ประวัติ ของ ธงชาติพม่า

ในอดีตอาณาจักรพม่าสมัยราชวงศ์อลองพญาได้ใช้ธงพื้นขาวกลางมีรูปนกยูงเป็นธงชาติ เมื่อพม่าตกเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักรโดยผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอินเดียเมื่อปี พ.ศ. 2428 ธงชาติสหราชอาณาจักรจึงถูกชักขึ้นเหนือดินแดนพม่า[8] เมื่อพม่าแยกเป็นอาณานิคมโดยตรงอีกแห่งหนึ่งต่างหากจากอินเดียในปี พ.ศ. 2480 รัฐบาลสหราชอาณาจักรอังกฤษจึงกำหนดให้ใช้ธงแสดงสัญชาติสีน้ำเงิน (Blue Ensign) มีตรานกยูงในวงกลมอยู่ด้านปลายธงเป็นธงประจำดินแดน ซึ่งจะต้องต้องชักคู่กับธงสหภาพอยู่เสมอ สำหรับธงผู้ว่าการแห่งพม่า เป็นรูปแบบธงสหภาพมีตรานกยูงในวงกลมอยู่กลางธง

หลังจากพม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี พ.ศ. 2491 จึงได้มีการกำหนดแบบธงชาติพม่าใหม่ ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีแดง ที่มุมบนด้านคันธงเป็นรูปสีเหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงินขนาดเล็ก ภายในพื้นสีน้ำเงินนั้นมีรูปดาวห้าแฉกสีขาว 1 ดวง ล้อมรอบด้วยดาวสีขาวดวงเล็กอีก 5 ดวง ดาวดวงใหญ่หมายถึงสหภาพพม่า ดาวดวงเล็กทั้ง 5 หมายถึงชาวพม่า ชาวไทใหญ่ ชาวกะเหรี่ยง ชาวชีน และชาวกะชีน ส่วนสีขาวนั้นหมายถึงความซื่อสัตย์ ธงนี้ได้รับการรับรองด้วยรัฐธรรมนูญแห่งสหภาพพม่า ฉบับลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2490 และชักขึ้นเหนือแผ่นดินพม่าครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2491 เวลา 4.25 น.[9][9]

ต่อมาเมื่อนายพลเนวี่นได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลแห่งสหภาพพม่า และประกาศก่อตั้งสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่าแทน จึงได้มีการเปลี่ยนธงชาติเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2517 ลักษณะเป็นเป็นธงสี่เหลื่ยมผืนผ้าขนาดสัดส่วนความกว้างต่อความยาวของธงเป็น 5:9, 2:3 หรือ 6:11 พื้นสีแดง ที่มุมบนด้านต้นธงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงินขนาดเล็ก ภายในมีรูปช่อรวงข้าวอยู่หน้าฟันเฟือง ล้อมรอบด้วยดาวห้าแฉก 14 ดวงเป็นวงกลม รูปเหล่านี้เป็นสีขาว

สำหรับความหมายของสัญลักษณ์ในธงชาติมีดังนี้

  • รูปฟันเฟืองและรวงข้าว เป็นสัญลักษณ์ในเชิงสังคมนิยม หมายถึง ชาวนาและกรรมกร
  • ดาวห้าแฉก 14 ดวง หมายถึง เขตการปกครองทั้ง 14 เขตของพม่า (7 รัฐ 7 เขต)
  • สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ
  • สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
  • สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความอุดมสมบูรณ์

ธงชาติพม่าสมัยนี้เมื่อใช้ครั้งแรก หลายคนอาจสับสนระหว่างธงชาติไต้หวัน เนื่องจากมีลักษณะที่คล้ายกันมาก

แหล่งที่มา

WikiPedia: ธงชาติพม่า http://www.crwflags.com/fotw/flags/mm-hist.html#hi... http://www.miamiherald.com/2010/10/21/1883898/myan... http://www.myanmar.com/newspaper/nlm/Jan02_04.html http://www.reuters.com/article/idUSTRE69K2HM201010... http://www.straitstimes.com/BreakingNews/SEAsia/St... http://burmadigest.info/wp-content/uploads/2008/03... http://www.rbvex.it/asiapag/birmania.html http://www.flags.net/MYAN.htm http://www.mcot.net/cfcustom/cache_page/118490.htm... http://www.myanmars.net/myanmar/myanmar-flag-emble...