ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า
ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า

ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า

หลักการทางคณิตศาสตร์Measurement · หลักความไม่แน่นอน
หลักการกีดกัน · ทวิภาพ
Decoherence · Ehrenfest theorem · Tunnelingทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า (อังกฤษ: Electromagnetism) เป็นสาขาหนึ่งของวิชาฟิสิกส์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา แรงแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเป็นปฏิสัมพันธ์ทางกายภาพ (Physical interaction) ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นระหว่างอนุภาคใด ๆ ที่มีประจุไฟฟ้า แรงแม่เหล็กไฟฟ้านั้นถูกส่งผ่านโดยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic field) ที่ประกอบไปด้วยสนามไฟฟ้า และสนามแม่เหล็ก และเป็นต้นเหตุของการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าเช่นแสง แรงแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นหนึ่งในสี่ปฏิสัมพันธ์พื้นฐาน (เรียกอีกแบบเป็น แรง) ในธรรมชาติ อีกสามแรงพื้นฐานได้แก่ อันตรกิริยาอย่างเข้ม, อันตรกิริยาอย่างอ่อน และแรงโน้มถ่วง[1]แม่เหล็กไฟฟ้ามาจากภาษาอังกฤษ electromagnet คำนี้ป็นรูปแบบผสมของคำภาษากรีกสองคำได้แก่ ἤλεκτρον (ēlektron) หมายถึง อิเล็กตรอน และ μαγνῆτιςλίθος (magnētis lithos) ซึ่งหมายถึง "หินแม่เหล็ก" ซึ่งเป็นแร่เหล็กชนิดหนึ่ง ปรากฏการณ์แม่เหล็กไฟฟ้าถูกนิยามในความหมายของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า บางครั้งถูกเรียกว่าแรงลอเรนซ์ ซึ่งประกอบด้วยทั้งไฟฟ้าและแม่เหล็กในฐานะที่เป็นสององค์ประกอบของปรากฏการณ์เดียวกันแรงแม่เหล็กไฟฟ้ามีบทบาทสำคัญในการกำหนดคุณสมบัติภายในของวัตถุส่วนใหญ่ที่พบในชีวิตประจำวัน สสารทั่วไปจะได้รูปของมันจากผลของแรงระหว่างโมเลกุล (Intermolecular force) ของโมเลกุลแต่ละตัวในสสาร แรงแม่เหล็กไฟฟ้าระหว่างนิวเคลียสและอิเล็กตรอนยึดเหนี่ยวอิเล็กตรอนตามกลไกคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเข้ากับวงโคจรรอบนิวเคลียส และยึดเหนี่ยวอะตอมไว้ด้วยกันซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของโมเลกุล แรงแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นตัวการให้เกิดพันธะเคมีระหว่างอะตอมทำให้เกิดโมเลกุลและแรงระหว่างโมเลกุล กระบวนการนี้จะควบคุมกระบวนการที่เกี่ยวข้องทั้งหลายในทางเคมีซึ่งเกิดขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอิเล็กตรอนในวงโคจรของอะตอมหนึ่งกับอิเล็กตรอนอื่นในวงโคจรของอะตอมที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งจะถูกกำหนดโดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างแรงแม่เหล็กไฟฟ้ากับโมเมนตัมของอิเล็กตรอนเหล่านั้นมีคำอธิบายของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าทางคณิตศาสตร์จำนวนมาก ในไฟฟ้าพลศาสตร์แบบคลาสสิก (classical electrodynamics) สนามไฟฟ้าจะอธิบายถึงศักย์ไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้า ในกฎของฟาราเดย์ สนามแม่เหล็กจะมาพร้อมกับการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าและแม่เหล็ก, และสมการของแมกซ์เวลจะอธิบายว่า สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กถูกสร้างขึ้นได้อย่างไร มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งกันและกันอย่างไร และมีการเปลี่ยนแปลงโดยประจุและกระแสได้อย่างไรนัยยะทางทฤษฎีของแม่เหล็กไฟฟ้า โดยเฉพาะการสถาปนาความเร็วของแสงที่ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของ "ตัวกลาง" การกระจายคลื่น ((ความสามารถในการซึมผ่าน (permeability) และแรงต้านสนามไฟฟ้า) นำไปสู่​​การพัฒนาทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษโดย อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ในปี 1905แม้ว่าแรงแม่เหล็กไฟฟ้าถือเป็นหนึ่งในสี่แรงพื้นฐาน แต่ที่ระดับพลังงานสูงอันตรกิริยาอย่างอ่อนและแรงแม่เหล็กไฟฟ้าถูกรวมเป็นสิ่งเดียวกัน เช่นในประวัติศาสตร์ของจักรวาลในช่วงยุคควาร์ก อันตรกิริยาไฟฟ้าอ่อน (Electroweak interaction) จะหมายถึงแรง(แม่เหล็ก)ไฟฟ้า + (อันตรกิริยาอย่าง)อ่อน

ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า

ภูมิหลังหลักการพื้นฐานการทดลองFormulationsสมการการตีความหัวข้อศึกษายุคใหม่นักวิทยาศาสตร์ ความรู้เบื้องต้น

หลักการทางคณิตศาสตร์

ภูมิหลัง
กลศาสตร์ดั้งเดิม
ทฤษฎีควอนตัมแบบเก่า
Interference · สัญกรณ์บรา-เค็ท
Hamiltonian
หลักการพื้นฐาน
Quantum state · ฟังก์ชันคลื่น
Superposition · เอนแทงเกิลเมนต์

Measurement · หลักความไม่แน่นอน
หลักการกีดกัน · ทวิภาพ
Decoherence · Ehrenfest theorem · Tunneling

การทดลอง
Double-slit experiment
Davisson–Germer experiment
การทดลองของสเติร์น-เกอร์แลค
Bell's inequality experiment
Popper's experiment
แมวของชเรอดิงเงอร์
Elitzur-Vaidman bomb-tester
Quantum eraser
Formulations
Schrödinger picture
Heisenberg picture
ภาพแบบอันตรกิริยา
กลศาสตร์เมทริกซ์
Sum over histories
สมการ
สมการของเพาลี
สมการของไคลน์–กอร์ดอน
สมการของดิแรก
ทฤษฎีของบอร์และสมการของบัลเมอร์-ริดเบอร์ก
การตีความ
โคเปนเฮเกน · Ensemble
Hidden variable theory · Transactional
Many-worlds · Consistent histories
Relational · Quantum logic · Pondicherry
หัวข้อศึกษายุคใหม่
ทฤษฎีสนามควอนตัม
ทฤษฎีโน้มถ่วงเชิงควอนตัม
ทฤษฎีแห่งสรรพสิ่ง
นักวิทยาศาสตร์
พลังค์ · ไอน์สไตน์ · บอร์ · ซอมเมอร์เฟลด์ · โพส · เครเมอร์ส · ไฮเซนแบร์ก· บอร์น · จอร์แดน · เพาลี · ดิแรก · เดอ เบรย ·ชเรอดิงเงอร์ · ฟอน นอยมันน์ · วิกเนอร์ · ไฟน์แมน · Candlin · บอห์ม · เอฟเรตต์ · เบลล์ · เวน

แหล่งที่มา

WikiPedia: ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า http://scienceworld.wolfram.com/physics/Electromag... http://www.feynmanlectures.caltech.edu/II_toc.html http://hyperphysics.phy-astr.gsu.edu/hbase/emcon.h... http://www-istp.gsfc.nasa.gov/Education/whmfield.h... http://ppp.unipv.it/collana/pages/libri/saggi/nuov... http://www.unitconversion.org/unit_converter/magne... https://books.google.com/?id=2kPAIlxjDJwC&printsec... https://www.youtube.com/watch?v=9Tm2c6NJH4Y https://www.youtube.com/watch?v=HcPDc23ZLEs https://archive.org/details/classicalelectro0000ja...