จำนวนผู้เสียชีวิต ของ ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์

จำนวนผู้เสียชีวิตระหว่างวิกฤติการณ์ของทุพภิกขภัยไม่เป็นที่ทราบ แต่เชื่อกันว่าผู้ที่เสียชีวิตเสียชีวิตจากโรคภัยมากกว่าจากการอดตาย[98] ขณะนั้นบันทึกการเกิด การแต่งงาน และการเสียชีวิตยังมิได้เริ่มทำกัน และบันทึกของวัดโรมันคาทอลิกก็ไม่สมบูรณ์[99] บันทึกผู้เห็นเหตุการณ์ช่วยให้นักประวัติศาสตร์การแพทย์สามารถบ่งได้ถึงทั้งความเจ็บป่วยและผลที่เกิดจากทุพภิกขภัย และใช้ในการอธิบายถึงรายละเอียดของลักษณะของทุพภิกขภัย ในมาโยเควคเกอร์อังกฤษวิลเลียม เบ็นเน็ตตบันทึกถึง

เด็กสามคนที่นอนเบียดกัน เพราะอ่อนแอจนลุกไม่ขึ้น ตัวซีดขาว ร่างเป็นโครงที่แขนขาผอมแห้ง...ตากลวงลึก เสียงที่ไม่มีเหลืออยู่แล้ว และดูจะอยู่ในขั้นสุดท้ายของทุพภิกขภัย[100][101]

เรฟเวอเร็นด์ ดร. เทรลล์ ฮอลล์ของเชิร์ชออฟไอร์แลนด์ในชัลล์บรรยายว่า

ผู้สูงอายุ และ เด็ก—แทบจะไม่มีข้อยกเว้นบวมและพร้อมที่จะลงหลุมได้[102]

เด็กที่ต้องประสบกับโรคมาราสมัส (marasmus) สร้างความประทับตาแก่เควคเกอร์โจเซฟ ครอสฟิล์ดผู้ในปี ค.ศ. 1846 เป็นพยานต่อเหตุการณ์ที่[103]

ภาพอันน่าอนาทรของผู้ประสบทุกขภัยที่อยู่ในสภาพของขั้นสุดท้ายของทุพภิกขภัยที่พยายามจะเข้าไปในโรงแรงงาน...เด็กบางคนผอมแห้งจนเหลือแต่กระดูกโปนออกมา และแขนขาก็แห้งไปจนเกือบจะไปถึงกระดูก...

วิลเลียม ฟอร์สเตอร์บรรยายว่า

เด็กที่ประสบกับทุพภิกขภัยแสดงอาการที่เป็นผลอย่างเห็นได้ชัด ใบหน้าตอบแห้งไปด้วยความหิว ที่เป็นใบหน้าที่ดูเหมือนใบหน้าของคนชรา[104]

การประมาณจำนวนผู้เสียชีวิตวิธีหนึ่งได้มาจากการเปรียบเทียบจำนวนประชากรที่คาดว่าจะมีขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1850 การพยากรณ์แรกเริ่มคาดว่าภายในปี ค.ศ. 1851 ไอร์แลนด์ควรจะมีประชากรราว 8 หรือ 9 ล้านคน การสำรวจจำนวนประชากรของปี ค.ศ. 1841 พบว่ามีประชากรเกินกว่า 8 ล้านคนไปเล็กน้อย[105] แต่การสำรวจจำนวนประชากรของปี ค.ศ. 1851 ทันทีหลังจากวิกฤติการณ์ทุพภิกขภัยพบว่ามีประชากรทั้งสิ้น 6,552,385 คนซึ่งเท่ากับลดจำนวนลงถึงเกือบ 1,500,000 คนในรอบสิบปี[106] นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่อาร์.เจย์. ฟอสเตอร์ประมาณว่าประชากร “อย่างน้อย 775,000 คนเสียชีวิต ส่วนใหญ่จากโรคร้ายที่รวมทั้งอหิวาตกโรคระหว่างบั้นปลายของความทุกข์ยาก” ฟอสเตอร์ตั้งข้อสังเกตต่อไปว่า “การคำนวณอันซับซ้อนประมาณผู้เสียชีวิตระหว่างปี ค.ศ. 1846 ถึงปี ค.ศ. 1851 ว่าตกราวระหว่าง 1,000,000 ถึง 1,500,000 คน...; หลังจากการพิจารณาอย่างระมัดระวังแล้ว สถิติอื่นก็ประมาณว่าเป็นจำนวน 1,000,000 คน”[107][108] นอกจากนั้นก็ยังมีชาวไอร์แลนด์อีกกว่า 1 ล้านคนที่อพยพไปยังเกรตบริเตน, สหรัฐอเมริกา, แคนาดา, ออสเตรเลีย และอื่นๆ และอีกหลายล้านคนที่อพยพในระหว่างหลายสิบปีที่ตามมา

