ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
ทางพิเศษเฉลิมมหานคร

ทางพิเศษเฉลิมมหานคร

ทางพิเศษเฉลิมมหานคร หรือ ระบบทางด่วนขั้นที่ 1 เป็นทางพิเศษสายแรกของประเทศไทย ก่อสร้างและเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2524[1][2] โดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นทางพิเศษที่เชื่อมการคมนาคมขนส่งระหว่างภาคต่าง ๆ ของประเทศเข้าด้วยกัน โดยไม่ต้องเดินทางผ่านการจราจรหนาแน่นในใจกลางกรุงเทพมหานคร ช่วยลดปริมาณการจราจรที่คับคั่งบนถนนระดับดิน รวมทั้งช่วยให้การขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือคลองเตยกับภาคต่าง ๆ ให้เป็นไปด้วยความสะดวกและรวดเร็ว มีระยะทางทั้งสิ้น 27.1 กิโลเมตร[2]

ทางพิเศษเฉลิมมหานคร

ปลายทิศตะวันออก: ทางแยกต่างระดับท่าเรือ ใน เขตคลองเตย
ใช้งาน: พ.ศ. 2524 – ปัจจุบัน
ความยาว: 10.3 กิโลเมตร (6.4 ไมล์)
ปลายทิศตะวันตก: ถนนพระรามที่ 2 ใน เขตจอมทอง
เมืองหลัก: กรุงเทพมหานคร
ทางแยกที่สำคัญ: ทางพิเศษศรีรัช ใน เขตบางคอแหลม
ปลายทิศใต้: ทางแยกต่างระดับท่าเรือ ใน เขตคลองเตย
ปลายทิศเหนือ: ทางพิเศษอุตราภิมุข / ถนนวิภาวดีรังสิต ใน เขตดินแดง

ใกล้เคียง

ทางพิเศษศรีรัช ทางพิเศษฉลองรัช ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ทางพิเศษบูรพาวิถี ทางพิเศษอุดรรัถยา ทางพิเศษประจิมรัถยา ทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกตะวันตก ทางพิเศษสาย S1 ทางพิเศษกาญจนาภิเษก ทางพิเศษอุตราภิมุข