นาฏศิลป์ล้านนา

นาฏศิลป์ล้านนา หรือ ฟ้อนล้านนา เป็นศิลปะการแสดงทางภาคเหนือของประเทศไทย ปรากฏอยู่ในการฟ้อนประเภทต่าง ๆ รวมทั้งการแสดงที่มีความเข้มแข็ง หนักแน่นในแบบฉบับของการตีกลองสะบัดชัยและการตบมะผาบ การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือนอกจะมีลักษณะเป็นแบบพื้นเมืองเดิม ไทยลานนา ไทยใหญ่ เงี้ยวรวมถึงพม่า ผสมกันอยู่แล้ว ยังรวมถึงการแสดงของภาคกลางรวมอยู่ด้วยลักษณะการฟ้อนแบบพื้นเมืองเดิม เช่น ฟ้อนครัวทาน ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน เป็นต้น ลักษณะการฟ้อนที่ได้รับอิทธิพลจากชาติอื่น อาทิ พม่า ไทยใหญ่ เงี้ยว เช่น ฟ้อนไต ฟ้อนโต ฟ้อนเงี้ยว เป็นต้น ลักษณะการฟ้อนแบบคุ้มหลวง เป็นการฟ้อนที่เกิดขึ้นในคุ้มของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ซึ่งมีลักษณะการฟ้อนของภาคกลางผสมอยู่ เช่น ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา ฟ้อนน้อยใจยา เป็นต้นฟ้อนล้านนายุคดั้งเดิม พบหลักฐานจากวรรณกรรมต่าง ๆ ได้แก่ จามเทวีวงศ์ ของพระโพธิรังสี แต่งเมื่อปี พ.ศ. 2020[1] โคลงนิราศหริภุญชัย แต่งประมาณปี พ.ศ. 2000–2181[2] เทศน์มหาชาติ กัณฑ์มหาราช ฉบับ ไม้ไผ่แจ้เรียวแดง[3] และ ตำนานพื้นเมืองฉบับเชียงใหม่ 700 ปี ซึ่งระบุว่าใช้ฉบับวัดพระงาม จารเมื่อ พ.ศ. 2397 [4]

ใกล้เคียง

นาฏศิลป์ไทย นาฏศิลป์ล้านนา นาฏศิลป์ในประเทศกัมพูชา นาฏศิลป์ในประเทศลาว นาฏศิลป์ภาคใต้ นาศิก นาศิร อัลเคาะลัยฟี รายนามศิษย์เก่าจากโรงเรียนอัสสัมชัญ รายนามศิลปินสำนักการสังคีตกรมศิลปากร นาศิร อัชชัมรอนี