การลดจำนวนประชากรระหว่าง ค.ศ. 1841–ค.ศ. 1851 (%)
ไลน์สเตอร์มันสเตอร์อัลสเตอร์คอนนอทไอร์แลนด์
15.322.515.728.820
ตารางจาก Joe Lee, The Modernisation of Irish Society (Gill History of Ireland Series เลข.10) หน้า. 2
รายละเอียดสถิติของประชากรของไอร์แลนด์ตั้งแต่ ค.ศ. 1841 แสดงในบทความการวิจัยจำนวนประชากรไอร์แลนด์ (Irish Population Analysis)

การประมาณตัวเลขของผู้เสียชีวิตที่อาจจะเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในระดับเคานตี้อาจจะเป็นของนักประวัติศาสตร์เศรษฐกิจชาวอเมริกันโจล โมคีร์ (Joel Mokyr)[109] ตัวเลขผู้เสียชีวิตโมคีร์ตกระหว่าง 1.1 ถึง 1.5 ล้านครระหว่างปี ค.ศ. 1846 ถึงปี ค.ศ. 1851 1846 and 1851 โมคีร์ให้ตัวเลขสองชุด ประเมินค่าสูงสุด (upper-bound) และประเมินค่าต่ำสุด (lower-bound) ซึ่งไม่แสดงความแตกต่างกันเท่าใดนักในตัวเลขระหว่างระดับท้องถิ่น[110] เนื่องจากความผิดปกติของตัวเลข คอร์แม็ค โอเกรดาก็กลับไปตรวจสอบงานของเอส. เอช. คูเซน[111] ตัวเลขของการประมาณของคูเซน[112] เป็นตัวเลขที่ส่วนใหญ่คำนวณจากข้อมูลที่มาจากการสำรวจจำนวนประชากรของปี ค.ศ. 1851 ตารางตัวเลขของผู้เสียชีวิตจากการสำรวจจำนวนประชากรของปี ค.ศ. 1851[113] ได้รับการวิจารณ์ว่าเป็นตัวเลขที่ประมาณต่ำกว่าความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ตัวเลขผู้เสียชีวิต 800,000 คนของคูเซนในปัจจุบันจึงถือว่าเป็นตัวเลขที่ต่ำเกินไป[109] ที่มาจากสาเหตุหลายประการเช่นเป็นตัวเลขที่เก็บจากครอบครัวรอดมาจากวิกฤติการณ์ และอื่นๆ ที่รวมทั้งการเสียชีวิตและการอพยพก็ทำให้ไม่มีผู้มาให้ทำการสำรวจ

