ประวัติ ของ ทรูวิชั่นส์

ไอบีซีและยูทีวี

ยูบีซี เกิดจากการรวมกิจการ ของผู้ให้บริการเคเบิลทีวี 2 รายใหญ่ในประเทศไทย คือไอบีซี และยูทีวี

ไอบีซี

ยูทีวี

การรวมกิจการเป็นยูบีซี

เนื่องจากเกิดวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ทำให้ไอบีซีและยูทีวีต้องหาทางอยู่รอด โดยการควบรวมกิจการเพื่อลดค่าใช้จ่าย[2] โดยสามารถใช้ทรัพยากร ของบริษัทในเครือได้อย่างเต็มที่ คือทั้งระบบสัญญาณผ่านดาวเทียมไทยคม และบริการเอ็มเอ็มดีเอสผ่านระบบไมโครเวฟ ของกลุ่มชินวัตร (แต่ภายหลังออกอากาศด้วยระบบดังกล่าวเพียง 2 ช่องคือ นิวส์ 24 และช็อปปิงแอตโฮม ซึ่งสามารถรับชมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ) และระบบเคเบิลใยแก้วนำแสง กับโคแอกเชียล ของกลุ่มเทเลคอมเอเชีย

โดยในราวเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ไอบีซีเป็นฝ่ายซื้อกิจการยูทีวี โดยวิธีการแลกหุ้น และเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ยูไนเต็ด บรอดคาสติง คอร์ปอเรชัน จำกัด (ยูบีซี) และออกอากาศด้วยชื่อยูบีซี อย่างเป็นทางการ ตั้งแต่วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 โดยในยุคแรก ออกอากาศผ่านดาวเทียมไทยคม 1 (แต่ปัจจุบันใช้ดาวเทียมไทยคม 5) แต่หลังจากนั้นไม่นาน กลุ่มชินวัตรก็ขายหุ้นยูบีซีทั้งหมด ให้กับเครือเจริญโภคภัณฑ์ บริษัทแม่ของเทเลคอมเอเชีย ขณะเดียวกันก็ดำเนินการจดทะเบียน เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยใช้ชื่อย่อว่า UBC

จากนั้นเมื่อปี พ.ศ. 2549 กลุ่มเอ็มไอเอช ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ขายหุ้นทั้งหมดให้กับกลุ่มทรู คอร์ปอเรชัน รวมเป็นหุ้นร้อยละ 98 ทำให้กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จึงยุติการซื้อขายหลักทรัพย์ของยูบีซี โดยกลุ่มทรูฯ ประกาศซื้อหุ้นยูบีซี จากผู้ถือหุ้นรายย่อย เมื่อวันที่ 9 มกราคม แล้วจึงเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ยูบีซี-ทรู จำกัด (มหาชน) รวมถึงเครื่องหมายการค้าใหม่คือ ยูบีซี-ทรู ต่อมาในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2550 ยูบีซีเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัทเป็น บริษัท ทรูวิชั่นส์-ยูบีซี จำกัด (มหาชน) รวมถึงเครื่องหมายการค้าใหม่คือ ทรูวิชั่นส์-ยูบีซี ต่อมาลดลงเหลือเพียง บริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน ตามยุทธศาสตร์หลอมรวม (Convergence) ธุรกิจในกลุ่มทรูฯ ต่อมาได้เพิ่มชื่อเป็น บริษัท ทรูวิชั่นส์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่เดือน กันยายน พ.ศ. 2556

