ความสัมพันธ์กับมนุษย์ ของ นกกะรางหัวขวาน

นกกะรางหัวขวานบนต้นไผ่ โดย Zhao Mengfu, ค.ศ. 1254-1322 ที่พิพิธภัณฑ์เซี่ยงไฮ้ นกกะรางหัวขวาน (ฮีบรู: דוכיפת‎) ในประเทศอิสราเอล เป็นนกประจำชาติของประเทศ

นกกะรางหัวขวานเป็นนกที่เด่นและมีอิทธิพลทางวัฒนธรรมในเขตที่มันอยู่ถือเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ในอียิปต์โบราณ โดย "มีภาพบนผนังของสุสานและวิหาร"และได้รับการยกย่องเช่นเดียวกันในอารยธรรมไมนวน[18]

ในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมในหมวดเบญจบรรณเล่มที่ 3 (Leviticus 11:13-19[22]) นกกะรางหัวขวานเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่น่ารังเกียจ ไม่ควรรับประทาน และในเล่มที่ 5 (Deuteronomy 14:18) กำหนดว่า เป็นของที่ไม่สามารถกินได้ (not kosher)

นอกจากนั้นแล้ว ยังปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอาน (ในซูเราะฮ์ Al-Naml 27:20-22) เป็นผู้นำข่าวจากพระราชินีแห่งชีบามาถวายให้พระเจ้าโซโลมอน นอกจากนั้นแล้ววรรณกรรมอื่นของอิสลามก็แสดงว่า นกได้ป้องกันโมเสสและลูกหลานของอิสราเอลจากยักษ์อ็อก[23][24]หลังจากที่ได้ข้ามทะเลแดงแล้ว[25]

นกเป็นสัญลักษณ์ของคุณธรรมในเปอร์เชีย และปรากฏในหนังสือกลอนของ Attar of Nishapur ว่าเป็นนกผู้นำ[26]

แต่ว่า นกกะรางหัวขวานเชื่อว่าเป็นขโมยเกือบทั่วทั้งยุโรป และเป็นลางสงครามในประเทศสแกนดิเนเวีย[27] ส่วนในประเพณีของชนประเทศเอสโตเนีย นกเกี่ยวข้องกับความตายและปรโลก เสียงร้องของมันเชื่อว่าเป็นลางมรณะของทั้งคนและปศุสัตว์[28]

นกกะรางหัวขวานเป็นพระราชาของพวกนกในละครตลกกรีกโบราณ "นก" ของอริสโตฟานเนสส่วนในมหากาพเมทามอร์โฟซีสโดยนักเขียนโอวิด กษัตริย์ Tereus ถูกสาปให้กลายเป็นนกกะรางหัวขวาน หลังจากทรงข่มขืนพระภคินีของพระชายา และทรงพยายามสำเร็จโทษทั้งพระชายาและพระภคินี[29] หงอนของนกเป็นสัญลักษณ์แสดงเชื้อกษัตริย์ และปากแหลมยาวของนกแสดงความรุนแรง

นกกะรางหัวขวานได้รับเลือกเป็นนกประจำชาติของประเทศอิสราเอลในปี ค.ศ. 2008 ที่เป็นปีฉลองอายุ 60 ปีของประเทศ หลังจากได้สำรวจประชากร 155,000 คน ชนะนกปรอดหัวโขนก้นเหลือง[30][31] นกปรากฏในตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยโจฮันเนสเบิร์ก และเป็นสัตว์สัญลักษณ์ของทีมกีฬาของมหาวิทยาลัยส่วนเมือง Armstedt ในประเทศเยอรมนี มีนกในตราสัญลักษณ์ของเมือง

การอนุรักษ์

เนื่องจากว่า อาหารหลายชนิดของนกเป็นสัตว์ทำลายพืช[32] ดังนั้น สปีชีส์นี้จึงได้รับการป้องกันจากฎหมายในหลายประเทศ[7]ในประเทศไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 จึงห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก ห้ามครอบครอง ห้ามเพาะพันธุ์ ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรัง การห้ามการครอบครองและการค้ามีผลไปถึงไข่และซาก[2]

แหล่งที่มา

WikiPedia: นกกะรางหัวขวาน http://www.iee.unibe.ch/cb/content/e7117/e7118/e87... http://books.google.com/books?id=wpM3AAAAIAAJ&pg=P... http://translate.google.com/translate?hl=en&sl=et&... http://ibc.lynxeds.com/species/hoopoe-upupa-epops http://ibc.lynxeds.com/video/hoopoe-upupa-epops/bi... http://www.sfgate.com/cgi-bin/object/article?o=1&f... http://www.ynetnews.com/articles/0,7340,L-3549637,... http://www.youtube.com/watch?v=G06qiyYtPyc http://www.sil.si.edu/smithsoniancontributions/Pal... http://sora.unm.edu/node/26294