ตอลิบาน
ตอลิบาน

ตอลิบาน

สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน[19]ปรปักษ์ที่ไม่ใช่รัฐ
องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ[20]ฏอลิบาน หรือ ตอลิบาน หรือมักสะกดว่า ตาลีบัน (อังกฤษ: Taliban, อาหรับ: طالبان‎, ṭālibān หมายถึง "นักศึกษา" ในภาษาอาหรับ) เป็นกลุ่มก่อการร้ายอิสลามและกลุ่มการเมืองซึ่งปกครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศอัฟกานิสถานและเมืองหลวงกรุงคาบูลในฐานะ "รัฐอิสลามแห่งอัฟกานิสถาน" นับแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2539 แต่ได้รับการรับรองทางการทูตจากสามรัฐเท่านั้น ได้แก่ ประเทศปากีสถาน ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์หลังเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ตาลีบันถูกโค่นล้มโดยปฏิบัติการเสรีภาพยั่งยืน (Operation Enduring Freedom) สมาชิกส่วนใหญ่หลบหนีไปยังปากีสถานประเทศเพื่อนบ้าน ที่ซึ่งมีการรวมกลุ่มกันใหม่เป็นขบวนการกบฏเพื่อสู้รบกับสาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปลาย พ.ศ. 2544 และกองกำลังสนับสนุนด้านความมั่นคงนานาชาติ (International Security Assistance Force) นำโดยนาโตผู้นำตาลีบันส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลมาจากรากฐานนิยมเดียวบัน (Deobandi fundamentalism) สมาชิกหลายคนปฏิบัติตามบรรทัดฐานทางสังคมและวัฒนธรรมที่เรียกว่า "พัชตุนวาลี" (Pashtunwali) ขบวนการตาลีบันส่วนใหญ่ประกอบขึ้นจากสมาชิกชาวปาทาน (Pashtun) ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ใหญ่ที่สุดในอัฟกานิสถาน[22] ผู้นำหลักของขบวนการตาลีบัน คือ มุลลาห์ มุฮัมมัด โอมาร์ (Mullah Mohammad Omar)[23] ผู้บัญชาการดั้งเดิมของโอมาร์เป็น "อดีตผู้บัญชาการทหารหน่วยเล็กและครูมาดราซาห์ผสมกัน"[24]ขณะอยู่ในอำนาจ ตาลีบันได้บังคับใช้การตีความกฎหมายชารีอะฮ์หนึ่งในกฎหมายที่เข้มงวดที่สุดที่เคยมีมาในโลกมุสลิม[25] อย่างไรก็ดี ข้อวิจารณ์ส่วนใหญ่มาจากนักวิชาการมุสลิมผู้นำ[26] ตาลีบันได้เป็นข่าวฉาวโฉ่ในระดับโลกจากการปฏิบัติต่อสตรี[27]พันธมิตรของตาลีบันประกอบด้วยกองทัพปากีสถาน เช่นเดียวกับกลุ่มในอาหรับและเอเชียกลาง[28][29][30] อัลกออิดะฮ์ให้การสนับสนุนตาลีบันด้วยกลุ่มนักสู้จากประเทศอาหรับและเอเชียกลาง ในช่วงท้ายของสงคราม มีการประเมินว่ากองกำลังกว่า 45,000 คนสู้รบโดยถือข้างตาลีบัน ขณะที่เพียง 14,000 คนถือข้างอัฟกานิสถาน[29][31] ปัจจุบัน ตาลีบันปฏิบัติการในอัฟกานิสถานและปากีสถานตะวันออกเฉียงเหนือ เจ้าหน้าที่สหรัฐว่า หนึ่งในสำนักงานใหญ่ของฏอลิบานตั้งอยู่ในหรือใกล้กับเควตตา (Quetta) ประเทศปากีสถาน[32] ตาลีบันปฏิบัติการโจมตีต่อประชากรพลเรือน ตามรายงานของสหประชาชาติ ตาลีบันเป็นผู้รับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของพลเรือน 2,477 คน (76% ของยอดเสียชีวิตทั้งหมด) ในช่วงครึ่งปีแรกของ พ.ศ. 2553[33]หลังอุมัรเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2556 อัคตาร์ มันศูรได้รับเลือกให้เป็นผู้นำจนกระทั่งเขาถูกสังหารในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2559[34] ไฮบาตุลเลาะห์ อะคุนด์ซะดะได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งผู้นำคนต่อไป[35]

ตอลิบาน

ปรปักษ์ รัฐปรปักษ์

สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน[19]

ปรปักษ์ที่ไม่ใช่รัฐ
องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ[20]

ผู้นำ ไฮบาตุลเลาะห์ อะคุนด์ซะดะ (ผู้นำคนปัจจุบัน)
มุฮัมมัด เราะซุล (ผู้นำกลุ่มแบ่งแยก)
แนวคิด
การสู้รบและสงคราม สงครามกลางเมืองในอัฟกานิสถาน (พ.ศ. 2535–2539)
สงครามกลางเมืองในอัฟกานิสถาน (พ.ศ. 2539–2544)
สงครามในอัฟกานิสถาน (พ.ศ. 2544–2557)
สงครามในอัฟกานิสถาน (พ.ศ. 2558 – ปัจจุบัน)
กำลังพล 45,000 คน (ประมาณการในปี ค.ศ. 2001)[13]
11,000 คน (ประมาณการในปี ค.ศ. 2008)[14]
36,000 คน (ประมาณการในปี ค.ศ. 2010)[15]
60,000 คน (ประมาณการในปี ค.ศ. 2014)[16]
กองบัญชาการ
กลุ่ม ชาวปาทาน[9][10]
พันธมิตร
ปฏิบัติการ พ.ศ. 2537–2539 (ทหารกองหนุน)
พ.ศ. 2539–2544 (รัฐบาล)
พ.ศ. 2547–ปัจจุบัน (ก่อการกำเริบ)
พื้นที่ปฏิบัติการ อัฟกานิสถานและปากีสถานตะวันตกเฉียงเหนือ
ถือกำเนิดที่ Students of Jamiat Ulema-e-Islam

แหล่งที่มา

WikiPedia: ตอลิบาน http://usgovinfo.about.com/library/weekly/aa092801... http://www.aljazeera.com/news/asia/2012/12/2012122... http://www.bbc.com/news/world-asia-36375975 http://www.bbc.com/news/world-middle-east-25922743 http://www.cbsnews.com/news/isis-active-in-south-a... http://www.digitaljournal.com/article/347009 http://www.digitaljournal.com/article/347009#ixzz3... http://www.foxnews.com/world/2013/09/08/pakistan-m... http://www.mcclatchydc.com/2008/09/10/52244/911-se... http://www.nytimes.com/2007/01/21/world/asia/21que...