ปฏิกิริยาในไอร์แลนด์ ของ ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์

รัฐบาลดับลิน (Corporation of Dublin) ส่งคำร้องไปถวายสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียร้องขอให้พระองค์ทรงเรียกประชุมรัฐสภาเป็นการฉุกเฉิน และขอให้ทรงส่งเงินจากภาษีรายได้มาเพื่อใช้ในการบรรเทาภาวะเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น โดยการนำไปใช้ในการว่าจ้างแรงงานสำหรับสร้างสิ่งก่อสร้างสารธารณะโดยเฉพาะการสร้างทางรถไฟในไอร์แลนด์ เทศาภิบาลแห่งเมืองเบลฟาสต์ประชุมและตกลงกันส่งคำร้องที่คล้ายคลึงกัน ตามความเห็นของจอห์น มิทเชลในหนังสือ “การพิชิตไอร์แลนด์ครั้งสุดท้าย (อาจเป็นได้)” (The Last Conquest of Ireland (Perhaps)) กล่าวว่าทั้งสองรัฐบาลต่างก็มิได้ขอเงินทาน “[ดับลินและเบสฟาสต์]เรียกร้องว่าถ้าไอร์แลนด์เป็นส่วนสำคัญของสหราชอาณาจักรจริงแล้ว เงินในท้องพระคลังของทั้งสองอาณาจักรก็เป็นสิ่งที่ควรจะนำมาใช้[ในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น]—ฉะนั้นจึงมิใช่เป็นการให้เงินทาน แต่เพื่อใช้ในการว่าจ้างแรงงานสำหรับการสร้างสิ่งก่อสร้างที่เป็นของสารธารณะเพื่อการใช้สอยโดยทั่วไป” มิทเชลให้ความเห็นต่อไปว่า “ถ้ายอร์คเชอร์และแลงคาสเชอร์ในอังกฤษต้องประสบปัญหาอันเลวร้ายเช่นในไอร์แลนด์ ก็เห็นจะไม่เป็นที่ต้องสงสัยเลยว่าการแก้ปัญหาดังที่กล่าวจะเป็นไปอย่างเร่งด่วนและเป็นอันมาก”[42]

ตัวแทนจากประชาชนดับลินที่รวมทั้งดยุคแห่งไลนสเตอร์, นายกเทศมนตรี, ลอร์ดคลอนเคอร์รี และ แดเนียล โอคอนเนลล์เดินทางไปพบปะกับลอร์ดเฮทสบรีข้าหลวงใหญ่แห่งไอร์แลนด์เพื่อตั้งข้อเสนอต่างๆ ในการพยายามแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เช่นเปิดเมืองท่าสำหรับข้าวโพดจากต่างประเทศในชั่วระยะเวลานั้น หยุดยั้งการทำการกลั่นจากธัญพืช หรือสร้างโครงการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างสาธารณะ ซึ่งต่างก็เป็นโครงการที่จำเป็นต้องทำอย่างเร่งด่วนอยู่แล้ว ขณะที่ประชาชนเป็นจำนวนหลายล้านคนแทบจะไม่มีอาหารเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง คำตอบของลอร์ดเฮทสบรีต่อผู้มาพบปะคือ “ตีตนไปก่อนไข้” และกล่าวแนะนะว่าไม่ควรจะตื่นตัว และ ทางด้านการบริหารก็ได้ส่งผู้มีความรู้ไปยังอังกฤษเพื่อไปสอบถามกิจการที่เกี่ยวกับปัญหานี้ และเจ้าหน้าที่รัฐบาลสำคัญๆ ก็มีหน้าที่รับผิดชอบในการเสนอรายงานจากแขวงต่างๆ และไม่ปรากฏว่ามี “ความกดดันอันเร่งด่วนจากตลาด”[43] ในจดหมายของเซอร์โรเบิร์ต พีลถึงรัฐมนตรีว่าการภายในของประเทศเซอร์เจมส์ แกรมกล่าวสรุปจากบรรดารายงานที่ส่งไปจากลอร์ดเฮทสบรีว่า มีเนื้อหาที่เป็นการแสดงสถานการณ์ที่ “น่าวิตกเป็นอันมาก” แต่ตามความเห็นของวูดแดม-สมิธติงว่า “การรายงานข่าวของไอร์แลนด์มักจะออกไปในทางเกินเลย”[44]เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1845 แดเนียล โอคอนเนลล์แห่งสมาคมเพื่อการเพิกถอนการเป็นสหภาพ เสนอการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยวิธีต่างๆ ที่ข้อแรกคือการนำ “สิทธิผู้เช่าที่ดิน” ที่ปฏิบัติกันในอัลสเตอร์อยู่แล้วมาใช้ในบริเวณอื่นของไอร์แลนด์ ซึ่งทำให้เจ้าของที่ดินได้ค่าเช่าที่ยุติธรรม และในขณะเดียวกันผู้เช่าก็ได้รับค่าตอบแทนจากเจ้าของที่ดินถ้าทำการลงทุนไปในการปรับปรุงการใช้ที่ดินอย่างถาวรระหว่างการที่เช่าที่ดินอยู่[45]

