ในทางนิกายเถรวาท ของ ธรรมกาย

เถรวาท หมายถึง คณะสงฆ์กลุ่มที่ยึดคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งถ้อยคำ และเนื้อความที่ท่านสังคายนาไว้โดยเคร่งครัด ตลอดจนรักษาแม้แต่ตัวภาษาดั้งเดิมคือภาษาบาลี คำว่าธรรมกายในนิกายเถรวาทนั้น มีผู้ให้คำจำกัดความไว้หลายนัยยะ เช่น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) กล่าวว่าธรรมกายหมายถึง

  1. “ผู้มีธรรมเป็นกาย” เป็นพระนามอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า (ตามความในอัคคัญญสูตร แห่งทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค) หมายความว่า พระองค์ทรงคิดพุทธพจน์คำสอนด้วยพระหทัยแล้วทรงนำออกเผยแพร่ด้วยพระวาจา เป็นเหตุให้พระองค์ก็คือพระธรรมเพราะทรงเป็นแหล่งที่ประมวลหรือที่ประชุมอยู่แห่งพระธรรมอันปรากฏเปิดเผยออกมาแก่ชาวโลก; พรหมกาย หรือพรหมภูต ก็เรียก;
  2. “กองธรรม”,”กลุ่มก้อนแห่งธรรม”หรือ“ชุมนุมแห่งธรรม” ธรรมกายย่อมเจริญงอกงามเติบขยายขึ้นได้โดยลำดับจนไพบูลย์ ในบุคคลผู้เมื่อได้สดับคำสอนของพระองค์แล้วฝึกอบรมตนด้วยไตรสิกขาเจริญมรรคาให้บรรลุภูมิแห่งอริยชน ดังตัวอย่างดำรัสของพระมหาปชาบดีโคตมี เมื่อครั้งกราบทูลลาพระพุทธเจ้าเพื่อปรินิพพานตามความในคัมภีร์อปทานตอนหนึ่งว่า “ข้าแต่พระสุคตเจ้า หม่อมฉันเป็นมารดาของพระองค์, ข้าแต่พระธีรเจ้า พระองค์ก็เป็นพระบิดาของหม่อมฉัน ... รูปกายของพระองค์นี้ หม่อมฉันได้ทำให้เจริญเติบโต ส่วนธรรมกายอันเป็นที่เอิบสุขของหม่อมฉัน ก็เป็นสิ่งอันพระองค์ได้ทำให้เจริญเติบโต”; สรุปตามนัยอรรถกถา ธรรมกาย ในความหมายนี้ ก็คือโลกุตตรธรรม ๙ หรืออริยสัจจ์[1] (ธรรมริมทาง)

หลักฐานคัมภีร์เถรวาท

พระไตรปิฎกเถรวาท

  • หลักฐานชั้นพระไตรปิฎก

ในพระไตรปิฎกฉบับบาลีอักษรไทย (2525) ซึ่งจัดพิมพ์โดยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีปรากฏคำว่า "ธรรมกาย" อยู่ 4 แห่ง โดยส่วนใหญ่อยู่ในพระสูตร ดังนี้

1. ที.ปา. อัคคัญญสูตร 11/55/91-92 ในทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค หน้า 92 ฉบับบาลี ปี พ.ศ. 2525 ได้กล่าวถึง "ธรรมกาย" ว่า

ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฏฺฐา อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปี พฺรหฺมกาโย อิติปิ ธมฺมภูโต อิติปิ พฺรหฺมภูโต อิติปิฯ

"ดูก่อนวาเสฏฐะ อันว่า คำว่า "ธรรมกาย" ก็ดี "พรหมกาย" ก็ดี "ธรรมภูต" ก็ดี ผู้ที่เป็นธรรมก็ดี หรือ "พรหมภูตะ" ผู้ที่เป็นพรหมก็ดี นี้แหละเป็นชื่อของเราตถาคต"

2. ขุ.อป. อัตถสันทัสสกเถราปทาน อปทาน 32/139/243 ในขุททกนิกาย อปทาน เล่มที่ 32 ข้อ 139 หน้า 243 บรรทัดที่ 1 ฉบับบาลี ปี 2525 ได้กล่าวถึง "ธรรมกาย" ว่า

...ธมฺมกายญฺจ ทีเปนฺติ เกวลํ รตนากรํ วิโกเปตํ น สกฺโกนฺติ โก ทิสฺวา นปฺปสีทติฯ

"บุคคลใดยัง "ธรรมกาย"ให้สว่างแล้วทั้งสิ้น อันเป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะทั้งหลาย อันบุคคลทั้งหลายไม่มีผู้ใดจะทำร้ายได้ ใครเล่าเมื่อเห็นแล้วจะไม่ปลาบปลื้มยินดีนั้น ไม่มี"

3. ขุ.อป. ปัจเจกพุทธาปทาน 32/2/20 ในขุททกนิกาย อปทาน เล่มที่ 32 ข้อ 2 หน้า 20 บรรทัดที่ 9 ฉบับบาลี ปี 2525 ได้กล่าวถึงว่า

...ภวนฺติ ปจฺเจกชินา สยมฺภูฯ มหนฺตธมฺมา พหุธมฺมกายา...

"พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้สยมภู ทรงเป็นผู้มีธรรมอันใหญ่ มี "ธรรมกาย" มาก"

4. ขุ.อป. มหาปชาบดีโคตรมีเถรีอปทาน 33/157/284

ในขุททกนิกาย อปทาน เล่มที่ 33 ข้อ 157 หน้า 284 บรรทัดที่ 12 ฉบับบาลี ปี 2525 ได้กล่าวถึง "ธรรมกาย" ไว้ว่า

สํวทฺธิโตยํ สุคต รูปกาโย มยา ตว อานนฺทิโย ธมฺมกาโย มม สํวทฺธิโต ตยาฯ

"ข้าแต่พระสุคต รูปกายของพระองค์นี้ อันหม่อมฉันยังให้เติบโตแล้ว แต่ "ธรรมกาย" อันน่ารื่นรมย์ของหม่อมฉัน พระองค์ให้เติบโตแล้ว"

และในพระไตรปิฎกฉบับหลวง (2514) เล่มที่ 26 หน้า 334 มีปรากฏคำว่า "ธรรมกาย" ดังนี้

5. พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สรภังคเถรคาถา ข้อ 365

...เมื่อก่อน เราผู้ชื่อว่า "สรภังคะ" ไม่เคยได้เห็นโรค คือ อุปาทาน ขันธ์ 5 ครบบริบูรณ์ทั้งสิ้น โรคนั้น อันเราผู้ทำตามพระดำรัสของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ได้เห็นแล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า วิปัสสี พระสิขี พระเวสสภู พระกกุสันโธ พระโกนาคม พระกัสสป ได้เสด็จไปแล้วโดยทางใดแล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า "โคดม" ก็ได้เสด็จไปแล้วโดยทางนั้น พระพุทธเจ้า 7 พระองค์นี้ ทรงปราศจากตัณหา ไม่ทรงถือมั่น ทรงหยั่งถึงความสิ้นกิเลส เสด็จอุบัติแท้โดย "ธรรมกาย" ผู้คงที่ ทรงเอ็นดูอนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลาย ได้ทรงแสดงธรรม คือ อริยสัจ 4 อันได้แก่ ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ (สมุทัย) ความดับทุกข์ (นิโรธ) ทางเป็นที่สิ้นทุกข์ (มรรค) เป็นทางไม่เป็นไปแห่งทุกข์ อันไม่มีที่สุดในสงสาร เพราะกายนี้แตกและเพราะความสิ้นชีวิตนี้ การเกิดในภพใหม่อย่างอื่นมิได้มี เราเป็นผู้หลุดพ้นแล้วจากสรรพกิเลสและภพทั้งปวง

คัมภีร์อื่น ๆ

หนังสือมิลินทปัญหา (ฉบับแปลในมหามกุฏราชวิทยาลัย) สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี) มีความข้อความเกี่ยวกับ ธรรมกาย ดังนี้

10. พุทธนิทัสสนปัญหาที่ 58
พระราชาตรัสถามว่า "พระพุทธเจ้ามีหรือ พระผู้เป็นเจ้า ?"
พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "ขอถวายพระพร มีอยู่."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าสามารถจะชี้ได้หรือว่า 'พระพุทธเจ้าอยู่ที่นี้ หรือที่นี้."
ถ. "พระผู้มีพระภาคปรินิพพานแล้ว ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ (ดับ
หมดสิ้นเชื้อไม่มีเหลือ), อาตมภาพไม่สามารถที่จะชี้ได้ว่า 'อยู่ที่นี้หรือที่นี้."
ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง."
ถ. "พระองค์จะทรงพระดำริเห็นความข้อนั้นเป็นไฉน: เปลวแห่งกองไฟ
อันใหญ่ที่ลุกโพลงอยู่ดับไปแล้ว พระองค์จะทรงสามารถชี้ได้หรือว่า 'อยู่ที่นี้
หรือที่นี้."
ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง."
ถ. "พระองค์จะทรงพระดำริเห็นความข้อนั้นเป็นไฉน: เปลวแห่งกองไฟ
อันใหญ่ที่ลุกโพลงอยู่ดับไปแล้ว พระองค์จะทรงสามารถชี้ได้หรือว่า 'อยู่ที่นี้
หรือที่นี้."
ร. "ไม่สามารถเลย เพราะว่าเปลวไฟนั้นดับแล้ว ถึงความไม่มีบัญญัติ
เสียแล้ว."
ถ. "ข้อนั้นฉันใด, พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาติ, ใคร ๆ ไม่สามารถจะชี้ได้ว่า 'อยู่ที่นี้หรือที่นี้' ดัง
นี้. ก็แต่ว่าสามารถจะชี้ได้ด้วยธรรมกาย, เพราะว่าพระธรรม พระผู้มีพระภาค
เจ้าทรงแสดงไว้แล้ว."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."

แหล่งที่มา

WikiPedia: ธรรมกาย http://dharma-gateway.com/buddha/buddha-misc/bd-mi... http://mahayarn.exteen.com/20091014/entry-2%20-- http://www.mahaparamita.com/?p=485 http://www.watnyanaves.net/uploads/File/books/pdf/... http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=32&A... http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=33&A... http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=11&A... http://www.diri-au.org/download/seminar-2014/dhamm... http://www.mahapadma.org/index.php/2011-01-18-03-4... http://www.mahapadma.org/index.php/2011-01-18-03-4...