ในวัฒนธรรมและสื่อ ของ นกกาเหว่า

ชื่อว่า "กาเหว่า" และชื่ออื่น ๆ อีกหลายภาษารวมทั้งชื่ออังกฤษว่า "koel" เป็นชื่อเลียนเสียงนกธาตุศัพท์ (รากศัพท์) ของภาษาสันสกฤตคือ "โกกิล" และคำที่ใช้ในภาษาอินเดียอื่น ๆ จะคล้าย ๆ กัน[8] เสียงดังไพเราะของนกคุ้นเคยกันดี จึงมีการพูดถึงนกในวรรณกรรมต่าง ๆ รวมทั้งนิทานพื้นบ้าน ตำนาน และกวีนิพนธ์[52][53] และเสียงเพลงของมันก็เป็นที่ยกย่อง[54] และเลื่อมใสในพระธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นกฎหมายโบราณที่อนุรักษ์นก[55] ในคัมภีร์พระเวทซึ่งเกิดก่อนคริสต์ศักราชประมาณ 2,000 ปี นกมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า "อญฺญวปฺป" ซึ่งแปลว่า "ที่เลี้ยงโดยสัตว์อื่น" (หรือหว่านให้คนอื่นเก็บเกี่ยว)[56]ซึ่งตีความว่า เป็นความรู้เก่าแก่ที่สุดว่านกเป็นปรสิต (วางไข่ให้นกอื่นเลี้ยง)[12][57] นกได้รับเลือกเป็นนกประจำเขตการปกครองปุทุจเจรีของประเทศอินเดีย[58][59]

กาลครั้งหนึ่ง ชาวอินเดียนิยมเลี้ยงนกในกรงแม้เลี้ยงด้วยข้าวสุก นกก็สามารถทนทานมีชีวิตถูกขังไว้ได้นานถึง 14 ปี[60]

ในนิทานพื้นบ้านของพม่า เล่าถึงสาเหตุที่นกกาเหว่าต้องออกไข่ให้นกตัวอื่นฟัก และนกเค้าแมวออกหากินในเวลากลางคืน ว่า นกเค้าแมวและนกกาเหว่าได้ทำสัญญากัน โดยมีอีกาเป็นผู้ค้ำประกันให้แก่นกเค้าแมว ต่อมานกเค้าแมวได้เบี้ยวสัญญาต่อนกกาเหว่า อีกาในฐานะผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชอบด้วยการฟักไข่และเลี้ยงดูลูกของนกกาเหว่านับตั้งแต่นั้น และนกเค้าแมวก็เปลี่ยนเวลาออกหากินจากกลางวันไปเป็นกลางคืนเพื่อไม่ให้อีกาตามตัวเจอ และถ้าหากเจอตัวกันในเวลากลางวันก็จะจิกตีทะเลาะวิวาทกันเสมอ ๆ[61]

ในคัมภีร์ศาสนาพุทธ

นกกาเหว่าตัวเมียที่มหาวิทยาลัยธากา ประเทศบังกลาเทศเสียงนกใน ประเทศสิงคโปร์วิดีโอแสดงนกตัวเมียส่งเสียงร้อง ให้สังเกตว่าร้องไม่เหมือนตัวผู้

ภาษาบาลีก็เรียกนกดุเหว่าว่า "โกกิล"[62](อ่านว่า โกกิละ) เช่นกัน โดยมักนิยมแปลเป็นภาษาไทยว่า "นกดุเหว่า"คัมภีร์พระไตรปิฎกและอรรถกถามักจะเปรียบเทียบเสียงนกดุเหว่ากับนกการเวกคือมีเสียงไพเราะมาก[63][64] และแสดงนกในที่ที่น่ารื่นรมย์เช่นในวิมานของเทพธิดาเป็นต้น[65]

