ในเชิงเศรษฐกิจ ของ นกกระจอกเทศ

มนุษย์รู้จักและใช้ประโยชน์จากนกกระจอกเทศมาเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 5,000 ปีแล้ว โดยใช้เนื้อและไข่ในการบริโภคส่วนขนในการทำเครื่องประดับและเครื่องนุ่งห่มต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันก็ได้กลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจอีกประการหนึ่ง[6]

สายพันธุ์นกกระจอกเทศ

นกกระจอกเทศมีหลายสี แต่ละสีแสดงพันธุ์ที่แตกต่างกัน แบ่งได้3 ชนิด ตามสีขน ดังนี้

1. นกกระจอกเทศพันธุ์คอดำ (African black domestic หรือ Black Neck)พัฒนามาจากพันธุ์ S.camcius เป็นนกกระจอกเทศที่คนทั่วไปคุ้นเคย อาศัยอยู่ในมอรอคโคและซูดาน ลักษณะผิวหนังจะมีสีเทาดำ ขนสั้นและสีเข้มกว่าพันธุ์อื่นๆ มีนิสัยที่เชื่องมากที่สุดในบรรดานกกระจอกเทศทั้งหมด พันธุ์คอดำ เป็นพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงมากที่สุดเนื่องจากสามารถให้ไข่ได้ถึง 80 ฟอง/ปี อีกทั้งยังเป็นพันธุ์ที่มีราคาสูงมาก

2. นกกระจอกเทศพันธุ์คอแดง (Red Neck)มาจากแอฟริกาตะวันออก (แทสมาเนียและเคนยา) เป็นนกกระจอกเทศป่าที่พัฒนามาจากพันธุ์ S.Camssaicus นกกระจอกเทศพันธุ์นี้จะมีผิวสีชมพูเข้ม ตัวผู้มีผิวหนังสีขาวครีมที่ต้นขาและคอ ยกเว้นในช่วงฤดูผสมพันธุ์ ผิวหนังที่ขาและคอจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้มค่อนข้างสดใส ตัวผู้มีขนสีดำตลอดลำตัวยกเว้นปลายหางและปลายปีกจะมีสีขาว ส่วนตัวเมียสีน้ำตาลเทา มีขนาดลำตัวใหญ่มาก สูงประมาณ 2-2.5 เมตร น้ำหนัก 105-165 kg ให้ผลผลิตเนื้อมากแต่ให้ไข่น้อย ตัวผู้ค่อนข้างดุ โดยเฉพาะช่วงฤดูผสมพันธุ์

3. นกกระจอกเทศพันธุ์คอน้ำเงิน (Blue Neck)มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนเหนือ ตะวันตก หรือทางตอนใต้ของแอฟริกาและเป็นนกกระจอกเทศป่า พัฒนามาจากพันธุ์ S. molybdophanes และ S.australis นกกระจอกเทศพันธุ์นี้จะมีผิวหนังสีฟ้าอมเทา ในตัวผู้จะมีผิวหนังสีฟ้าอมเทาบนคอ ขา และต้นขา มีเพียงหน้าแข้งเท่านั้นที่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงในฤดูผสมพันธุ์ นกกระจอกเทศตัวเมียที่โตเต็มที่จะมีสีฟ้าอมเทา ขนของตัวผู้ที่โตเต็มที่จะเป็นสีดำแซมขาว ในขณะที่ขนของตัวเมียจะมีสีเทาจางๆถึงน้ำตาลเทา ให้เนื้อน้อยกว่าพันธุ์คอแดง แต่ให้ไข่มากกว่า

การเลือกทำเลในการเลี้ยงนกกระจอกเทศ

นกกระจอกเทศเป็นสัตว์ที่ใช้ชีวิตในพื้นที่ป่าโปร่งแบบทุ่งหญ้า พื้นที่ราบแบบทะเลทรายที่มีพืชอาหารที่อุดมสมบูรณ์ นกชนิดนี้มีพฤติกรรมที่วิ่งเร็วมาก ชอบใช้ชีวิตแบบอิสระ และเป็นสัตว์ที่ตกใจง่าย ดังนั้นพื้นที่ที่เหมาะสมในการเลี้ยงนกกระจอกเทศ คือ