จอห์น มิทเชลผู้นำของสมาคมเพื่อการเพิกถอนการเป็นสหภาพ

แดเนียล โอคอนเนลชี้ให้เห็นถึงวิธีที่รัฐบาลเบลเยียมใช้ในการแก้ปัญหาในฤดูเดียวกันโดยการปิดเมืองท่าจากการส่งอาหารออกนอกประเทศ แต่เปิดให้ส่งอาหารเข้าได้ และเสนอว่าถ้าไอร์แลนด์มีรัฐสภาเป็นของตนเองแล้วเมืองท่าเหล่านี้ก็คงจะเปิดกว้างเพื่อรับอาหาร และพืชผลจำนวนมากมายที่ปลูกในไอร์แลนด์ก็คงจะได้รับการรักษาไว้เพื่อประชากรของไอร์แลนด์เอง โอคอนเนลมีความเชื่ออย่างเหนียวแน่นว่าการมีรัฐสภาแห่งไอร์แลนด์เท่านั้นที่จะเป็นหนทางที่จะแก้ปัญหาเรื่องอาหารและแรงงานแก่ประชากรของไอร์แลนด์เองได้ และกล่าวว่าการยกเลิกพระราชบัญญัติสหภาพเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องกระทำเพราะเป็นความหวังเดียวที่ไอร์แลนด์ยังคงมีอยู่[45]

จอห์น มิทเชลหนึ่งในผู้นำของนักเขียนบทความทางการเมืองของขบวนการยังไอร์แลนด์ ซึ่งเป็นขบวนการทางการเมือง วัฒนธรรม และสังคมเพื่อการปลุกเร้าความเป็นชาตินิยมของไอร์แลนด์เขียนในหนังสือพิมพ์ “ดิ เนชั่น” ให้ความเห็นถึงปัญหา “เชื้อโรคมันฝรั่ง” ในไอร์แลนด์ ว่าทุพภิกขภัยเป็นพลังสำคัญที่เป็นสาเหตุของการปฏิวัติมาก่อนหน้านั้นหลายครั้งแล้วในประวัติศาสตร์[46] เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1846 มิทเชลเสนอความเห็นถึง “วิธีอันน่าเวทนาของการแก้ปัญหาทุพภิกขภัยว่าเป็นการแก้กันอย่างเป็นเรื่องปลีกย่อย” และตั้งกระทู้ว่ารัฐบาลถึงความเข้าใจว่าเพียงอีกไม่นาน “ประชาชนในไอร์แลนด์เป็นจำนวนหลายล้านคนจะไม่มีอะไรใส่ปากใส่ท้อง”[47]

เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1846 มิทเชลตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติเพื่อการรักษาความสงบในไอร์แลนด์ ที่ได้รับการเสนอต่อสภาขุนนาง ว่าเป็นเพียงร่างพระราชบัญญัติที่จงใจที่จะเขียนขึ้นโดยไม่ให้มีผู้ใดเป็นคัดค้านในสภาสามัญชน แต่มิทเชลให้ความเห็นว่าทัศนคติของรัฐบาลอาจจะแตกต่างกันเมื่อมาถึงปัญหาการเลี้ยงประชาชนไอริช ซึ่งก็คือ “การตกลงกันที่เป็นไปอย่างราบรื่นในนโยบายการเก็บภาษี, การพิจารณาโทษ และการทำลาย[ชาวไอริช]”[48] ในบทความ “การปกครองของอังกฤษ” (English Rule) ของวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 1846 จอห์น มิทเชลเขียนว่าชาวไอร์แลนด์ “คาดการณ์ทุพภิกขภัยที่จะมาถึงเป็นกิจการประจำวัน” และมีความเห็นพ้องต้องกันว่ามิได้เป็นเหตุการณ์ที่ “เกิดจากการกระทำของพระเจ้า แต่เกิดจากความโลภและนโยบายอันทารุณของอังกฤษ” และกล่าวต่อไปในบทความเดียวกันว่าประชาชนชาวไอร์แลนด์“เชื่อว่าแรงงานที่ลงไปเป็นแรงงานที่ทำเพื่อเป็นการสนองความความโลภของอังกฤษ และลูกที่หิวโหยไม่อาจจะเห็นอาหารบนจาน เห็นก็แต่อุ้งมือของชาวอังกฤษที่มาแย่งฉวยอาหารจากจานตรงหน้า” มิทเชลกล่าวชาวไอร์แลนด์ได้แต่นั่งมอง “อาหารที่ละลายไปกับการเน่าสลายลงไปในปฐพี” ขณะเดียวกันกับที่นั่งมอง “เรือที่เพียบไปด้วยข้าวโพดที่เก็บเกี่ยวจากการหว่านการปลูกด้วยน้ำพักน้ำแรงของตนเองกางใบแล่นไปยังอังกฤษ”[48]