พระพุทธเจ้าทรงแสดงนกเป็นอุทาหรณ์ในสุชาตาชาดกว่า เป็นสัตว์ที่ผู้อื่นรักใคร่เพราะมีวาจาไพเราะ[66]ในเรื่องนี้อรรถกถาจารย์อธิบายว่า เป็นเรื่องเนื่องกับการสอนนางสุชาดาสะใภ้ของอนาถบิณฑิกเศรษฐีผู้มีวาจาดุร้าย คือพระพุทธองค์ก็ได้ทรงสั่งสอนนางสุชาดาในชาติก่อน ๆ มาแล้วเช่นกัน และเป็นการยกนกดุเหว่าเทียบกับนกต้อยตีวิด (นกกระแตแต้แวด) ที่มีเสียงไม่น่าฟัง[67] คือทรงยกว่า

ธรรมดาสัตว์ทั้งหลายที่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ
มีเสียงอันไพเราะ น่ารักน่าชม แต่พูดจาหยาบกระด้าง
ย่อมไม่เป็นที่รักของใคร ๆ ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

พระองค์ (พระราชชนนีของพระโพธิสัตว์ผู้ในชาติหลังเป็นนางสุชาดา) ทรงทอดพระเนตรแล้วมิใช่หรือ
นกดุเหว่าสีดำตัวนี้มีสีไม่สวย ลายพร้อยไปทั้งตัว
แต่เป็นที่รักของสัตว์ทั้งหลายจำนวนมาก
เพราะร้องด้วยเสียงอันไพเราะ

เพราะฉะนั้นบุคคลควรพูดคำอันสละสลวย
คิดก่อนพูด พูดพอประมาณ ไม่ฟุ้งซ่าน
ถ้อยคำของผู้ที่แสดงเป็นอรรถเป็นธรรม
เป็นถ้อยคำอันไพเราะ เป็นถ้อยคำที่เป็นภาษิต[66]

ทรงแสดงนกเป็นอุทาหรณ์ในโกกิลชาดกว่า ผู้ที่พูดไม่ถูกกาละจะถูกทำร้ายเหมือนกับลูกนกถูกกา (ที่เป็นสัตว์ถูกเบียน) ทอดทิ้ง[68] คือ

เมื่อยังไม่ถึงเวลาที่จะพูด ผู้ใดพูดเกิน
กาลไป ผู้นั้นย่อมถูกทำร้ายดุจลูกนกดุเหว่า
ฉะนั้น.

มีดที่ลับคมดีแล้ว ดุจยาพิษอันร้ายแรง
หาทำให้ตกไปทันทีทันใด เหมือนวาจาทุพภาษิตไม่.

เพราะฉะนั้น บัณฑิตควรรักษาวาจาไว้
ทั้งในกาลควรพูดและไม่ควร ไม่ควรพูดให้
ล่วงเวลา แม้ในบุคคลผู้เสมอกับตน.

ผู้ใดมีความคิดเห็นเป็นเบื้องหน้า มี
ปัญญาเครื่องพิจารณาเห็นประจักษ์ พูดพอ
เหมาะในกาลที่ควรพูด ผู้นั้นย่อมจับศัตรูได้
ทั้งหมด ดุจครุฑจับนาคได้ ฉะนั้น.[68]

ทรงแสดงกุณาลชาดก ที่เป็นพญานกดุเหว่าเพื่อข่มความกระสันในผู้หญิงของภิกษุผู้เป็นพระญาติ 500 รูป ในชาดกนี้ มีทั้งนกดุเหว่าดำ และนกดุเหว่าลาย[69]ซึ่งเป็นลักษณะของนกดุเหว่าตัวผู้ตัวเมียดังที่กล่าวมาแล้ว

แหล่งที่มา

WikiPedia: นกกาเหว่า http://www.baanmaha.com/community/%E0%B8%99%E0%B8%... http://www.hindu.com/2007/04/21/stories/2007042103... http://ibc.lynxeds.com/species/common-koel-eudynam... http://www.oiseaux-birds.com/card-asian-koel.html http://besgroup.talfrynature.com/2008/12/15/does-a... http://www.zoologie.upol.cz/osoby/Grim/Grim_Ornith... http://dsal.uchicago.edu/cgi-bin/philologic/getobj... http://sora.unm.edu/sites/default/files/journals/a... http://sora.unm.edu/sites/default/files/journals/a... http://sora.unm.edu/sites/default/files/journals/c...