เหตุ ของ ทาลัสซีเมียแบบบีตา

เฮโมโกลบินในเลือดมีลักษณะเป็นวงแหวน heme มีหน่วยย่อยเป็นห่วงลูกโซ่โปรตีน globin 4 หน่วย โดย 2 หน่วยเป็นแบบแอลฟา และอีกสองหน่วยแบบอื่นนอกจากแอลฟา หน่วยย่อยเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดประเภทของเฮโมโกลบิน เฮโมโกลบินของทารก (HbF) จะมีแอลฟา 2 หน่วยและแกมมา 2 หน่วย (α2γ2) เฮโมโกลบินของผู้ใหญ่ (HbA) จะมีแอลฟา 2 หน่วยและมีบีตา 2 หน่วย (α2β2) และเฮโมโกลบินของผู้ใหญ่ประเภทที่ 2 (HbA2) จะมีแอลฟา 2 หน่วยและเดลตา 2 หน่วย (α2δ2) ผู้ใหญ่ปกติจะมี HbA โดยมาก (> 96%) และ HbA2 โดยส่วนน้อย (<= 4%)[3]

ทาลัสซีเมียแบบเบตาเป็นโรคที่มีเหตุจากการกลายพันธุ์ของยีน HBB บนโครโมโซมคู่ 11 ซึ่งสามารถเกิดขึ้นกว่า 200 ตำแหน่งบนยีน และปกติจะไม่ใช่เป็นการหลุดหาย (deletion)โดยสืบทางกรรมพันธุ์แบบผ่านลักษณะด้อยของออโตโซม (autosomal recessive)[2][3]มีผลทำให้มีการสังเคราะห์ห่วงลูกโซ่แบบบีตาของโปรตีน globin ลดลงหรือไม่มี ทำให้มีลูกโซ่แบบแอลฟาเกินในระดับต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับการกลายพันธุ์[3]ซึ่งมีผลเป็นการผลิตเฮโมโกลบินแบบ A (HbA) ที่ลดลง[4]เมื่อเม็ดเลือดแดงมีโกลบินเอน้อยลง ก็ทำให้เกิดภาวะโลหิตจางแบบเม็ดเลือดแดงเล็ก (microcytic anemia)ดังนั้น ภาวะโลหิตจางแบบเม็ดเลือดแดงเล็กจะเป็นผลโดยที่สุดของการขาด HBB[5]

การกลายพันธุ์

มีการกลายพันธุ์สำคัญ 2 กลุ่มที่แยกแยะได้

  • แบบไม่ใช่เป็นการหลุดหาย (Nondeletion) ความผิดปกติแบบนี้ทั่วไปเป็นการแทนเบสอันเดียว (single base substitution) หรือการหลุดหายเล็ก ๆ (small deletion) หรือเป็นการเพิ่ม (insert) ใกล้ ๆ กับหรือเหนือยีนโกลบินแบบบีตา บ่อยที่สุด การกลายพันธุ์จะอยู่ที่ promoter region ก่อนยีนโกลบินแบบบีตา และบ่อยครั้งน้อยกว่า เป็นรูปแบบการต่อ (splice variant) ที่ผิดปกติที่เป็นเหตุของโรค[12]
  • แบบหลุดหาย (Deletion) โดยหลุดไปในขนาดต่าง ๆ กันที่เกี่ยวข้องกับยีนโกลบินแบบบีตา ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดกลุ่มอาการต่าง ๆ เช่น βo หรือ hereditary persistence of fetal hemoglobin (ภาวะเฮโมโกลบินของทารกยังคงอยู่แบบกรรมพันธุ์)[13]

ในตารางต่อไปนี้ อัลลีลที่ไม่ได้กลายพันธุ์ทำให้ผิดปกติเขียนเป็น βการกลายพันธุ์ที่ขัดขวางไม่ให้เกิดห่วงลูกโซ่แบบบีตาเขียนเป็น βo[14]การกลายพันธุ์ที่ยังทำให้สามารถผลิตห่วงลูกโซ่แบบบีตาได้บ้างเขียนเป็น β+