ผู้นำด้านโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกในประเทศไทย

ปัจจุบัน ทรูวิชั่นส์เป็นผู้ให้บริการโทรทัศน์บอกรับเป็นสมาชิกชั้นนำและใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ซึ่งได้ให้บริการทั้งระบบจานดาวเทียมและเคเบิล มีจำนวนสมาชิกถึง 1,179,196 ราย[3] โดยมีแพ็คเกจให้เลือก 7 แพ็คเกจ และอีกหนึ่งแพ็คเกจ TrueLife FreeView (ที่ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือระบบทรูมูฟ สามารถรับชมได้ 43 ช่อง) ด้วยจำนวนช่องที่ให้บริการสูงสุดกว่า 100 ช่อง[4] และยังมีการให้บริการ PVR หรือ Personal Video Recorder ที่ให้สมาชิกบันทึกรายการโปรดได้

การให้มีโฆษณา

เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2552 สุรพล นิติไกรพจน์ ประธานคณะกรรมการบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ในขณะนั้น ร่วมลงนามในสัญญา อนุญาตให้ทรูวิชันส์ สามารถมีโฆษณาได้ ชั่วโมงละ 6 นาที[5] เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ การประกอบกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ที่อนุญาตให้กิจการโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิก สามารถทำการโฆษณาได้ โดยตกลงจ่ายเงินชดเชยค่าเสียหาย กรณีที่กลุ่มทรูวิชันส์ ออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และค่าปรับอื่น ๆ รวมเป็นเงินกว่า 110 ล้านบาท และตกลงที่จะแบ่งรายได้ค่าโฆษณาให้ อสมท ร้อยละ 6.5 จากรายได้ค่าโฆษณาทั้งหมด

ระบบภาพ HD

ทรูวิชันส์ได้ทำการทดสอบการออกอากาศระบบ HD ที่ภาพมีความคมชัดมากกว่าปกติถึง 5 เท่า ระบบเสียงจะเป็นระบบ Dolby Digital Surround รอบทิศทาง โดยช่องที่จะเริ่มทำการออกอากาศได้แก่ช่อง ทรูสปอร์ต, Discovery Channel, National Geographic Channel , History Channel และรายการซีรีส์และภาพยนตร์ที่ใช้ระบบ ระบบ HD ในการออกอากาศซึ่งการออกอากาศนั้นเกิดขึ้นเมื่องาน Bangkok ICT Expo 2007 ที่เมืองทองธานี[6]

ปัจจุบัน ได้แพร่ภาพระบบ HD แล้ว 64 ช่องในระบบเคเบิลใยแก้ว โดยสามารถรับชมได้ทุกแพ็กเกจที่มีช่อง HD แต่ต้องเปลี่ยนกล่องรับสัญญาณเดิมเป็นกล่องรับสัญญาณใหม่ เนื่องจากกล่องรับสัญญาณเดิม ไม่สามารถรับระบบเอชดีได้ ซึ่งองค์ประกอบในการรับชมระบบเอชดีที่ดีที่สุดมีดังนี้

  • ต้องมีกล่องรับสัญญาณรุ่นใหม่ที่รองรับระบบเอชดีได้
  • ต้องมีบริการ TrueVisions HD Package
  • ต้องมีเครื่องรับโทรทัศน์แบบแอลซีดี แอลอีดี หรือพลาสมา ในแบบ Full HD 1080p

และเมื่อคืนวันที่ 15 กรกฎาคม 2555 ทรูวิชั่นส์ได้ประกาศเปลี่ยนชื่อแพ็คเกจแพลตตินั่ม มาเป็น แพลตตินั่ม เอชดี โดยสามารถรับชมช่องเอชดีได้ฟรี 17 ช่อง โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เพียงแต่สมาชิกในปัจจุบันต้องแจ้งขอเปลี่ยนกล่องมาเป็นกล่องรับสัญญาณแบบใหม่เท่านั้น

