ประวัติ ของ ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช

ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช หรือในอดีตชื่อว่า "สนามบินชะเอียน[5]" ตั้งอยู่ในค่ายวชิราวุธ กองทัพภาคที่ 4 โดยการผลักดันของข้าราชการและพ่อค้า ประชาชนในจังหวัดที่อยากให้มีการบริการผู้โดยสารทางอากาศ จึงอาศัยท่าอากาศยานของกองทัพบกในค่ายวชิราวุธ ซึ่งกรมการบินพาณิชย์ปรับปรุงสนามบินเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์ โดยการก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารและปรับปรุงทางวิ่ง

พ.ศ. 2527 ก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารและปรับปรุงทางวิ่งแล้วเสร็จ ใช้เป็นท่าอากาศยานร่วมกันระหว่างทหารและพลเรือน ขนาดทางวิ่ง 30 x 1,700 เมตร

พ.ศ. 2528 จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้เปิดใช้บริการท่าอากาศยานกองทัพภาคที่ 4 เป็นสนามบินพาณิชย์การชั่วคราว โดยมี บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด ให้บริการในเส้นทางการบินสุราษฎร์ธานีมายังนครศรีธรรมราช โดยใช้เครื่องบิน Short 360

พ.ศ. 2531 หลังจากเปิดให้บริการ มีผู้ใช้บริการมากขึ้น ประกอบกับพื้นที่โดยรอบมีขนาดไม่เพียงพอ จึงพิจารณาเลือกพื้นที่ใหม่ ได้แก่ บริเวณตำบลปากพูน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช และดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2541

วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2541 ประกาศเป็นสนามบินอนุญาต

วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ท่าอากาศยานพาณิชย์จังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดให้บริการ โดยมีบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัท พีบีแอร์ จำกัด ให้บริการเส้นทางตรงจากกรุงเทพมหานคร มายังนครศรีธรรมราช

วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2543 เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการโดยมีนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้นเดินทางมาทำพิธีเปิด ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช [6]

วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราชเป็นสนามบินศุลกากรในลำดับที่ 10/1 ของข้อ 3 แห่งกฎกระทรวงกำหนดท่าหรือที่สนามบินศุลกากร ทางอนุมัติด่านพรมแดน และด่านศุลกากร พ.ศ. 2553 ลงวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 โดยนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งมีผลให้ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช สามารถรับเที่ยวบินนำเข้าและส่งออกสินค้าจากต่างประเทศได้ [7]

ซึ่งในปัจจุบันท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช มีสายการบินที่ให้บริการอยู่ 3 สายการบิน ได้แก่ สายการบินนกแอร์ เส้นทางบินตรงจากกรุงเทพมหานคร โดยใช้ท่าอากาศยานดอนเมือง เป็นฐานการบินหลัก มายังนครศรีธรรมราช จำนวน 6 เที่ยวบินต่อวัน สายการบินไทยแอร์เอเชีย มีเส้นทางบินตรงจากกรุงเทพมหานคร โดยใช้ท่าอากาศยานดอนเมือง เป็นฐานการบินหลักมายังนครศรีธรรมราช จำนวน 4 เที่ยวบินต่อวัน สายการบินไทยไลอ้อนแอร์ มีเส้นทางบินตรงจากกรุงเทพมหานคร โดยใช้ท่าอากาศยานดอนเมือง เป็นฐานการบินหลัก มายังนครศรีธรรมราช จำนวน 3 เที่ยวบินต่อวัน รวมเที่ยวบินขาเข้าและขาออกของท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช จาก กรุงเทพมหานคร มายัง นครศรีธรรมราช ทั้งสิ้น 13 เที่ยวบินต่อวัน รวมเป็น 91 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราชมีอัตราการเติบโตของจำนวนผู้โดยสารและจำนวนเที่ยวบินเพิ่มมากขึ้น กรมท่าอากาศยานจึงได้จัดทำแผนพัฒนาท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช เพื่อให้สามารถรองรับจำนวนผู้โดยสารและจำนวนเที่ยวบินที่เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราช

แผนการพัฒนาในอนาคตเบื้องต้น การขยายทางวิ่งจากเดิม 2,100 เมตร เป็น 2,600 เมตร ปรับปรุงอาคารผู้โดยสารหลังเก่า ก่อสร้างคันทางและระบบระบายน้ำท่วมวงเงิน 353.8380 ล้านบาท และก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 1,600 คนต่อชั่วโมงหรือ 4 ล้านคนต่อปี และติดตั้งสะพานเทียบ จำนวน 2 ตัว  วงเงิน 1,800.0000 ล้านบาท [8]

ใกล้เคียง

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา (ระยอง–พัทยา) ท่าอากาศยานหาดใหญ่ ท่าอากาศยานนานาชาติปารีส-ชาร์ล เดอ โกล ท่าอากาศยานนานาชาตินครศรีธรรมราช ท่าอากาศยานนครราชสีมา

แหล่งที่มา

WikiPedia: ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/735506 http://www.boybdream.com/manager-news-content.php?... http://www.carpluz.com http://www.carscoot.com/%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A... http://www.gcmap.com/airport/NST http://www.radio.nakhonsi.com/showdetail.php?id=00... http://www.radio.nakhonsi.com/showdetail.php?id=00... http://www.nakhonsi.com/radio/showdetail.php?id=00... http://www.nakhontaxi.com http://www.nakhontoday.com/detail_news.php?n_id=10...