นิเวศวิทยามนุษย์ ของ นิเวศวิทยา

ประวัติศาสตร์ของชีวิตบนโลกได้เป็นประวัติศาสตร์ของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตและสภาพแวดล้อมของพวกมัน ด้วยขอบเขตขนาดใหญ่รูปแบบทางกายภาพและนิสัยของพืชผักและชีวิตสัตว์ของโลกได้รับการหล่อหลอมจากสภาพแวดล้อม เมื่อพิจารณาจากช่วงทั้งหมดของเวลาโลก ผลกระทบในทางตรงกันข้ามในที่ซึ่งชีวิตปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมของมันได้จริงจะมีค่อนข้างเล็กน้อย เฉพาะภายในช่วงเวลาเท่านั้นที่ถูกแสดงออกโดยศตวรรษปัจจุบันมีหนึ่งสายพันธุ์คือมนุษย์ที่ได้รับพลังงานอย่างมีนัยสำคัญในการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติของโลกของเขา

ราเชล คาร์สัน "ฤดูใบไม้ผลิที่เงียบ"[191]

นิเวศวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์ทางชีวภาพมากเท่าๆกับวิทยาศาสตร์ของมนุษย์[3] นิเวศวิทยามนุษย์เป็นการสืบสวนแบบสหวิทยาการเข้าไปในนิเวศวิทยาของสายพันธุ์ของเรา "นิเวศวิทยามนุษย์อาจถูกกำหนดเป็น (1) จากมุมมองทางชีว-นิเวศเพื่อการศึกษามนุษย์ในฐานะที่เป็นผู้ที่มีอำนาจครอบงำทางนิเวศของชุมชนและระบบของทั้งพืชและสัตว์ (2) จากมุมมองทางชีว-นิเวศในแบบที่เป็นเพียงแค่ผลกระทบจากสัตว์ที่มีต่อสัตว์อื่นและการที่สัตว์ได้รับผลกระทบเนื่องจากสภาพแวดล้อมทางกายภาพของพวกมัน.. และ (3) เพียงแค่ความเป็นมนุษย์ ที่มีสักอย่างที่แตกต่างจากชีวิตสัตว์โดยทั่วไป การมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทั้งทางกายภาพและที่ผ่านการปรับปรุงในวิธีการที่โดดเด่นและสร้างสรรค์ นิเวศวิทยามนุษย์แบบสหวิทยาการที่แท้จริงจะบ่งบอกตัวเองได้มากที่สุดในทั้งสามแบบข้างต้น"[192]:3 คำว่านิเวศวิทยามนุษย์ได้รับการแนะนำอย่างเป็นทางการในปี 1921 แต่นักสังคมวิทยา นักภูมิศาสตร์ นักจิตวิทยาและสาขาอื่นๆ ให้ความสนใจในความสัมพันธ์ของมนุษย์กับระบบธรรมชาติในหลายศตวรรษก่อนหน้านี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปลายศตวรรษที่ 19[192][193]

