ทฤษฎีความผูกพัน
ทฤษฎีความผูกพัน

ทฤษฎีความผูกพัน

ทฤษฎีความผูกพัน (อังกฤษ: Attachment theory)หรือ ทฤษฎีความผูกพันทางอารมณ์[1]เป็นแบบจำลองทางจิตวิทยาเพื่อกำหนดพลศาสตร์ของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ทั้งในระยะยาวระยะสั้นแต่ว่า "ทฤษฎีความผูกพันไม่ได้ตั้งเป็นทฤษฎีทั่วไปของความสัมพันธ์(แต่) ใช้กล่าวถึงด้าน ๆ หนึ่งเพียงเท่านั้น"[2]:81คือ การตอบสนองของมนุษย์ภายในสัมพันธภาพเมื่อเจ็บ ถูกพรากจากคนรัก หรือว่ารู้สึกอันตราย[2]โดยพื้นฐานแล้ว ทารกอาจผูกพันกับคนเลี้ยงคนไหนก็ได้ แต่ว่า คุณลักษณะของความสัมพันธ์กับ/ของแต่ละคนจะแตกต่างกันในทารก ความผูกพันโดยเป็นส่วนของระบบแรงจูงใจและพฤติกรรมจะสั่งการให้เด็กเข้าไปอยู่ใกล้ชิดกับคนดูแลที่คุ้นเคยเมื่อตกใจ โดยคาดหวังว่าจะได้การคุ้มครองและการปลอบใจบิดาของทฤษฎีผู้เป็นนักจิตวิทยาทรงอิทธิพลชาวอังกฤษจอห์น โบลบี้ เชื่อว่า ความโน้มเอียงของทารกวานร (รวมทั้งมนุษย์) ที่จะผูกพันกับคนเลี้ยงที่คุ้นเคย เป็นผลของความกดดันทางวิวัฒนาการ เพราะว่าพฤติกรรมผูกพันอำนวยให้รอดชีวิตเมื่อเผชิญกับอันตรายเช่นการถูกล่าหรือต้องเผชิญกับสิ่งแวดล้อม[3]หลักสำคัญที่สุดของทฤษฎีก็คือว่า ทารกจำเป็นต้องสร้างความสัมพันธ์กับคนเลี้ยงหลักอย่างน้อยหนึ่งคนเพื่อให้เกิดพัฒนาการทางสังคมและทางอารมณ์ได้อย่างสำเร็จ โดยเฉพาะการเรียนรู้เพื่อควบคุมอารมณ์ตนเองอย่างมีประสิทธิผลพ่อหรือคนอื่น ๆ มีโอกาสกลายเป็นผู้ผูกพันหลักถ้าให้การดูแลเด็กและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่สมควรโดยมากที่สุด[4]เมื่อมีคนดูแลที่ไวความรู้สึกและตอบสนองต่อเด็ก ทารกจะอาศัยคนดูแลเป็น "เสาหลัก" เมื่อสำรวจสิ่งแวดล้อมควรจะเข้าใจว่า "แม้คนดูแลที่ไวความรู้สึกจะรู้ใจถูกก็ประมาณแค่ 50%เพราะการสื่อสารอาจจะไม่ลงรอยกัน ไม่สมกันบางครั้งพ่อแม่ก็อาจรู้สึกเหนื่อยหรือสนใจเรื่องอื่นอยู่มีโทรศัพท์ที่ต้องรับหรืออาหารเช้าที่จะต้องทำกล่าวอีกอย่างก็คือ ปฏิสัมพันธ์ที่เข้ากันอย่างดีอาจเสียไปได้อย่างบ่อยครั้งแต่ลักษณะของคนดูแลที่ไวความรู้สึกคนแท้ก็คือ ความเสียหายนั้นจะได้การบริหารหรือซ่อมแซม"[5]ความผูกพันระหว่างทารกกับผู้ดูแลเกิดขึ้นแม้เมื่อคนดูแลไม่ไวความรู้สึกและไม่ตอบสนองต่อเด็ก[6]ซึ่งทำให้มีผลตามมาหลายอย่างคือ ทารกจะไม่สามารถออกจากความสัมพันธ์กับคนดูแลที่ไว้ใจไม่ได้หรือไม่ไวความรู้สึกทารกจะต้องบริหารเองเท่าที่ทำได้ภายในความสัมพันธ์เช่นนี้โดยอาศัยเกณฑ์วิธีสถานการณ์แปลก (Strange situation) งานวิจัยของนักจิตวิทยาพัฒนาการชาวอังกฤษ ดร. แมรี่ เอนสเวอร์ธ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 พบว่า เด็กจะมีรูปแบบความผูกพันที่ต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับประสบการณ์เบื้องต้นที่ได้จากคนดูแลรูปแบบความผูกพันในชีวิตต้น ๆ นี้ก็จะมีอิทธิพล แม้จะไม่ใช่ตัวกำหนด ความคาดหวังของบุคคลในความสัมพันธ์ต่อ ๆ มา[7]มีหมวดหมู่ความผูกพัน 4 อย่างที่ได้ระบุในเด็ก คือทฤษฎีนี้ได้กลายเป็นทฤษฎีหลักที่ใช้ในปัจจุบันเพื่อศึกษาพฤติกรรมของทารกและเด็กหัดเดินในด้านต่าง ๆ รวมทั้งสุขภาพจิตทารก การปฏิบัติต่อเด็ก เป็นต้นความผูกพันแบบมั่นใจจะเกิดเมื่อเด็กรู้สึกว่าสามารถพึ่งคนดูแลให้อยู่ใกล้ ๆ ปลอบใจ และช่วยป้องกันเป็นรูปแบบที่พิจารณาว่าดีที่สุดส่วนแบบวิตกกังวล-คละจะเกิดเมื่อเด็กรู้สึกวิตกกังวลเมื่อพรากจากคนดูแล และไม่กลับไปรู้สึกมั่นใจเมื่อคนดูแลกลับมาส่วนแบบวิตกกังวล-หลีกเลี่ยงเกิดเมื่อเด็กหลีกเลี่ยงพ่อแม่และแบบไม่มีระเบียบก็คือเด็กจะไม่แสดงพฤติกรรมความผูกพันในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 ทฤษฎีนี้ได้ขยายไปใช้กับความผูกพันในผู้ใหญ่โดยใช้เมื่อมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพ่อแม่หรือคู่รัก

แหล่งที่มา

WikiPedia: ทฤษฎีความผูกพัน http://web.ebscohost.com/ehost/detail?vid=3&hid=7&... http://www.psychology.sunysb.edu/attachment/index.... http://www.psychology.sunysb.edu/attachment/online... http://www.psychology.sunysb.edu/attachment/online... http://www.garfield.library.upenn.edu/classics1986... //lccn.loc.gov/00266879 //lccn.loc.gov/2005019272 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2690512 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3041266 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3861901