ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ
ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ

ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ

ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ แยกออกจากทางรถไฟสายเหนือที่สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี โดยในเส้นทางตอนล่าง จะผ่านจังหวัดสระบุรี จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ สุดปลายทางที่สถานีรถไฟอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี รวมระยะทาง 575 กิโลเมตร ส่วนเส้นทางตอนบนแยกจากเส้นทางตอนล่างที่สถานีรถไฟชุมทางถนนจิระ จังหวัดนครราชสีมา ผ่านจังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุดรธานี จังหวัดหนองคาย ข้ามสะพานมิตรไทย-ลาวแห่งที่ 1 และสุดปลายทางที่สถานีรถไฟท่านาแล้ง ประเทศลาว รวมระยะทาง 628 กิโลเมตร และที่สถานีรถไฟชุมทางแก่งคอย จะมีเส้นทางลัดไปเชื่อมที่สถานีรถไฟชุมทางบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ของเส้นทางตอนบนทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเส้นทางที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์รถไฟไทย เนื่องจากเป็นเส้นทางที่เปิดเดินรถสายแรก[1] จากสถานีรถไฟกรุงเทพ ถึงสถานีรถไฟนครราชสีมา

ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ

รูปแบบ รถไฟระหว่างเมือง
เจ้าของ การรถไฟแห่งประเทศไทย
ระบบ รถไฟทางไกล
ของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ความเร็ว สูงสุด 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
สถานะ เปิดให้บริการ (บ้านภาชี–อุบลราชธานี, ถนนจิระ–หนองคาย–ท่านาแล้ง, แก่งคอย–บัวใหญ่)
โครงการส่วนต่อขยาย (บ้านไผ่–นครพนม)
ที่ตั้ง ดูในบทความ
รางกว้าง ราง 1 เมตร ทางเดี่ยว
(ถนนจิระ–อุบลราชธานี, ขอนแก่น–หนองคาย, แก่งคอย–บัวใหญ่)
ราง 1 เมตร ทางคู่
(เปิดให้บริการ: บ้านภาชี–มาบกะเบา, ถนนจิระ–ขอนแก่น)
(กำลังก่อสร้าง: มาบกะเบา–ถนนจิระ)
ระยะทาง 575 กม. (357.29 ไมล์) (กรุงเทพฯ–อุบลราชธานี)
627.5 กม. (389.91 ไมล์) (กรุงเทพฯ–หนองคาย)
จำนวนทางวิ่ง 1
ปลายทาง ชุมทางบ้านภาชี
อุบลราชธานี
ท่านาแล้ง
ศูนย์ซ่อมบำรุง โรงรถจักรดีเซลแก่งคอย
โรงรถจักรดีเซลนครราชสีมา
โรงรถจักรดีเซลอุบลราชธานี
ผู้ดำเนินงาน การรถไฟแห่งประเทศไทย
และบริษัทเอกชนในส่วนของสถานีขนถ่ายสินค้า

ใกล้เคียง

ทางรถไฟสายแม่กลอง ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ทางรถไฟสายใต้ ทางรถไฟสายมรณะ ทางรถไฟสายเหนือ ทางรถไฟสายเวียงจันทน์–บ่อเต็น ทางรถไฟสายเหนือ-ใต้ (ประเทศเวียดนาม) ทางรถไฟสายทรานส์-ไซบีเรีย ทางรถไฟสายเด่นชัย–เชียงราย–เชียงของ ทางรถไฟสายหนองคาย–เวียงจันทน์