คำนิยาม ของ ธาตุกึ่งโลหะ

การวินิจฉัยค่าความด่าง

ธาตุกึ่งโลหะเป็นธาตุที่มีองค์ประกอบก้ำกึ่งระหว่างพวกโลหะและอโลหะ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่จะจำแนกว่าเป็นโลหะหรืออโลหะ นี่คือความหมายทั่วไปที่กล่าวถึงลักษณะของธาตุกึ่งโลหะที่ถูกอ้างถึงอย่างต่อเนื่องในงานวิจัย[2]ความยากของการจัดหมวดหมู่เป็นคุณลักษณะสำคัญของธาตุกึ่งโลหะ ธาตุส่วนใหญ่มีคุณสมบัติของทั้งโลหะและอโลหะ และสามารถแบ่งได้ตามคุณสมบัติเพื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยเฉพาะธาตุที่อยู่ใกล้เส้นขอบ ที่ไม่มีลักษณะชัดเจนว่าเป็นโลหะหรืออโลหะ จะถูกจัดเป็นกึ่งโลหะ

โบรอน, ซิลิคอน ,เจอร์เมเนียม ,สารหนู ,พลวงและเทลลูเรียม เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าเป็นธาตุกึ่งโลหะ และบางครั้งซีลีเนียม, พอโลเนียมหรือแอสทาทีนก็ถูกจัดอยู่ในนั้นด้วย บางครั้งโบรอนและซิลิกอนก็ไม่ถูกจัดเป็นกึ่งโลหะ บางครั้งเทลลูเรียมก็ไม่ได้เป็นกึ่งโลหะ และการรวมพลวง, พอโลเนียมและแอสทาทีนเข้าเป็นธาตุกึ่งโลหะยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่

ยังมีธาตุอื่นๆที่ถูกจัดว่าเป็นธาตุกึ่งโลหะ ซึ่งธาตุเหล่านั้นคือ ไฮโดรเจน, เบริลเลียม, ไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส, กำมะถัน, สังกะสี, แกลเลียม, ดีบุก, ไอโอดีน, ตะกั่ว, บิสมัทและเรดอน ธาตุกึ่งโลหะที่มีองค์ประกอบที่แสดงถึงความมันวาวของโลหะและการนำไฟฟ้า เรียกว่า แอมโฟเทริก เช่น สารหนู พลวง วานาเดียม โครเมียม โมลิบดีนัม ทังสเตนดีบุก ตะกั่วและอะลูมิเนียม โลหะบล็อก-p และอโลหะ (เช่น คาร์บอน หรือ ไนโตรเจน) สามารถปรับเปลี่ยนคุณสมบัติหรือรวมกันได้เป็นโลหะผสม จึงได้รับการพิจารณาเป็นกึ่งโลหะ

ค่าความเป็นด่างมาตรฐาน

ธาตุIE
(kcal/mol)
IE
(kJ/mol)
ENกลุ่มโครงสร้าง
โบรอน1918012.04สารกึ่งตัวนำ
ซิลิกอน1887871.90สารกึ่งตัวนำ
เจอร์เมเนียม1827622.01สารกึ่งตัวนำ
อาร์เซนิก2269442.18กึ่งโลหะ
พลวง1998312.05กึ่งโลหะ
เทลลูเลียม2088692.10สารกึ่งตัวนำ
ค่าเฉลี่ย1998322.05
The elements commonly recognised as metalloids, and their ionization energies (IE) ;[3] electronegativities (EN, revised Pauling scale) ; and electronic band structures[4] (most thermodynamically-stable forms under ambient conditions).

ไม่มีการยอมรับคำจำกัดความของธาตุกึ่งโลหะว่ามีอยู่ส่วนใดของตารางธาตุ[5] ต่อมาฮอว์ค[6]ได้สังเกตถึงความผิดของโครงสร้างต่างๆและองค์ประกอบ ตามคำที่ธาตุกึ่งโลหะได้อธิบายไว้ ธาตุกึ่งโลหะได้อธิบายโดยชาร์ป

ธาตุกึ่งโลหะจะมีจำนวนที่บอกค่าของธาตุแต่ละชนิด (เลขมวล เลขอะตอม) โดยใช้เกณฑ์จำแนก และต่อมาได้มีการยอมรับธาตุกึ่งโลหะ 4 ธาตุ (เจอร์เมเนียม สารหนู พลวง และเทลลูเรียม) เจมส์ เอตอัล[7] ได้ระบุว่า โบรอน คาร์บอน ซิลิคอน ซีลีเนียม บิสมัท พอโลเนียม มอสโกเวียมและลิเวอร์มอเรียม ธาตุที่ได้กล่าวมานั้นมีแนวโน้มที่ใกล้เคียงกันซึ่งสามารถจัดตามหมวดหมู่ได้ ธาตุโลหะสามารถบอกค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตี และค่าพลังงานไอออไนเซชัน