ระบบภาพ 4K

ในเดือนมิถุนายน 2561 ทรูวิชั่นส์ได้เพิ่มระบบการส่งสัญญาณภาพแบบใหม่ ในระบบ 4K หรือ Ultra HD ที่มีความคมชัดสูงกว่า HD ถึง 4 เท่า และคมชัดกว่าระบบปกติถึง 20 เท่า ให้ภาพและรายละเอียดที่สมจริงทุกอณู โดยเริ่มต้นส่งสัญญาณช่องรายการฟุตบอลโลก 2018 เป็นช่องแรกที่ช่องหมายเลข 400 สำหรับองค์ประกอบในการรรับชมช่องรายการความคมชัดระดับ 4K หรือ Ultra HD ที่ดีที่สุดมีดังนี้

  • ต้องมีกล่องรับสัญญาณรุ่นใหม่ที่รองรับระบบ 4K
  • ต้องมีเครื่องรับโทรทัศน์รุ่นใหม่ชนิด Ultra HD TV ที่มีขนาดขั้นต่ำ 55 นิ้ว
  • ต้องเป็นสมาชิกแพลทินัม เอชดี แพ็กเกจ หรือ โกลด์ เอชดี แพ็กเกจในปัจจุบัน หรือสมาชิกที่สมัครเข้ามาใหม่ๆ ทุกแพ็กเกจ (สมาชิกปัจจุบันที่ใช้แพ็กเกจอื่นๆ ที่ต่ำกว่าโกลด์ เอชดี แพ็กเกจ สามารถอัพเกรดเพิ่มแพ็กเกจให้เป็นแพลทินัม เอชดี หรือ โกลด์ เอชดี แพ็กเกจได้)

การแก้ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์

ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ทรูวิชั่นส์ไม่สามารถแก้ไขปัญหาลิขสิทธิ์ มานาน 23 ปี หรือการแอบลักลอบรับชมรายการของทรูวิชันส์ผ่านกล่องรับสัญญาณดาวเทียมที่ไม่ได้มาจากทรูวิชันส์ (เช่น กล่องดรีมบ็อกซ์) ที่เป็นปัญหาเรื้อรังมาตั้งแต่ตอนที่ยังเป็น ยูบีซีได้ จนกระทั่งในที่สุด ทรูวิชันส์ได้ตัดสินใจเพิ่มมาตรการในการควบคุมระบบการออกอากาศใหม่ทั้งหมด โดยเปลี่ยนระบบการส่งสัญญาณภาพจากเดิมที่เป็น MPEG-2 มาเป็น MPEG4 แบบเข้ารหัส ในคืนวันที่ 15 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อสมาชิกในกลุ่มแพลตตินั่ม เอชดี โกล์ด โกล์ดไลท์ และซิลเวอร์ โดยตรง โดยผู้ใช้ในกลุ่มนี้จะต้องมีการแจ้งขอเปลี่ยนกล่องรับสัญญาณภาพมาเป็นรูปแบบใหม่ หรือ TrueVisions HD Plus เพื่อที่จะสามารถรับชมช่องรายการได้ครบตามปกติโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายจากเดิมที่ต้องเสียค่าเปลี่ยนอุปกรณ์ 1,000 บาท ส่วนผู้ใช้ในกลุ่มทรูโนว์เลดจ์ ทรูไลฟ์ ฟรีวิว และทรูไลฟ์ ฟรีทูแอร์ ยังคงสามารถรับชมช่องรายการได้ตามปกติ โดยไม่ต้องแจ้งขอเปลี่ยนกล่องสัญญาณ (ปัจจุบันยุติออกอากาศในระบบ MPEG-2 แล้ว)

การอัพเกรดซอฟแวร์เวอร์ชัน

ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ทรูวิชันส์ผ่านกล่องรับสัญญาณ TrueVisions HD Plus เวอร์ชันใหม่ New TrueVisions โฉมใหม่ของการดูทีวี” เชื่อมโลกดิจิตอลสู่ประสบการณ์การรับชมทีวีที่ดีที่สุด เปลี่ยนสู่โลกใหม่ของการชมทีวีที่ดีที่สุด สัมผัสความบันเทิงรูปแบบใหม่ได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม โดยได้ดำเนินการในคืนวันที่ 7 กรกฎาคม 2559