การตอบโต้วิกฤติการณ์ของรัฐบาล ของ ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์

นายกรัฐมนตรีเซอร์โรเบิร์ต พีลนายกรัฐมนตรีลอร์ดรัสเซลล์

เอฟ.เอส.เอล. ลิยอนส์บรรยายถึงการตอบโต้ต่อวิกฤติการณ์ของรัฐบาลบริติชในระยะแรกที่ทุพภิกขภัยยังไม่รุนแรงว่าเป็นการตอบโต้ที่ “ทันต่อเหตุการณ์และมีความสำเร็จพอสมควร”[54] เมื่อต้องเผชิญหน้ากับการสูญเสียผลผลิตทางการเกษตรกรรมอย่างกว้างขวางในฤดูใบไม้ร่วงของปี ค.ศ. 1845 นายกรัฐมนตรีเซอร์โรเบิร์ต พีลก็ซื้อข้าวโพดอินเดียและข้าวโพดป่น (Cornmeal) อย่างลับๆ จากสหรัฐอเมริกาเป็นจำนวนเงิน £100,000 บริษัทแบริงบราเธอร์สต้องเป็นตัวแทนทำการซื้อขายในนามของรัฐบาล รัฐบาลมีความหวังว่าการซื้อขายครั้งนี้จะไม่เป็นการ “บีบคั้นกิจการของเอกชน” หรือ การกระทำดังกล่าวจะเป็นการหยุดยั้งโครงการช่วยเหลือระดับท้องถิ่น แต่สภาวะอากาศอันแปรปรวนทำให้เรือบรรทุกสินค้าข้าวโพดมิได้มาถึงไอร์แลนด์จนกระทั่งต้นเดือนกุมภาพันธ์ของปี ค.ศ. 1846[55]

เมื่อมาถึงเมล็ดข้าวโพดก็นำมาขายต่อในราคาปอนด์ละหนึ่งเพ็นนี[56] เมล็ดข้าวโพดแห้งที่ได้รับเป็นเมล็ดข้าวโพดที่ยังไม่ได้รับการป่นซึ่งทำให้ยังใช้บริโภคไม่ได้ นอกจากนั้นการป่นข้าวโพดเป็นกรรมวิธีที่ซับซ้อนและใช้เวลานานถ้าจะทำให้ถูกต้องซึ่งโอกาสที่จะทำกันได้ในท้องถิ่นนั้นไม่มี เมื่อป่นแล้วก็จะต้องหุงกันอีกเป็นเวลาพอสมควรจึงจะบริโภคได้ ผู้ที่กินเข้าไปแล้วบ่นว่าทำให้มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง[55] การที่ข้าวโพดมีสีเหลืองและต้องบดสองครั้งก่อนที่จะกินได้จึงมาเป็นที่รู้จักกันในไอร์แลนด์ “กำมะถันพีล” ในปี ค.ศ. 1846 พีลก็ดำเนินการยกเลิกกฎหมายข้าวโพดซึ่งเป็นกฎหมายที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพื่อที่จะรักษาระดับราคาขนมปังให้อยู่ในราคาสูง วิกฤติการณ์ทุพภิกขภัยเลวร้ายลงระหว่างปี ค.ศ. 1846 และการยกเลิกกฎหมายอากรข้าวโพดในปีนั้นก็มีผลเพียงเล็กน้อยในการแก้ทุพภิกขภัยของชาวไอริช มาตรการนี้นำความแตกแยกมาสู่พรรคคอนเซอร์เวทีฟที่นำมาสู่การล่มของการเป็นนายกรัฐมนตรีของพีล[56] ในเดือนมีนาคมพีลก็ก่อตั้งโครงการการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างสาธารณะขึ้นในไอร์แลนด์ แต่พีลมาถูกบังคับให้ลาออกจากรัฐบาลในฐานะนายกรัฐมนตรีเสียก่อนเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน[57] การล่มของรัฐบาลเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน เมื่อพีลได้รับความพ่ายแพ้ในสภาสามัญชนเมื่อมีญัตติในการอ่านร่างพระราชบัญญัติเพื่อการรักษาความสงบในไอร์แลนด์เป็นครั้งที่สอง นักเขียนและสมาชิกของขบวนการยังไอร์แลนด์ไมเคิล โดเฮนีกล่าวว่าฝ่ายเสียงข้างมากที่เป็นปฏิปักษ์ต่อพีลมีจำนวนเจ็ดสิบสามคนที่ประกอบด้วย “วิก, คอนเซอร์เวทีฟหัวรุนแรง, กลุ่มที่มีความคิดรุนแรง และผู้ต้องการเพิกถอนการรวมตัว” สิบวันหลังจากนั้นลอร์ดจอห์น รัสเซลล์ก็รับหน้าที่เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป[58]