อีกปัญหาหนึ่งคือความไม่แน่นอนของข้อมูลเกี่ยวกับโรคที่ทำให้เสียชีวิตที่ได้จากญาติพี่น้องของผู้เสียชีวิต[109] แม้ว่างานของไวล์ดจะเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันว่าเป็นตัวเลขที่ต่ำ แต่ก็เป็นตัวเลขที่นำมาใช้เป็นโครงสร้างของการศึกษาประวัติศาสตร์การแพทย์ของวิกฤติการณ์ของทุพภิกขภัยในไอร์แลนด์[114][115]โรคที่มีผลอย่างรุนแรงต่อประชากรแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม[115] โรคที่เกิดจากทุพภิกขภัยและโรคที่เกิดจากการขาดอาหาร โรคที่เกิดจากการขาดอาหารจะเป็นความหิวโหยและโรคมาราสมัสและอาการท้องมาน (Dropsy) ที่เป็นชื่อที่นิยมใช้เรียกอาการของโรคหลายโรคๆ หนึ่งคือโรคควาซิโอกอร์ (Kwashiorkor) ที่เกิดจากการขาดอาหาร[115] แต่สาเหตุที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตมากที่สุดมิได้มาจากโรคที่มาจากการขาดอาหารแต่เป็นทุพภิกขภัยที่ทำให้เจ็บป่วยด้วยโรคอื่น[115][116] ผู้ขาดอาหารจะมีร่างกายที่อ่อนแอที่ทำให้เจ็บป่วยได้ง่ายและ และเมื่อเจ็บแล้วก็จะมีอาการรุนแรงกว่าปกติและรักษาให้หายได้ยาก โรคต่างๆ ก็ได้แก่ โรคหัด โรคที่เกี่ยวกับท้องเสีย โรคเกี่ยวกับระบบการหายใจเกือบทุกโรค โรคไอกรน และ โรคพยาธิต่างๆ ในลำไส้ โรคที่เป็นอันตรายถึงตายเช่นฝีดาษ หรือ ไข้หวัดใหญ่ก็เป็นโรคที่ระบาดเป็นอิสระจากสภาวะการขาดอาหาร[117]

สาเหตุสำคัญของการระบาดของเชื้อโรคระหว่างวิกฤติการณ์มาจากสภาวะที่เรียกว่า “การเคลื่อนย้ายของสังคม” (social dislocation) ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือไข้ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากมาย ตามคตินิยมและทัศนคติทางการแพทย์ ไข้และทุพภิกขภัยมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด.[118] ความคิดเห็นนี้ไม่เกินไปกว่าความเข้าใจผิดเท่าใดนัก แต่ความสัมพันธ์ที่สำคัญเกิดขึ้นเมื่อมีการชุมนุมกันหนาแน่นในโรงแจกอาหาร โรงจ่ายอาหาร และโรงแรงงานซึ่งเป็นสภาวะที่เหมาะแก่การระบาดของโรคติดเชื้อเช่นไข้รากสาดใหญ่ ไข้รากสาดน้อย และไข้ที่เป็นซ้ำแล้วซ้ำเล่า[116][119] ส่วนโรคที่เกี่ยวกับท้องเสียมีสาเหตุมาจากสภาวะการอนามัยที่อยู่ในระดับต่ำและการเปลี่ยนแปลงอาหาร แต่สิ่งที่คร่าชีวิตในบั้นปลายของผู้หมดแรงจากทุพภิกขภัยคืออหิวาตกโรคเอเชีย อหิวาตกโรคเข้ามาระบาดในไอร์แลนด์แล้วในระยะหนึ่งก่อนหน้านั้นในคริสต์ศตวรรษ 1830 แต่ในทศวรรษต่อมาอหิวาตกโรคที่ไม่อาจจะหยุดยั้งได้ก็ระบาดจากเอเชียมายังทั่วยุโรป มายังบริเตนและในที่สุดก็มาถึงไอร์แลนด์ในปีค.ศ. 1849[115]

ทั้งคอร์แม็ค โอเกรดา และ โจล โมคีร์กล่าวถึงการสำรวจจำนวนประชากรของปี ค.ศ. 1851 ว่าเป็นสถิติที่มีชื่อเสียงแต่เป็นข้อมูลที่บกพร่อง และอ้างว่าตัวเลขของทั้งที่เกี่ยวกับสถาบันและบุคคลเป็นตัวเลขที่เกี่ยวกับจำนวนผู้เสียชีวิตระหว่างวิกฤติการณ์เป็นตัวเลขที่ “ไม่สมบูรณ์และมีความลำเอียง”[120] โอเกรดาอ้างงานของดับเบิลยู.เอ. แม็คอาร์เธอร์[121] ว่าผู้เชี่ยวชาญต่างก็ทราบกันมานานแล้วว่าตัวเลขของจำนวนผู้เสียชีวิตในไอร์แลนด์เป็นตัวเลขที่ไม่มีความน่าเชื่อถือในด้านความเที่ยงตรง[122] ฉะนั้นโอเกรดาจึงกล่าวว่าการใช้ตัวเลขผู้เสียชีวิตจากการสำรวจจำนวนประชากรของ ค.ศ. 1851 ตามตัวเป็นการใช้ตัวเลขที่ผิดที่แสดงตัวเลขที่ต่ำกว่าความเป็นจริงเป็นอันมากทั้งก่อนและระหว่างวิกฤติการณ์[123]

