ท่าอากาศยานไทย
ท่าอากาศยานไทย

ท่าอากาศยานไทย

บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เดิมใช้ชื่อว่า การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย หรือ ทอท. เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคม เป็นองค์กรบริหารงานท่าอากาศยานระดับแห่งชาติของไทย โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 เพื่อดำเนินกิจการท่าอากาศยานต่างๆ ให้มีมาตรฐานและประสิทธิภาพ และรับโอนกิจการท่าอากาศยานดอนเมือง ซึ่งเคยสังกัดกรมการบินพลเรือน (กองทัพอากาศ) โดยอาศัยตามความบทเฉพาะกาล มาตรา 50 ของพระราชบัญญัติการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2522 ต่อมา ทอท. ได้แปลงสภาพเป็นบริษัทภายใต้นโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจไทย โดยได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลชื่อ "บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)" และปรับตราสัญลักษณ์ใหม่ โดยชื่อย่อของบริษัทยังคงใช้ "ทอท." เช่นเดิม ส่วนชื่อภาษาอังกฤษคือ Airports of Thailand Public Company Limited และใช้ชื่อย่อว่า AOT ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา โดยกระทรวงการคลัง ถือหุ้นร้อยละ 70บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ยังถือหุ้นใน บริษัท โรงแรมสุวรรณภูมิ จำกัด 60% บริษัท ไทยเชื้อเพลิงการบิน 10% บริษัท ครัวการบินภูเก็ตจำกัด 10% บริษัท ดอนเมือง อินเตอร์เนชั่นแนล แอร์พอร์ต โฮเต็ล จำกัด 9% บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ อีก 4.94 % บริษัท ไทยแอร์พอร์ต กราวด์ เซอร์วิสเซส จำกัด 28.50%ในปี พ.ศ. 2561 ท่าอากาศยานภูเก็ตมีจำนวนประเทศที่ให้บริการรวม 25 ประเทศ ไม่รวม ฮ่องกง และ มาเก๊า ท่าอากาศยานดอนเมืองให้บริการจำนวนประเทศรวม 15 ประเทศ ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ให้บริการรวม 9 ประเทศ ไม่รวม ฮ่องกง และ มาเก๊า ท่าอากาศยานหาดใหญ่ให้บริการ 3 ประเทศ ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ ประเทศจีน และ ประเทศมาเลเซีย ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงรายให้บริการ 1 ประเทศ ได้แก่ประเทศจีน ไม่นับรวม ฮ่องกง ซึ่งเป็นเขตบริหารพิเศษของจีนซึ่งให้บริการในปีดังกล่าวด้วย ในปีเดียวกันคณะรัฐมนตรีมีมติให้โอน ท่าอากาศยานชุมพร ท่าอากาศยานอุดรธานี ท่าอากาศยานสกลนคร และ ท่าอากาศยานตาก [3]ในปี พ.ศ. 2562 ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตลอดทั้งปี มีสายการบินทำการบินทั้งหมด 118 สายการบิน แบ่งเป็นขนส่งผู้โดยสาร 105 สายการบิน ขนส่งอากาศยาน อย่างเดียว 13 สายการบิน มี สายการบินเที่ยวบิน สายการบินเช่าเหมาลำ ระหว่างประเทศ 2 สายการบิน สายการบินเช่าเหมาลำ ภายในประเทศ ทำการบินไป สนามบินเกาะไม้ซี้ 1 สายการบิน รวม 121 สายการบิน จำนวนประเทศที่ให้บริการสายการบินประจำรวม 55 ประเทศ ไม่รวม ฮ่องกง และ มาเก๊า ตลอดปี พ.ศ. 2562 ในปี พ.ศ. 2562 มีสายการบิน ยกเลิกทำการบินที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 2 สายการบิน แบ่งเป็น ขนส่งผู้โดยสาร 1 สายการบิน ได้แก่ อาร์เคียอิสราเอล เลิกบิน เส้นทาง เทลอาวีฟ ในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ในเดือน มีนาคม พ.ศ. 2562 สายการบินเครื่องบินขนส่งอากาศยาน ยกเลิก 2 สายการบินขนส่งอากาศยาน ได้แก่ สายการบิน มาย เจ็ทเอกซ์เพรส แอร์ไลน์ ยกเลิกเที่ยวบิน จาก ปีนัง และ เดือน เมษายน พ.ศ. 2562 หยวนทง คาร์โกแอร์ไลน์ เลิกบิน เที่ยวบิน จาก ซีอาน และ ฉางซาสำหรับปีสิ้นสุดงบประมาณวันที่ 30 กันยายน 2561 ปริมาณการจราจรทางอากาศของท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งของบริษัท มีจำนวนเที่ยวบินรวม 874999 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.24 เมื่อเทียบกับปีก่อน แบ่งเป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ 462225 เที่ยวบิน เที่ยวบินภายในประเทศ 412774 เที่ยวบิน ส่วนจำนวนผู้โดยสารรวมมีทั้งหมด 139.52 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.99 เมื่อเทียบกับปีก่อน แบ่งเป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศ 80.49 ล้านคนและผู้โดยสารภายในประเทศ 59.03 ล้านคน โดยการเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากเที่ยวบินและผู้โดยสารระหว่างประเทศในปี 2561 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) มีกำไรสุทธิ 25170.76 ล้านบาท

