ธรณีกาล ของ ธรณีวิทยา

ธรณีกาลในแผนผังเชิงนาฬิกาแสดงระยะเวลาสัมพันธ์ของแต่ละช่วงยุคในช่วงธรณีประวัติ
ดูบทความหลักที่: ธรณีกาล

ตารางธรณีกาลเป็นการรวบรวมธรณีประวัติทั้งหมดไว้[1]โดยมีจุดอ้างอิงเริ่มต้นวัดจากอายุของหินโบราณที่เก่าที่สุดในระบบสุริยะซึ่งมีอายุ 4.567 Ga,[2] (gigaannum: billion years ago) โดยมีโลกซึ่งถือกำเนิดขึ้นในบรมยุคฮาเดียนเมื่อ 4.54 Ga[3][4] (gigaannum: พันล้านปีก่อน) และเดินทางมาบรรจบถึงระยะเวลาปัจจุบันซึ่งอยู่ในสมัยโฮโลซีน

เหตุการณ์สำคัญในธรณีประวัติ

  • 4.567 Ga: กำเนิดระบบสุริยะ[2]
  • 4.54 Ga: ดาวเคราะห์โลกถือกำเนิด[3][4]
  • c. 4 Ga: สิ้นสุดยุคการถูกระดมชนอย่างหนักครั้งล่าสุด, กำเนิดสิ่งมีชีวิต
  • c. 3.5 Ga: เริ่มต้นการสังเคราะห์ด้วยแสง
  • c. 2.3 Ga: ออกซิเจนถูกเติมเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ, โลกลูกบอลหิมะครั้งแรก
  • 730–635 Ma (megaannum: ล้านปีก่อน): โลกลูกบอลหิมะครั้งที่สอง
  • 542± 0.3 Ma: การระเบิดในยุคแคมเบรียน – สิ่งมีชีวิตเปลือกแข็งเริ่มมีความซับซ้อนมากขึ้น เป็นยุคที่พบฟอสซิลได้มากยุคแรกในช่วงเริ่มต้นของพาลีโอโซอิก
  • c. 380 Ma: สัตว์มีกระดูกสันหลังบนบกถือกำเนิด
  • 250 Ma: การสูญพันธุ์ เพอร์เมียน-ไทรแอสสิก – การสูญพันธุ์ของ 90% ของสัตว์บกในช่วงปลายยุคพาลีโอโซอิก เริ่มต้นมีโซโซอิก
  • 65 Ma: การสูญพันธุ์ ครีเทเชียส-เทอร์เชียรี่ – ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ สิ้นสุดยุคมีโซโซอิกและเริ่มต้นยุคซีโนโซอิก
  • c. 7 Ma – ปัจจุบัน: ยุคของมนุษย์
    • c. 7 Ma: บรรพบุรุษของมนุษย์โบราณถือกำเนิด
    • 3.9 Ma: บรรพบุรุษของมนุษย์ยุคใหม่ถือกำเนิด
    • 200 ka (kiloannum: พันปีก่อน): มนุษย์ยุคใหม่ (Homo sapiens) ถือกำเนิดในแอฟริกา
แผนที่ธรณีวิทยาประเทศไทย มาตราส่วน 1:2,500,000 จากเว็บไซต์ของกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม