การจัดในอนุกรมวิธาน ของ นกกะรางหัวขวาน

นกกะรางหัวขวานจัดอยู่ใน clade ของอันดับนกตะขาบ ซึ่งรวมทั้งวงศ์นกกระเต็น วงศ์นกจาบคา และวงศ์นกตะขาบ[3] ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างนกพันธุ์นี้กับนกวงศ์ Phoeniculidae (อังกฤษ: woodhoopoe) เห็นได้ที่กระดูกรูปโกลน (คือ stapes ในหูชั้นกลาง) ที่ไม่เหมือนใครในวงศ์นกทั้งสอง[4] ในอนุกรมวิธานนกของ Sibley-Ahlquist (ซึ่งจัดอันดับตามผลงานศึกษาดีเอ็นเอ) นกพันธุ์นี้มีอันดับต่างหากเป็น Upupiformes (ไม่ใช่ Coraciiformes)และนักวิชาการบางท่านก็รวมนกวงศ์ Phoeniculidae เข้าไปในอันดับต่างหากนี้ด้วย[5]

หลักฐานซากดึกดำบรรพ์ของนกพันธุ์นี้มีน้อยมาก โดยมีซากเก่าที่สุดมาจากยุคควอเทอร์นารี[6] แต่หลักฐานของนกพันธุ์ญาติจะเก่าแก่กว่า โดยพบซากของ woodhoopoe จากสมัยไมโอซีน (5.322 ถึง 23.03 ล้านปีก่อน) และซากของวงศ์ญาติ Messelirrisoridae ที่สูญพันธ์ไปแล้ว จากสมัยอีโอซีน (33.9 ถึง 56 ล้านปีก่อน)[5]

เป็นนกพันธุ์เดียวที่เหลือในวงศ์ แม้ว่า จะมีนักวิชาการที่พิจารณาสปีชีส์ย่อยของเกาะมาดากัสการ์ (U. e. marginata) และของแอฟริกา (U. e. africana) ว่าเป็นสปีชีส์ต่างหากความแตกต่างทางสัณฐานระหว่างสปีชีส์ย่อยที่นิยมแยกที่สุดคือ U. e. marginata กับสปีชีส์ย่อยอื่น ๆ เล็กน้อยมาก และมีแต่ U. e. marginata เท่านั้นที่มีเสียงร้องไม่เหมือนสปีชีส์ย่อยอื่น ๆ[7] มีสปีชีส์แยกออกมากที่มีมติยอมรับคือ นกเฉพาะเกาะเซนต์เฮเลนา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Upupa antaios, อังกฤษ: Saint Helena hoopoe) แต่ว่านกสูญพันธุ์ไปในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยสันนิษฐานว่า เพราะมีการนำสปีชีส์ใหม่ ๆ เข้าไปในเกาะ[6]

คาโรลัส ลินเนียสบัญญัติสกุล Upupa ในหนังสือ Systema naturae ในปี ค.ศ. 1758ซึ่งในตอนนั้นรวมนกสปีชีส์สามอย่างอื่นที่มีปากยาวโค้ง คือ[8]

สปีชีส์ย่อย

U. e. epops ในแคว้นกาลิเซีย ประเทศสเปน

ในหนังสือภาษาอังกฤษชุด Handbook of the Birds of the World (คู่มือนกของโลก)[9]ที่แสดงนกทุกสปีชีส์ในโลกที่รู้จัก มีสปีชีส์ย่อยของนกกะรางหัวขวาน 9 สปีชีส์แตกต่างกันส่วนมากโดยขนาด และโดยความเข้มสีขนหลังการพิมพ์หนังสือจากนั้น ก็มีสปีชีส์ย่อยอีก 2 อย่างที่ได้รับการเสนอคือ U. e. minor ในประเทศแอฟริกาใต้ และ U. e. orientalis ในประเทศอินเดียตะวันตกเฉียงเหนือ

สปีชีส์ย่อย[7]แหล่งที่อยู่[7]ลักษณะเฉพาะ[7]
U. e. epops
Linnaeus, 1758
แอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือ หมู่เกาะคะเนรี จากยุโรปไปถึงประเทศรัสเซียกลางตอนใต้ ประเทศจีนตะวันตกเฉียงเหนือ ประเทศอินเดียตะวันตกเฉียงเหนือจนถึงภาคใต้พันธุ์ต้นแบบ (Nominate)
U. e. major
C.L. Brehm, 1855
แอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือขนาดใหญ่กว่าพันธุ์ต้นแบบ ปากยาวกว่า หางเรียวกว่า ด้านบนมีสีเทากว่า
U. e. senegalensis
William John Swainson, 1913
ประเทศเซเนกัล ไปจนถึง ประเทศเอธิโอเปียขนาดเล็กกว่าพันธุ์ต้นแบบ ปีกสั้นกว่า
U. e. waibeli
Reichenow, 1913
ประเทศแคเมอรูนจนถึงประเทศเคนยาตอนเหนือเหมือนกับ U. e. senegalensis แต่มีขนเข้มกว่าและมีสีขาวมากกว่าบนปีก
U. e. africana
Johann Matthäus Bechstein, 1811
แอฟริกากลางจนถึงแอฟริกาใต้มีสีแดง/น้ำตาลยิ่งกว่าพันธุ์ต้นแบบ
U. e. marginata (Madagascan Hoopoe)
Cabanis & Heine, 1860
เกาะมาดากัสการ์ใหญ่กว่า แต่สีจางกว่า U. e. africana
U. e. saturata
Lönnberg, 1909
ประเทศญี่ปุ่น ไซบีเรีย จนถึง ทิเบตและประเทศจีนตอนใต้เหมือนกับพันธุ์ต้นแบบ แต่มีขนคลุมตัวที่เทากว่า มีสีชมพูน้อยกว่าด้านล่าง
U. e. ceylonensis
Reichenbach, 1853
ประเทศอินเดียขนาดเล็กกว่าพันธุ์ต้นแบบ มีสีแดง/น้ำตาลยิ่งกว่า ไม่มีสีขาวที่หงอน
U. e. longirostris
Thomas C. Jerdon, 1862
เอเชียอาคเนย์ขนาดใหญ่กว่าพันธุ์ต้นแบบ สีจางกว่า

แหล่งที่มา

WikiPedia: นกกะรางหัวขวาน http://www.iee.unibe.ch/cb/content/e7117/e7118/e87... http://books.google.com/books?id=wpM3AAAAIAAJ&pg=P... http://translate.google.com/translate?hl=en&sl=et&... http://ibc.lynxeds.com/species/hoopoe-upupa-epops http://ibc.lynxeds.com/video/hoopoe-upupa-epops/bi... http://www.sfgate.com/cgi-bin/object/article?o=1&f... http://www.ynetnews.com/articles/0,7340,L-3549637,... http://www.youtube.com/watch?v=G06qiyYtPyc http://www.sil.si.edu/smithsoniancontributions/Pal... http://sora.unm.edu/node/26294