ชื่อ ชื่อเก่า ๆ รายละเอียด อัลลีล
Thalassemia minor   แบบ Heterozygous: มีอัลลีลของโปรตีนโกลบินแบบ β เดียวที่มีการกลายพันธุ์ บุคคลจะมีภาวะโลหิตจางแบบเม็ดเลือดแดงเล็ก (microcytic anemia) มักจะตรวจจับได้โดยการมีค่าปริมาตรของเม็ดเลือดแดงโดยเฉลี่ย (MCV) น้อยกว่าปกติ คือ <80 fL[15] β+/β
βo/β
Thalassemia intermedia   คนไข้บ่อยครั้งจะมีชีวิตปกติแต่อาจต้องมีการถ่ายเลือดเป็นครั้งคราว เช่น คราวที่ป่วยหรือตั้งครรภ์ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของภาวะโลหิตจาง[16] β+/β+
βo/β+
Thalassemia major Mediterranean anemia; Cooley anemia แบบ Homozygous: เกิดเมื่ออัลลีลทั้งสองกลายพันธุ์ จะเกิดภาวะโลหิตจางแบบเม็ดเลือดแดงเล็กและสีเลือดจางอย่างรุนแรง ถ้าไม่รักษา จะทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง ม้ามโต (splenomegaly) และสภาวะวิรูปทางกระดูกอย่างรุนแรง และสามารถเสียชีวิตก่อนอายุ 20 ปี คนไข้ต้องถ่ายเลือดเป็นระยะ ๆ ต้องผ่าตัดเอาม้ามออกเนื่องจากม้ามโต และได้การรักษาโดยคีเลชันที่ต้องทำเนื่องจากการถ่ายเลือดอาจทำให้มีภาวะเหล็กเกิน[17] βo/βo

mRNA

โปรตีน HBB PDB 1a00 เป็นโปรตีนโกลบินแบบบีตาที่ดี

ทาลัสซีเมียแบบบีตาเป็นโรคทางพันธุกรรมที่มีผลต่อเฮโมโกลบินและเหมือนกับโรกทางกรรมพันธุ์ประมาณครึ่งหนึ่งอื่น ๆ[18]การกลายพันธุ์ที่สืบทอดทางกรรมพันธุ์ทำการสร้างเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) ซึ่งเป็นการถอดรหัสจากโครโมโซมให้เสียหายดีเอ็นเอมีทั้งส่วนข้อมูล (คือยีน) เพื่อรวมกรดอะมิโนเข้าด้วยกันเป็นโปรตีน และส่วน (noncoding DNA) ที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมระดับโปรตีนที่ผลิต[19]

นอกจากนั้นแล้ว สำหรับคนไข้ทาลัสซีเมีย ส่วนที่ไม่ใช่ข้อมูลโปรตีน ทั้งที่ยาวติดต่อกัน หรือเป็นส่วนต่าง ๆ รวมกัน ยังรวมอยู่ใน mRNA อีกด้วย นี่เป็นเพราะว่า การกลายพันธุ์ได้ทำลายเขตแดนระหว่างส่วนที่เป็น intron (คือส่วนที่ไม่เข้ารหัสโปรตีนและไม่ควรรวมเข้าใน mRNA) และ exon (คือส่วนที่เข้ารหัสโปรตีนและควรรวมเข้าใน mRNA)[20]แต่เพราะส่วนที่เข้ารหัสก็ยังมีอยู่ ดังนั้น ก็จะผลิตทั้งเฮโมโกลบินที่ปกติโดยมีส่วนเพิ่มที่ถ้าทำให้เกิดโรค ก็จะขัดขวางการทำงานของโปรตีนจนกระทั่งมีผลเป็นภาวะโลหิตจางหน่วยทั้งแอลฟาและบีตาซึ่งเป็นหน่วยย่อยของเฮโมโกลบินจะมีธาตุเหล็ก (heme) อยู่ตรงกลาง โดยห่วงลูกโซ่โปรตีนจะพับรอบเหล็กได้เฮโมโกลบินปกติหนึ่ง ๆ ของผู้ใหญ่จะมีหน่วยแอลฟาและหน่วยบีตาอย่างละสองหน่วย[21]ทาลัสซีเมียแบบบีตาปกติจะมีผลต่อ mRNA ที่ใช้ในการผลิตห่วงโซ่แบบบีตา (และดังนั้น จึงมีชื่อเช่นนั้น)แต่เพราะการกลายพันธุ์อาจจะเป็นเพียงแค่เบส ๆ เดียว (Single-nucleotide polymorphism) จึงมีงานวิจัยที่พยายามหาวิธียีนบำบัด (gene therapy) เพื่อแก้ปัญหาที่เบส ๆ เดียวนั้น[22][23]

Codocytes ในเลือดมนุษย์ (แต้มสีแบบ Giemsa stain) หรือบางครั้งรู้จักว่าเซลล์เป้ายิงปืนหรือหมวกเม็กซิกัน

แหล่งที่มา

WikiPedia: ทาลัสซีเมียแบบบีตา http://www.accessmedicine.com/content.aspx?aID=612... http://www.diseasesdatabase.com/ddb1373.htm http://www.diseasesdatabase.com/ddb3087.htm http://www.genengnews.com/gen-news-highlights/gene... http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=282.... http://emedicine.medscape.com/article/199534-overv... http://www.nature.com/articles/ncomms13304 http://www.ojrd.com/content/5/1/11/abstract http://dictionary.reference.com/browse/DNA http://livertox.nih.gov/Deferoxamine.htm