  • พื้นที่เป็นที่ดอน ไม่มีน้ำท่วมขัง สามารถปลูกพืชอาหารสัตว์ได้
  • ควรเป็นดินร่วนปนทราย สามารถดูดซับน้ำลงสู่ดินอย่างรวดเร็ว
  • ลักษณะอากาศค่อนข้างแห้งแล้งปริมาณน้ำฝนต่ำกว่า 1000 มิลลิลิตร/ปี จะเหมาะมาก เพราะนกกระจอกเทศไม่ชอบอากาศชื้นแฉะ
  • ห่างไกลจากแหล่งชุมชนพอสมควร ควรเลี้ยงแบบอิสระเพื่อไม่ให้นกเครียด
  • มีแหล่งน้ำที่สะอาดสามารถให้นกกินได้ตลอดปี

การผสมพันธุ์ของนกกระจอกเทศ

นกกระจอกเทศถ้าปล่อยเลี้ยงธรรมชาติจะถึงอายุผสมพันธุ์เมื่อเพศผู้อายุราว 3-4 ปีขึ้นไปส่วนเพศเมียอายุประมาณ 2 ปีครึ่ง ขึ้นไป แต่นกกระจอกเทศที่เลี้ยงเป็นฟาร์ม จะผสมพันธุ์เมื่อเพศผู้มีอายุ 2 ปีครึ่งขึ้นไป เพศเมียอายุ 2 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาหารและการจัดการเป็นหลัก อัตราส่วนการผสมพันธุ์คือ เพศผู้ 1 ตัว ต่อเพศเมีย 1-3 ตัว นกกระจอกเทศจะผสมพันธุ์ในช่วงที่มีอากาศเย็นและแห้ง ซึ่งอยู่ระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนมีนาคม

วิธีการผสมพันธุ์

นกกระจอกเทศเพศผู้จะแสดงอาการเป็นสัด โดยการนั่งลงบนพื้นด้วยข้อเข่า แล้วกางปีกทั้งสองข้างออกโบกขึ้นลง ขณะเดียวกันหัวก็จะโยกไปตามจังหวะของการโบกปีก ส่วนตัวเมียจะแสดงอาการเป็นสัด โดยกางปีกออกสั่น แต่ไม่เหมือนตัวผู้เมื่อนกกระจอกเทศตัวเมียนั่งบนพื้น หัวและคอจะทอดยาวไปตามพื้น แต่จะมีบางตัวที่ชูหัวตั้ง แล้วตัวผู้จะขึ้นคร่อมบนหลังตัวเมีย เพื่อสอดใส่อวัยวะเพศเข้าไปทางก้นของตัวเมีย ซึ่งใช้เวลาไม่เกิน 3 นาทีเท่านั้นแต่ถ้าหากเลี้ยงนกกระจอกเทศเพศผู้และเพศเมียรวมกัน ก่อนถึงฤดูผสมพันธุ์ ควรแยกตัวผู้ออกจากฝูงตัวเมีย โดยไม่ให้ตัวผู้เห็นตัวเมียเลย เพราะจะทำให้ฮอร์โมนเพศผู้สูงขึ้น ทำให้การผสมพันธุ์ติดดียิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม การที่นกกระจอกเทศจะให้ผลผลิตมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้

  • อาหารมีคุณภาพดีและเหมาะสม
  • ความสมบูรณ์ของก้น
  • อุณหภูมิและสิ่งแวดล้อม

ส่วนข้อพิจารณาความเหมาะสมของคู่พันธุ์ ควรพิจารณาจากสิ่งต่อไปนี้

  • ปริมาณไข่ต่อปี
  • อัตราของไข่มีเชื้อ
  • อัตราการฟักออกเป็นตัว
  • อัตราการตายของลูกนก

ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการเลี้ยงนกกระจอกเทศ

ปัญหาที่พบในการเลี้ยงนกกระจอกเทศมีดังนี้

  • ลูกนกมีมาตรฐานอายุต่ำกว่าเกณฑ์ที่คาดไว้ ปัญหานี้อาจมีผลมาจากภาวะโภชนาการไม่ดี ไข่ถูกเก็บไว้นานเกินไป กระบวนการฟักไม่ถูกต้อง หรือห้องฟักไม่ถูกสุขอนามัย
  • ขาดอาหาร ถ้าลูกนกไม่เรียนรู้การกินอาหารใน 2-3 วันแรก ในไม่ช้าพวกมันจะเริ่มไม่มีสี ดังนั้นควรดูแลว่าลูกนกชอบอาหารที่ให้ไปหรือไม่
  • ความเครียด สาเหตุเกิดจากการถูกจับมากเกินไป หรือการเปลี่ยนแปลงกะทันหัน เป็นต้น
  • พฤติกรรมที่ผิดปกติ เกิดจากความเครียดทำให้ลูกนกแสดงพฤติกรรมที่ผิดปกติออกมา
  • ปัญหาเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย ปัญหานี้ส่วนมากเป็นเรื่องของการถ่ายเทอากาศที่ไม่ดี มีลูกนกมากเกินไป หรือการให้ความอบอุ่นไม่เป็นผล
  • ปรสิตทั้งภายในและภายนอกและโรคต่าง ๆ ควรกำจัดปรสิตเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ควรกำจัดหมัดขนนกและเห็บด้วยสเปรย์กำจัดปรสิตภายนอก และย้ายลูกนกออกไปเพื่อทำความสะอาดคอกอย่างสม่ำเสมอ
  • ปัญหาการซื้อ ถ้าหากนกกระจอกเทศถูกเปลี่ยนเจ้าของบ่อย ๆ ลูกนกอาจปรับสภาพไม่ทันทำให้ตายได้
  • นำไปไว้ในฝูงเร็วเกินไป นกกระจอกเทศจะไม่ได้รับการออกกำลังกายที่เพียงพอในพื้นที่ที่ล้อมรั้วไว้ ก็อาจเป็นสาเหตุของความเครียดได้เช่นกัน
  • มีลูกนกมากเกินไปในพื้นที่จำกัด ปัญหานี้อาจทำให้ลูกนกเกิดความเครียด การกินขน และการได้รับอาหารน้อย
  • นกป่า ปัญหาที่มีนกป่ามาก่อกวนทำให้ลูกนกตื่นกลัวและไม่มีสมาธิในการกินอาหาร
  • การจัดสรรอาหารและน้ำ สามารถให้อาหารเสริมที่ทำมาจากหญ้าผสมข้าวโพด เพื่อเป็นการลดรายจ่ายในการซื้ออาหารเสริมที่แพง ๆ ได้ และควรมีน้ำดื่มที่เพียงพอตลอดเวลา
  • การเก็บขน ลูกนกอายุ 6 เดือนควรเล็มก้านขนนก, อายุ7 เดือน ควรถอนขนร่างกายที่เจริญเต็มที่, อายุ 8 เดือนถอนขนนก

โรคที่พบในนกกระจอกเทศ

สาเหตุของโรคส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้และโภชนาการด้านอาหารที่ไม่เหมาะสม โรคที่พบส่วนใหญ่ได้แก่ โรคดังต่อไปนี้

  • โรคที่เกิดจากพยาธิตัวกลม (Nematoda) เป็นสาเหตุของการระคายตาและเป็นขี้ตา
  • โรคที่เกิดจากโพรโทซัว (Protozoa) ทำให้นกสูญเสียขน
  • โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส (Viral diseases) เกิดโรคฝีดาษ
  • โรคที่เกิดจากแบคทีเรีย (Bacterial Diseases) เป็นสาเหตุของโรคตาแดง
  • โรคที่เกิดจากเชื้อรา (Fungal infection) ทำให้เกิดโรคขาดสารอาหาร

การรักษา

สำหรับการรักษาโรคที่เกิดในนกกระจอกเทศสามารถทำได้ดังนี้