นิวเวฟ
นิวเวฟ

นิวเวฟ

นิวเวฟ (อังกฤษ: new wave music) เป็นแนวเพลงป็อปร็อกที่เกิดขึ้นในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 และกลางคริสต์ทศวรรษ 1980 ที่ผูกพันกับพังก์ร็อก โดยทั่วไปคำนี้มีความหมายเดียวกับพังก์ร็อก ก่อนที่จะรวมกับอิเล็กทรอนิกส์ ดนตรีทดลอง ม็อด ดิสโก้ และป็อป ต่อมานิวเวฟได้มีแนวเพลงย่อยได้แก่ นิวโรแมนติกและกอทิกร็อกในฐานะที่เป็นแนวเพลงที่ได้รวมเอามากจากเสียงของพังก์ร็อกที่เป็นต้นฉบับ และอุปนิสัยของชนกลุ่มน้อย เช่นเน้นเพลงในเวลาสั้นและเราะราน[6][8]แต่มันเป็นลักษณะซับซ้อนมากขึ้นในเพลงและเนื้อเพลงทั้ง ลักษณะทั่วไปของดนตรีนิวเวฟ นอกเหนือจากอิทธิพลของพังก์รวมถึงการใช้เครื่องสังเคราะห์เสียง และการผลิตแบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการจัดแต่งทรงผมและศิลปะหลากหลายขึ้น[9] ในฐานะที่คำว่านิวเวฟมักจะใช้เพื่ออธิบายเพลงซึ่งเป็นที่เล่นโวหารและพิสดาร ลวงและปรากฏที่หัวใจ ผสมผสานในการติดท่อนแบบไพเราะชัดเจน ในลักษณะรูปแบบของแนวเพลงนี้แตกต่างกันอย่างมากตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 ที่ช่วงเพลงร็อกกำลังฟื้นฟูในคริสต์ทศวรรษ 1960 รวมทั้งสกาและเร็กเก ไปยังถึงแนวเพลงซินธ์ป็อปซึ่งเน้นในเชิงเพลงแดนซ์[10]นิวเวฟถูกมองว่าเป็นหนึ่งในแนวเพลงที่ชัดเจนที่สุดในคริสต์ทศวรรษ 1980 ในเวลานั้นมันได้ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ต่อหลายศิลปินและกลุ่มวงดนตรีในเวลานั้นที่ถูกเรียกว่าเป็นวงนิวเวฟ แนวเพลงได้อยู่ประจำช่องเอ็มทีวี[9][10] และความนิยมมากของศิลปินนิวเวฟที่ได้รับการบันทึกเพียงบางส่วนต่อการเปิดเผยในช่องโทรทัศน์[10] แม้จะมีความสำเร็จเชิงพาณิชย์ในช่วงปี ค.ศ. 1980 ก็ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์[10] แนวเพลงเริ่มที่จะหายไปในราวปี ค.ศ. 1984 แต่ก็ไม่เคยหายไปจริง ๆ และได้รับการฟื้นตัวอย่างดีตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990 หลังจากที่ "มีความรู้สึกโหยหา" ต่อนิวเวฟที่ได้ถูกข้ามไปอย่างรวดเร็วและส่งผลให้มีอิทธิพลต่อหลายศิลปิน แนวเพลงได้รับการฟื้นฟูในปี ค.ศ. 1990 และต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 เล็กน้อย และกลายเป็นที่นิยมอีกครั้งในปี ค.ศ. 2004 ต่อมาแนวเพลงมีอิทธิพลต่อความหลากหลายแนวเพลงอื่น[11]

นิวเวฟ

รูปแบบอนุพันธุ์ Neue Deutsche Welle
เครื่องบรรเลงสามัญ เสียงร้อง - กีตาร์ - กีตาร์เบส - กลอง - คีย์บอร์ด
แหล่งกำเนิดทางวัฒนธรรม กลางถึงปลายทศวรรษที่ 1970 สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา
แหล่งกำเนิดทางรูปแบบ พังก์ร็อก อาร์ตร็อก[1][2] การาจร็อก แกลมร็อก ผับร็อก สกา เร็กเก ฟังก์ ดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ บับเบิลกัมป็อป[3][4] ดิสโก้[5][6][7]