ถ้ำเอลโลรา
ถ้ำเอลโลรา

ถ้ำเอลโลรา

เอโลรา (Ellora; \e-ˈlȯr-ə\) หรือนิยมทับศัพท์อิงชื่อภาษาอังกฤษว่า เอลโลรา หรือชื่อในภาษามราฐี เวรูละ (มราฐี:वेरूळ; IAST: Vērūḷ) เป็นแหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโกตั้งอยู่ที่อำเภอออรังกาบาด รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย เป็นหมู่ศาสนสถานและวิหารเจาะหิน (rock-cut) ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ประกอบด้วยงานศิลปะและโบราณสถานของศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ และศาสนาไชนะ อายุราวปี 600–1000[1][2] ถ้ำหมายเลข 16 ถือเป็นสถาปัตยกรรมเจาะหินก้อนเดี่ยว (single monolithic rock excavation) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ภายในถ้ำหมายเลข 16 คือไกรลาศมนเทียร และราชรถที่สร้างขึ้นเพื่อบูชาพระศิวะ[3][4][5]ปัจจุบันค้นพบถ้ำมากกว่า 100 ถ้ำในหมู่ถ้ำเอโลรา ทั้งหมดสร้างึ้ขโดยการเจาะเข้าไปในหน้าผาหินบะซอลต์ในหมู่เทือกเขาจารนันทรี (Charanandri Hills) ปัจจุบันมีเพียง 34 ถ้ำที่เปิดให้เข้าชมสำหรับสาธารณชน[3] ในจำนวนนี้ประกอบด้วยวิหารในศาสนาพุทธ 12 แห่ง (ถ้ำหมายเลข 1–12), ฮินดู 17 แห่ง (ถ้ำหมายเลข 13–29) และไชนะ 5 แห่ง (ถ้ำหมายเลข 30–34)[6][7] ภายในแต่ละวิหารเจาะหินเป็นการแสดงถึงศิลปกรรมและความเชื่อที่แพร่หลายในสหัสวรรษที่หนึ่ง และสร้างตามความเชื่อของแต่ละศาสนา[6] การก่อสร้างให้อยู่ใกล้ชิดกันเช่นนี้เป็นการแสดงถึงความกลมเกลียวระหว่างศาสนา[2][8] หมู๋วิหารทั้งหมดล้วนสร้างขึ้ในจักรวรรดิราษฏรกูฏ (สำหรับวิหารพุทธและฮินดู) และจักรวรรดิยาทวะ (วิหารไชนะ) สนับสนุนการก่อสร้างโดยกษัตริย์ ขุนนาง และผู้ค้าขายที่มั่งคั่งในแต่ละยุคสมัย[3][9]

ถ้ำเอลโลรา

ประเภท วัฒนธรรม
เลขอ้างอิง 243
เกณฑ์ i, iii, vi
พิกัด 20°01′36″N 75°10′38″E / 20.0268°N 75.1771°E / 20.0268; 75.1771พิกัดภูมิศาสตร์: 20°01′36″N 75°10′38″E / 20.0268°N 75.1771°E / 20.0268; 75.1771
ขึ้นทะเบียน 1983 (7th session)
ที่ตั้ง อำเภอออรังกาบาด, รัฐมหาราษฏระ, ประเทศอินเดีย