนส่วนนี้ยังจัดให้อยู่ในความดูแลของหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ (พร้อมกันกับตราแผ่นดินของเกาะเซาท์จอร์เจียและหมู่เกาะเซาท์แซนด์วิช)

ตราแผ่นดินของบริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี

ฐานรองข้าง พื้นหญ้าสีเขียว (ครึ่งซ้าย) พื้นน้ำแข็งสีขาว (ครึ่งขวา)
คำขวัญ อังกฤษ: Research and Discovery (สำรวจและค้นพบ)
ผู้ใช้ตรา ดินแดนบริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี ในความปกครองของสหราชอาณาจักร
เครื่องยอด หมวกเกราะ, เรือใบ อาร์เอสเอส ดิสคัฟเวอรี (RRS Discovery)
ประคองข้าง สิงห์ทองยืนผงาด (ซ้าย), นกเพนกวินจักรพรรดิ (ขวา)
โล่ พื้นขาว, แถบขวางคลื่นสีฟ้า 3 แถบที่หัวโล่, แบ่งแถบสามเหลี่ยมพื้นแดง มีรูปคบเพลิง
ส่วนประกอบอื่น แพรแถบจารึกคำขวัญ พื้นเหลือง
เริ่มใช้ ค.ศ. 1952 (พ.ศ. 2495)
แพรประดับ ผ้าโพกสีน้ำเงิน-ขาว มีพู่ประดับสีเดียวกัน

ใกล้เคียง

ตราแผ่นดินของไทย ตราแผ่นดินของแคนาดา ตราแผ่นดินของลาว ตราแผ่นดินของเยอรมนี ตราแผ่นดินของสเปน ตราแผ่นดินของสวีเดน ตราแผ่นดิน ตราแผ่นดินของมาเลเซีย ตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักร ตราแผ่นดินของกัมพูชา