มาตรการที่ลอร์ดรัสเซลล์นายกรัฐมนตรีคนต่อมากระทำก็ยังคงเป็นมาตรการที่ไม่เพียงพอในการพยายามกู้สถานการณ์ และโดยทั่วไปแล้วสถานการณ์ก็เลวร้ายลงยิ่งขึ้นไปอีก รัฐบาลของรัสเซลล์เสนอโครงการการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างสาธารณะซึ่งในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1846 เป็นผลให้มีการจ้างชาวไอริชครึ่งล้านคน แต่กลายเป็นสิ่งที่ล้นมือในการทำการบริหาร[59] เซอร์ชาร์ลส์ เทรเวเลียนผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงการคลังผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารโครงการช่วยผู้ประสบทุพภิกขภัยของรัฐบาลจำกัดการช่วยเหลือเพราะมีความเห็นว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็น “การตัดสินของพระเจ้าในการส่งความภัยพิบัติลงมาเพื่อสั่งสอนชาวไอริชให้ได้รับบทเรียน” โครงการก่อสร้างเป็นโครงการสั่งทำที่ไม่มีผลประโยชน์จากสิ่งที่สร้างขึ้น—คือเป็นโครงการที่มิได้สร้างรายได้ที่นำมาใช้กู้รายจ่ายได้ จอห์น มิทเชลบรรยายว่าแรงงานเป็นพันเป็นหมื่นที่ผอมแห้งอดอยากต่างก็ทำงานดำเนินการงานก่อสร้างขุดถนนที่ไม่มีประโยชน์แต่อย่างใด[60]

พรรควิกภายใต้ผู้บริหารใหม่ลอร์ดรัสเซลล์ที่ถือปรัชญา “ไม่แทรกเซง” --ปล่อยให้เหตุการณ์ดำเนินต่อไปจนแก้ไขตนเองในที่สุด--เชื่อว่าในที่สุดตลาดก็จะสามารถสร้างอาหารที่สนองความต้องการได้ แต่ในขณะเดียวกันก็ละเลยการดำเนินการส่งอาหารออกไปยังอังกฤษต่อไป[61] แต่ยุติการส่งอาหารไปช่วยเหลือ และ ยุติโครงการก่อสร้าง ซึ่งเป็นการทิ้งให้ประชาชนจำนวนมากมายไม่มีงานทำ ไม่มีเงิน และไม่มีอาหาร[62] ในเดือนมกราคมรัฐบาลก็ยุติโครงการต่างๆ และหันไปใช้วิธีการช่วยเหลือโดยตรงแบบผสมผเสระหว่าง “ในบ้าน” และ “นอกบ้าน” การช่วยเหลือ “ในบ้าน” ก็ได้แก่การก่อตั้งเคหสงเคราะห์และโรงทำงานขึ้นตามบทบัญญัติในกฎหมายประชาสงเคราะห์ และ “นอกบ้าน” ก็คือการจัดโรงแจกอาหาร (soup kitchen) ค่าใช้จ่ายในการบริหารโครงการประชาสงเคราะห์ส่วนใหญ่มาจากเจ้าของที่ดินท้องถิ่น ผู้หันมาทดแทนเงินที่เสียไปโดยการขับไล่ผู้เช่าที่ดิน[59] ที่ทำได้ง่ายขึ้นโดย “พระราชบัญญัติว่าด้วยการขับไล่ผู้เช่าที่ดิน” (Cheap Ejectment Acts)[60] ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1847 ข้อแก้ไขกฎหมายประชาสงเคราะห์ก็ได้รับการอนุมัติจากรัฐสภา เจมส์ ดอนเนลลีบรรยายการโต้ตอบของรัฐบาลใน “"Fearful Realities: New Perspectives on the Famine"” ("ความเป็นจริงอันน่าประหวั่น: ทัศนคติใหม่เกี่ยวกับทุพภิกขภัย")[63] ว่าเป็นการโต้ตอบที่สะท้อนปรัชญาพื้นฐานที่แพร่หลายในบริเตนที่ว่าทรัพย์สินของไอร์แลนด์ต้องใช้สนับสนุนความยากจนของไอร์แลนด์เอง ผู้มีที่ดินในไอร์แลนด์ถูกกล่าวหาในบริเตนว่าเป็นผู้ก่อให้เกิดสถานการณ์ที่นำไปสู่ทุพภิกขภัย แต่ก็ได้เพิ่มเติมว่ารัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรตั้งแต่การใช้พระราชบัญญัติสหภาพก็มีส่วนในการรับผิดชอบต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น[63] ความคิดที่ว่านี้ปรากฏในหนังสือพิมพ์ “"Illustrated London News"” เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1847 ที่กล่าวว่า “ไม่มีกฎหมายใดที่จะไม่ผ่านตามคำขอของไอร์แลนด์ และไม่มีการข่มเหงใดที่ไม่มีการป้องกันให้เกิดขึ้น” เมื่อวันที่ 24 มีนาคมหนังสือพิมพ์ “ไทม์” รายงานว่าบริเตนเป็นเปิดโอกาสให้เกิดสถานการณ์ในไอร์แลนด์ที่เป็น “ความยากจนอันใหญ่หลวง ความละเลย และความเสื่อมโทรมอันไม่มีสิ่งใดที่จะเปรียบได้ในโลกเกิดขึ้น [บริเตน]เปิดโอกาสให้เจ้าของที่ดินดูดเลือดดูดเนื้อจากชาวไอริชผู้แสนเข็ญ”[63]