ความซับซ้อนทั้งหลายทางนิเวศที่มนุษย์กำลังเผชิญอยู่ผ่านทางการแปลงทางเทคโนโลยีของ biome ของโลกได้เป็นสาเหตุให้เกิดยุค Anthropocene (ยุคหนึ่งในช่วงเวลาสำคัญในอดีตที่เริ่มขึ้นเมื่อกิจกรรมต่างๆของมนุษย์มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อระบบนิเวศของโลก) ชุดที่เป็นเอกลักษณ์ของสถานการณ์ทั้งหลายได้สร้างความจำเป็นสำหรับวิทยาศาสตร์แนวรวมใหม่ที่เรียกว่า'มนุษย์กับระบบธรรมชาติ' (อังกฤษ: coupled human and natural systems) ที่สร้างขึ้นบนสถานการณ์นั้น แต่เคลื่อนที่เกินจากสาขานิเวศวิทยาของมนุษย์[140] ระบบนิเวศผูกเข้ากับสังคมมนุษย์ผ่านทางหน้าที่การทำงานที่วิกฤตและครอบคลุมทั้งหมดของการสนับสนุนชีวิตที่พวกเขาค้ำจุนไว้ ในการรับรู้ของหน้าที่การทำงานเหล่านี้และความไม่สามารถของวิธีการประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจแบบดั้งเดิมที่จะเห็นค่าในระบบนิเวศ ได้มีการพุ่งขึ้นของการสนใจในทุนทางสังคมธรรมชาติซึ่งจัดหาวิธีการใส่มูลค่าในคลังและการใช้ข้อมูลและวัสดุอันเนื่องมาจากสินค้าและบริการของระบบนิเวศ ระบบนิเวศทำการผลิต ควบคุม บำรุงรักษา และให้ในสิ่งจำเป็นที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของมนุษย์ (ด้านกระบวนการการรับรู้และด้านสรีรวิทยา) เศรษฐกิจ, และแม้กระทั่งพวกมันยังจัดหาข้อมูลหรือฟังก์ชันอ้างอิงเป็นเหมือนห้องสมุดมีชีวิตที่ให้โอกาสสำหรับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และขบวนการการรับรู้ในเด็กที่มีส่วนร่วมในความซับซ้อนของโลกธรรมชาติ ระบบนิเวศเกี่ยวข้องอย่างสำคัญกับนิเวศวิทยามนุษย์เนื่องจากพวกมันเป็นรากฐานที่ดีที่สุดของเศรษฐกิจโลกในขณะที่ทุกสินค้าและความสามารถในการแลกเปลี่ยนในที่สุดเกิดจากระบบนิเวศบนโลก[140][194][195][196]

การฟื้นฟูและการจัดการ

การจัดการระบบนิเวศไม่ได้เป็นเพียงเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์หรือไม่เป็นเพียงการขยายการจัดการทรัพยากรแบบดั้งเดิม มันให้การสร้างกรอบใหม่ด้านพื้นฐานของวิธีการที่มนุษย์อาจทำงานร่วมกับธรรมชาติ

Grumbine (1994)[197]

นิเวศวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์ที่ถูกนำมาใช้ในการบูรณะซ่อมแซมสถานที่ที่ถูกปั่นป่วนโดยผ่านการแทรกแซงของมนุษย์ ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และในการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม Edward O. Wilson ได้คาดการณ์ไว้ในปี 1992 ว่าศตวรรษที่ 21 "จะเป็นยุคของการฟื้นฟูในนิเวศวิทยา"[198] วิทยาศาสตร์เชิงนิเวศน์ได้ขยายตัวอย่างมากในการลงทุนอุตสาหกรรมในการฟื้นฟูระบบนิเวศและกระบวนการทั้งหลายของระบบเหล่านี้เพื่อละทิ้งสถานที่เหล่านั้นหลังจากการฟื้นฟู ผู้จัดการทรัพยากรธรรมชาติในป่าไม้เป็นตัวอย่างที่ว่าจ้างนักนิเวศวิทยาเพื่อพัฒนา ปรับตัว และดำเนินการในวิธีการที่มีพื้นฐานจากระบบนิเวศให้เป็นการวางแผน การดำเนินงาน และขั้นตอนการฟื้นฟูของการใช้ประโยชน์ที่ดิน วิทยาศาสตร์เชิงนิเวศน์จะถูกใช้ในวิธีการของการเก็บเกี่ยวแบบอย่างยั่งยืน การจัดการของโรคและการระบาดของไฟป่า ในการจัดการปริมาณปลาในการประมง สำหรับการบูรณาการการใช้ที่ดินที่มีการป้องกันพื้นที่และชุมชน และการอนุรักษ์ในภูมิทัศน์ทางภูมิศาสตร์-การเมืองที่ซับซ้อน[40][197][199][200]

แหล่งที่มา

WikiPedia: นิเวศวิทยา http://163.238.8.180/~fburbrink/Courses/Seminar%20... http://www.tecniflora.com.br/1_-_Guidelines_commod... http://myweb.dal.ca/br238551/thompson_hem_star_shu... http://books.google.ca/books?id=1bYSnG7RITAC&print... http://books.google.ca/books?id=HeR1l0V0r54C&print... http://books.google.ca/books?id=ZSqehqH-qTYC&print... http://books.google.ca/books?id=xsjDp8jK3-AC&print... http://webpages.mcgill.ca/staff/Group3/gmikke/web/... http://www.mun.ca/biology/dschneider/Publications/... http://www.mun.ca/biology/igamberdiev/PhotosRes_CO...