คณะกรรมาธิการการสำรวจจำนวนประชากรของปี ค.ศ. 1851 รวบรวมข้อมูลของจำนวนผู้เสียชีวิตของแต่ละครอบครัวมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1841 ที่รวมทั้งสาเหตุ ฤดู และปีที่เสียชีวิต ตัวเลขที่เป็นที่ครหาก็ได้แก่: มีผู้เสียชีวิตจากทุพภิกขภัยทั้งสิ้น 21,770 คนในรอบสิบปีที่ผ่านมา และมีผู้เสียชีวิตจากโรคภัย 400,720 คน โรคที่บันทึกก็รวมทั้งไข้ ท้องเสีย อหิวาตกโรค ฝีดาษ และ ไข้หวัดใหญ่ สองโรคแรกเป็นสิ่งที่คร่าชีวิตมากที่สุด (222,021 และ 93,232 คนตามลำดับ) คณะกรรมาธิการยอมรับว่าตัวเลขที่เก็บเป็นตัวเลขที่ไม่สมบูรณ์ และตัวเลขจริงอาจจะสูงกว่า: “จำนวนผู้ตายที่ยิ่งสูงขึ้นเท่าใด...จำนวนการบันทึกจากผู้ยังมีชีวิตอยู่ก็ยิ่งลดลงเท่านั้น เพราะไม่แต่ครอบครัวทั้งครอบครัวเท่านั้นถูกคร่าชีวิตไป แต่หมู่บ้านทั้งหมู่บ้านก็ถูกลบไปจากแผ่นดิน” นักประวัติศาสตร์ต่อมากล่าวว่า “คณะกรรมาธิการการสำรวจจำนวนประชากรของปี ค.ศ. 1851 พยายามสร้างตารางการเสียชีวิตของแต่ละปีตั้งแต่ปี ค.ศ. 1841 ...สถิติที่รวบรวมเป็นสถิติการเสียชีวิตที่บกพร่องและอาจจะประเมินระดับการเสียชีวิตที่ต่ำกว่าความเป็นจริง...”[124][125]

สถิติอื่นที่อาจจะมีความน่าเชื่อถือน้อยกว่าและประเมินต่ำกว่าความเป็นจริงกล่าวว่ามีผู้เสียชีวิตประมาณหนึ่งล้านคนจากทุพภิกขภัยและเชื้อโรค และอีกหนึ่งล้านคนอพยพหนีจากทุพภิกขภัย[126] นักวิชาการบางคนประมาณว่าประชากรของไอร์แลนด์ลดจำนวนลงไปราวระหว่าง 20 ถึง 25%[127] ซึ่งเกิดขึ้นในขณะที่ยังคงเก็บภาษี ค่าเช่า และส่งอาหารออกไปยังอังกฤษเป็นจำนวนกว่า £6,000,000[128]

ใกล้เคียง

ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์ ทุพภิกขภัย ทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554 ทุพภิกขภัยในประเทศเอธิโอเปีย พ.ศ. 2526–2528 ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ ค.ศ. 1315–1317 ทุพภิกขภัยในเกาหลีเหนือ ทุพภิกขภัยในประเทศรัสเซีย ค.ศ. 1921–1922 ทุพภิกขภัยในไอร์แลนด์

แหล่งที่มา

WikiPedia: ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์ http://www.doonbleisce.com/famine_in_doon.htm http://www.emigrantletters.com/IE/output.asp?Artic... http://www.fountainmagazine.com/articles.php?SIN=7... http://books.google.com/books?id=Q3crAAAACAAJ&dq=%... http://books.google.com/books?id=sk3o1irXY5oC&pg=P... http://books.google.com/books?q=%22irish+holocaust... http://www.historyplace.com/worldhistory/famine/co... http://www.internetspor.com/v3/futbol/haber.php?ha... http://www.mccorkellline.com/ http://www.physorg.com/news171720802.html