“อนุประโยคเกรกอรี” ของกฎหมายประชาสงเคราะห์ระบุห้ามผู้ที่มีที่ดินอย่างน้อยหนึ่งในสี่เอเคอร์จากการได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาล[59] ข้อจำกัดนี้หมายความว่าเกษตรกรผู้ขายสินค้าทั้งหมดเพื่อนำมาเสียค่าเช่า ค่าธรรมเนียม และภาษี (ซึ่งเป็นการปฏิบัติกันโดยทั่วไป) จนหมดตัวและต้องการที่จะมาสมัครรับเงินช่วยเหลือ แต่ก็จะไม่มีสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือเพราะมีที่ดินมากกว่าหนึ่งในสี่เอเคอร์ นอกไปจากว่าจะยกที่ดินให้เจ้าของที่ดินไป มิทเชลวิจารณ์กฎหมายนี้ว่าเป็นกฎหมายที่ “ทำให้ผู้ที่มีความสามารถแต่ไม่ยอมใช้ได้รับการเลี้ยงดู—ถ้าผู้ใดพยายามไถหว่านแม้แต่เพียงเล็กน้อยผู้นั้นก็จะอดตาย” วิธีการขับไล่ผู้เช่าที่ดินอย่างง่ายๆ นี้เรียกว่าเป็นการ “ส่งคนจนไปให้โรงแรงงาน” — ซึ่งเป็นระบบที่คนเข้าไปทางหนึ่งออกมาเป็นคนจนอีกทางหนึ่ง[60] ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้เป็นผลให้ชาวไอริชจำนวนมากถูกขับออกจากที่ดินที่ใช้ทำมาหากิน ในปี ค.ศ. 1849 มีผู้ถูกขับเป็นจำนวน 90,000 คน และในปี ค.ศ. 1850 เป็นจำนวนอีก 104,000 คน[59]

การส่งอาหารไปยังอังกฤษ

อนุสรณ์สำหรับผู้ที่เสียชีวิตในเหตุนาฏกรรมดูโลห์ (30 มีนาคม ค.ศ. 1849) กลุ่มชนที่หวังที่จะยังคงได้รับความช่วยเหลือ ถูกสั่งให้เดินทางไปหลายไมล์ในสภาวะอากาศที่เลวร้าย ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

จากบันทึกพบว่าไอร์แลนด์ยังคงส่งอาหารออกแม้แต่ในปีที่วิกฤติการณ์ทุพภิกขภัยถึงขีดสูงสุด เมื่อไอร์แลนด์ประสบกับทุพภิกขภัยระหว่างปี ค.ศ. 1782 ถึงปี ค.ศ. 1783 ทางการก็ปิดเมืองท่าเพื่อรักษาอาหารที่ปลูกในไอร์แลนด์เอาไว้เลี้ยงชาวไอริชเอง ซึ่งทำให้ราคาอาหารลดต่ำลงทันที พ่อค้าพยายามเรียกร้องให้ยกเลิกมาตรการแต่รัฐบาลของคริสต์ทศวรรษ 1780 ก็มิได้ยินยอมต่อพ่อค้า แต่ในคริสต์ทศวรรษ 1840 ทางการมิได้บังคับใช้มาตรการใดใดในการหยุดยั้งการส่งอาหารออกนอกไอร์แลนด์ทั้งสิ้น[64]