ท่าอากาศยานไทย

อุตสาหกรรม การบริการ
ผลิตภัณฑ์ การบริหารท่าอากาศยาน
หมวดธุรกิจ ขนส่งและโลจิสติกส์
เว็บไซต์ www.airportthai.co.th
ประเภท มหาชน (SET:AOT)
รัฐวิสาหกิจ
บริษัทลูก บมจ.บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ
โรงแรมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
บริการภาคพื้น ท่าอากาศยานไทย
กำไร 20,683.60 ล้านบาท (2560)[1]
พนักงาน 7,230 (2560)[2]
บริษัทแม่ กระทรวงการคลัง
ที่อยู่ 333 หมู่ที่ 7 ถนนเชิดวุฒากาศ แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร;
รายได้ 56,744.27 ล้านบาท (2560)[1]
ก่อตั้ง 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 (40 ปี)
บุคลากรหลัก ประสงค์ พูนธเนศ (ประธานกรรมการ)
นิตินัย ศิริสมรรถการ (ผู้อำนวยการใหญ่)
ชนาลัย ฉายากุล (รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่)
ศศิศุภา สุคนธทรัพย์ (รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่)
ฉฎาณิศา ชำนาญเวช (รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่)
สมบูรณ์ น้อยน้ำคำ (รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่)
วิชัย บุญยู้ (รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่)
เอนก ธีระวิวัฒน์ชัย (รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่)
นาวาอากาศโท ฤทธิรงค์ ก้อนมณี (รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่)
มนตรี มงคลดาว (รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่)
นาวาอากาศตรี มณธนิก รักงาม (ผู้อำนวยการท่าอากาศยานเชียงใหม่)
วีระศักดิ์ ชั้นบุญใส (ผู้อำนวยการท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย)
กฤติยา ก้อนทอง (ผู้อำนวยการท่าอากาศยานหาดใหญ่)
เรืออากาศตรี ธานี ช่วงชู (ผู้อำนวยการท่าอากาศยานภูเก็ต)
นาวาอากาศโท สุธีรวัฒน์ สุวรรณวัฒน์ (ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ)
ศิโรตม์ ดวงรัตน์ (ผู้อำนวยการท่าอากาศยานดอนเมือง)
สินทรัพย์ 178,409.94 ล้านบาท (2560)[1]

ใกล้เคียง

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา (ระยอง–พัทยา) ท่าอากาศยานหาดใหญ่ ท่าอากาศยานนานาชาติปารีส-ชาร์ล เดอ โกล ท่าอากาศยานนานาชาตินครศรีธรรมราช ท่าอากาศยานนครราชสีมา

แหล่งที่มา

WikiPedia: ท่าอากาศยานไทย http://finance.google.com/finance?q=BAK:AOT http://aot.listedcompany.com/misc/statistic/2016/2... http://aot.listedcompany.com/misc/statistic/2018/2... http://http://aot.listedcompany.com/misc/statistic... http://www.airportthai.co.th http://www.set.or.th/set/companyhighlight.do?symbo... http://www.set.or.th/set/companyholder.do;jsession... http://www.set.or.th/set/companyinfo.do?type=profi... https://www.thunhoon.com/172926/59/45/ https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Airpor...