งานสร้าง ของ นาคี

นาคี ได้มีการถ่ายทำผ่านฉากบลูสกรีนโดยผ่านการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ กราฟิก (Computer Graphic) จากทีม Fatcat ที่สร้างผลงานด้านกราฟิกมาแล้วเรื่อง รากบุญ, มณีสวาท, บุรำปรัมปรา เข้ามาช่วยเสริมสร้างตัวงู, ตัวพญานาคหรือตัวงูเจ้าแม่นาคีรวมไปถึงสัตว์ประหลาดตัวอื่น ๆ ขึ้นมาให้เนียนและมีความสมจริงมากที่สุด [3]

รวมไปถึงละครเรื่องนี้ ได้ใช้สถานที่ท่องเที่ยวหรือแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมจากแต่ละภาคในประเทศไทยในการถ่ายทำละครอีกด้วย ซึ่งมีจังหวัดที่อยู่นอกเหนือจากกรุงเทพมหานครแล้วนั้นยังมีจังหวัดอื่น ๆ อีก จากภาคเหนือ, ภาคกลาง, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาทิ จังหวัดนครราชสีมา, จังหวัดบุรัรัมย์, จังหวัดกาญจนบุรี, จังหวัดชัยภูมิ, จังหวัดราชบุรี, จังหวัดอุทัยธานี, จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, จังหวัดนครนายก, จังหวัดสระบุรี, จังหวัดปทุมธานี เป็นต้น [4]

ด้านการแสดง ที่มีการเลือกใช้ภาษาอีสานทั้งเรื่องนั้น สรรัตน์ ผู้เขียนบท บอกถึงวัตถุประสงค์ว่า หวังจะให้คนดูกลับมาชื่นชมกับภูมิปัญญา และมองภาษาอีสานเป็นเรื่องทันสมัย ลบล้างทัศนคติเดิม ๆ ที่มองว่า พูดอีสานแล้วเป็นคนต่างจังหวัด ทำให้ใครก็ตามที่พูดอีสานแล้วไม่ฟังดูเชย ส่วนที่เลือกใช้ภาษาอีสานสำเนียงอุบล เนื่องจากมีคำกล่าวว่า สำเนียงนี้มีความอ่อนช้อย ไพเราะ[5] ในกองถ่ายจะมีครูแปลภาษาอีสานโดยเฉพาะ เพื่อแปลบทที่เป็นภาษากลาง ให้เป็นภาษาอีสาน พูดออกเสียงแล้วอัดใส่ที่อัดเสียง ส่งให้นักแสดงแต่ละคนฟัง แล้วท่องจำสำเนียงจนคุ้นหูก่อนจะเอามาพูดในฉากที่ต้องแสดง[6]