เซซิล วูดแดม-สมิธผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับวิกฤติการณ์ทุพภิกขภัยในไอร์แลนด์กล่าวใน “The Great Hunger: Ireland 1845–1849” (ไทย: “ทุพภิกขภัยอันยิ่งใหญ่: ไอร์แลนด์ ค.ศ. 1845 ถึง ค.ศ. 1849”) ว่าไม่มีวิกฤติการณ์ใดที่สร้างความความโกรธและความขมขื่นให้แก่ความสัมพันธ์ระหว่างอังกฤษและไอร์แลนด์เท่ากับวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้เมื่อ “ไม่เป็นที่โต้แย้งได้ว่าอาหารเป็นจำนวนมากยังคงถูกส่งจากไอร์แลนด์ไปยังอังกฤษตลอดเวลาที่ประชากรของไอร์แลนด์ถูกคร่าชีวิตจากทุพภิกขภัย” และการการส่งอาหารเป็นสินค้าส่งออกหลักของไอร์แลนด์ก็ยังคงดำเนินอยู่ตลอดห้าปีของวิกฤติการณ์ดังกล่าว

คริสติน คินีลนีอาจารย์ของมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูลและนักเขียนตำราสองเล่มเกี่ยวกับวิกฤติการณ์ทุพภิกขภัย “Irish Famine: This Great Calamity” (ไทย: “ทุพภิกขภัยในไอร์แลนด์: ความทุกข์ยากครั้งใหญ่”) และ “A Death-Dealing Famine” (ไทย: “ความตายจากทุพภิกขภัย”) กล่าวว่าอันที่จริงแล้วในช่วงทุพภิกขภัยสินค้าออกของไอร์แลนด์ที่รวมทั้งลูกวัว ปศุสัตว์ (ยกเว้นหมู) เบคอน และ แฮมมีจำนวนสูงขึ้น การส่งออกต้องทำกันด้วยการป้องกันอย่างแข็งแรงจากบริเวณต่างๆ ของไอร์แลนด์ทีประสบกับวิกฤติการณ์ แต่จะอย่างไรก็ตามคนยากจนก็ยังไม่มีเงินพอที่จะหาซื้ออาหารดังกล่าวได้ และรัฐบาลก็มิได้ทำการหยุดยั้งการส่งออก

นักเขียนผู้เป็นที่นิยมและเป็นที่รู้จักกันดีเจน ฟรานเซสคา เอลกีเขียนโคลงที่บรรยายสถานการณ์ที่พิมพ์ใน carried in the เดอะ เนชั่น[65]

Weary men, what reap ye? Golden corn for the stranger.

What sow ye? Human corpses that wait for the avenger.
Fainting forms, Hunger—stricken, what see you in the offing
Stately ships to bear our food away, amid the stranger's scoffing.
There's a proud array of soldiers—what do they round your door?
They guard our master's granaries from the thin hands of the poor.
Pale mothers, wherefore weeping? 'Would to God that we were dead—
Our children swoon before us, and we cannot give them bread.[66]
Speranza[67]

ท่านผู้อ่อนล้า, ท่านจะเก็บเกี่ยวอะไร? ข้าวโพดสำหรับคนแปลกหน้า

ท่านจะหว่านอะไร? ร่างที่ไร้ชีวิตที่รอให้เป็นซาก
ความหมดสติ, ความหิวโหยอันรัดท้อง, ท่านเห็นอะไรเล่าที่ขอบฟ้า
เรือลำงามที่บรรทุกอาหารของเราออกไปท่ามกลางการเยาะเย้ยของคนแปลกหน้า
ทหารยืนเป็นสง่าอยู่ทั่วไป—มาที่ประตูของท่านทำไม?
เพื่อพิทักษ์ธัญญาหารของเจ้านายจากมืออันผอมบางของคนยากจน
แม่ที่ซีดขาว, ร้องไห้ทำไม? 'ร้องให้พระเจ้าที่เราตายหรือ—
ลูกอ่อนตัวต่อหน้าเรา แต่เราก็ไม่มีขนมปังจะให้กิน

ใกล้เคียง

ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์ ทุพภิกขภัย ทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554 ทุพภิกขภัยในประเทศเอธิโอเปีย พ.ศ. 2526–2528 ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ ค.ศ. 1315–1317 ทุพภิกขภัยในเกาหลีเหนือ ทุพภิกขภัยในประเทศรัสเซีย ค.ศ. 1921–1922 ทุพภิกขภัยในไอร์แลนด์

แหล่งที่มา

WikiPedia: ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์ http://www.doonbleisce.com/famine_in_doon.htm http://www.emigrantletters.com/IE/output.asp?Artic... http://www.fountainmagazine.com/articles.php?SIN=7... http://books.google.com/books?id=Q3crAAAACAAJ&dq=%... http://books.google.com/books?id=sk3o1irXY5oC&pg=P... http://books.google.com/books?q=%22irish+holocaust... http://www.historyplace.com/worldhistory/famine/co... http://www.internetspor.com/v3/futbol/haber.php?ha... http://www.mccorkellline.com/ http://www.physorg.com/news171720802.html