ต่อมามิทเชลก็เขียนบทความอีกบทความหนึ่งเกี่ยวกับทุพภิกขภัยที่เป็นที่แพร่หลายชื่อ “การพิชิตไอร์แลนด์ครั้งสุดท้าย (อาจเป็นได้)” ในปี ค.ศ. 1861 ซึ่งเป็นบทความที่สร้างทัศนคติที่แพร่หลายว่าการแก้ปัญหาทุพภิกขภัยโดยบริติชเป็นการจงใจฆาตกรรมชาวไอร์แลนด์ และมีวลีที่มีชื่อเสียงที่ว่า:

The Almighty, indeed, sent the potato blight, but English created the Famine.[49]
(พระเจ้าอาจจะทรงเป็นผู้ส่งรามันฝรั่งลงมา แต่อังกฤษเป็นผู้สร้างทุพภิกขภัย)
ชาร์ลส์ เกวัน ดัฟฟี

ข้อเขียนของมิทเชลทำให้ถูกตั้งข้อกล่าวหาว่าเป็นการปลุกปั่น (sedition) ข้อหานี้ถูกยกเลิก แต่มาถูกพิจารณาโดยคณะลูกขุนว่ามีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการก่ออาชญากรรมที่เป็นกบฏ ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติฉบับใหม่ที่เพิ่งได้รับการอนุมัติในปี ค.ศ. 1848 และมิทเชลได้รับโทษให้ถูกเนรเทศไปยังเบอร์มิวดาเป็นเวลา 14 ปี[50]

ชาร์ลส์ เกวัน ดัฟฟีแห่ง หนังสือพิมพ์ “ดิ เนชั่น” กล่าวยืนยันว่าวิธีเดียวที่จะแก้ปัญหาซึ่งเป็นวิธีที่ชาติอื่นในยุโรปใช้ ที่แม้แต่ภูมิภาคเพล (the Pale) ในไอร์แลนด์เองก็ใช้ระหว่างวิกฤติการณ์ก็คือการกักอาหารที่ปลูกโดยประชาชนในประเทศจนกว่าทุพภิกขภัยจะยุติลง[51]

เมื่อว่าตามพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1800 แล้วไอร์แลนด์ก็เป็นส่วนสำคัญของจักรวรรดิอังกฤษซึ่งเป็น “จักรวรรดิที่มั่งคั่งที่สุดในโลก” และไอร์แลนด์เป็น “ดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดของจักรวรรดิ” นอกจากนั้นก็ยังได้รับการพิทักษ์จากทั้ง “...ระบบศาลและระบบการพิจารณาคดีโดยลูกขุน...” (Habeas Corpus and trial by jury)[52] แต่ผู้แทนราษฎรของไอร์แลนด์ในฐานะสมาชิกของรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรก็ดูเหมือนจะไม่มีอำนาจแต่อย่างใดในการพยายามแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น จอห์น มิทเชลให้ความเห็นในข้อนี้ว่า “เกาะที่กล่าวกันว่าเป็นส่วนสำคัญของจักรวรรดิที่มั่งคั่งที่สุดในโลก ... ที่ในห้าปีมาเสียประชากรไปถึงสองล้านห้าแสนคน (กว่าหนึ่งในสี่) จากทุพภิกขภัย, โรคภัยที่เกิดจากทุพภิกขภัย และ การอพยพหนีจากทุพภิกขภัย...”[53]

ในสมัยที่เกิดรามันฝรั่งในไอร์แลนด์ระหว่างปี ค.ศ. 1845 จนถึงปี ค.ศ. 1851 เป็นสมัยที่เต็มไปด้วยการเผชิญหน้าทางการเมือง[10] ขบวนการของกลุ่มผู้ประสงค์จะเพิกถอนพระราชบัญญัติสหภาพประสบความล้มเหลวเมื่อผู้นำของขบวนการแดเนียล โอคอนเนลมาเสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1847[ต้องการอ้างอิง] กลุ่มขบวนการยังไอร์แลนด์ซึ่งเป็นขบวนการที่มีหัวรุนแรงกว่าดำเนินการเรียกร้องต่อมาและพยายามก่อการปฏิวัติในการปฏิวัติของขบวนการยังไอร์แลนด์ ค.ศ. 1848 แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ

ใกล้เคียง

ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์ ทุพภิกขภัย ทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554 ทุพภิกขภัยในประเทศเอธิโอเปีย พ.ศ. 2526–2528 ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ ค.ศ. 1315–1317 ทุพภิกขภัยในเกาหลีเหนือ ทุพภิกขภัยในประเทศรัสเซีย ค.ศ. 1921–1922 ทุพภิกขภัยในไอร์แลนด์

แหล่งที่มา

WikiPedia: ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์ http://www.doonbleisce.com/famine_in_doon.htm http://www.emigrantletters.com/IE/output.asp?Artic... http://www.fountainmagazine.com/articles.php?SIN=7... http://books.google.com/books?id=Q3crAAAACAAJ&dq=%... http://books.google.com/books?id=sk3o1irXY5oC&pg=P... http://books.google.com/books?q=%22irish+holocaust... http://www.historyplace.com/worldhistory/famine/co... http://www.internetspor.com/v3/futbol/haber.php?ha... http://www.mccorkellline.com/ http://www.physorg.com/news171720802.html