นีกอลา_เลออนาร์_ซาดี_การ์โน
นีกอลา_เลออนาร์_ซาดี_การ์โน

นีกอลา_เลออนาร์_ซาดี_การ์โน

นีกอลา เลออนาร์ ซาดี การ์โน (ฝรั่งเศส: Nicolas Léonard Sadi Carnot; 1 มิถุนายน ค.ศ. 1796 - 24 สิงหาคม ค.ศ. 1832) เป็นนักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส และนายช่างวิศวกรประจำกองทัพ ซึ่งคิดค้นทฤษฎีเครื่องจักรความร้อนได้สำเร็จจริง จากงานวิจัยเรื่อง Reflections on the Motive Power of Fire ในปี ค.ศ.1824 ปัจจุบันทฤษฎีนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ "วัฏจักรการ์โน" เป็นผู้วางรากฐานกฎข้อที่สองของเทอร์โมไดนามิกส์ หรืออาจกล่าวได้ว่าเขาเป็นนักอุณหพลศาสตร์คนแรกของโลก ซึ่งคิดค้นหลักการพื้นฐานต่าง ๆ มากมายเช่น ประสิทธิภาพการ์โน ทฤษฎีการ์โน เครื่องจักรความร้อนการ์โน เป็นต้นการ์โนเกิดในกรุงปารีส เป็นบุตรชายคนโตของนักเรขาคณิตและนายทหารผู้มีชื่อเสียง คือ ลาซาร์ นีกอลา มาร์เกอริต การ์โน (Lazare Nicholas Marguerite Carnot) น้องชายของเขาคือ อีปอลิต การ์โน (Hippolyte Carnot) ซึ่งเป็นบิดาของมารี ฟร็องซัว ซาดี การ์โน (Marie François Sadi Carnot ประธานาธิบดีของสาธารณรัฐฝรั่งเศส ระหว่างปี ค.ศ.1887-1894) เมื่อการ์โนอายุ 16 ปี (ค.ศ. 1812) ได้เข้าศึกษาที่วิทยาลัยโพลีเทคนิค École ที่ซึ่งมีอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงเช่น ซีเมอง เดอนี ปัวซง (Siméon Denis Poisson) และอ็องเดร-มารี อ็องแปร์ (André-Marie Ampère) หลังจบการศึกษาเขาได้เป็นนายทหารในกองทัพบกฝรั่งเศส ต่อมาจึงได้ให้ความสนใจในงานวิจัยทางด้านฟิสิกส์ โดยเฉพาะทฤษฎีเกี่ยวกับความร้อน ปี ค.ศ.1815 หลังจากนโปเลียนถูกโค่นอำนาจ พ่อของเขาก็ต้องลี้ภัย การ์โนต้องออกจากกองทัพฝรั่งเศส และใช้เวลาไปกับการวิจัยและเขียนหนังสือการ์โนเผยแพร่บทความเรื่อง Réflexions sur la puissance motrice du feu ("Reflections on the Motive Power of Fire") ในปี ค.ศ.1824 ขณะอายุ 28 ปี ซึ่งเป็นยุคเครื่องจักรไอน้ำเฟื่องฟู บทความอธิบายถึงเครื่องจักรความร้อนในลักษณะต่างๆ โดยพยายามอธิบายเหตุผลว่า เครื่องจักรไอน้ำที่ใช้ไอน้ำความร้อนสูงจะทำงานได้ดีกว่าเนื่องจากอุณหภูมิของระบบที่สูงกว่าอุณหภูมิภายนอก ทฤษฎีของการ์โนไม่ได้ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่องจักรไอน้ำ มันจึงไม่ค่อยได้รับความสนใจนัก การ์โนเสียชีวิตจากอหิวาตกโรคเมื่อปี ค.ศ. 1832 ขณะอายุเพียง 36 ปี เครื่องใช้ส่วนตัวรวมทั้งงานเขียนของเขาถูกนำไปฝังทั้งหมดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ จึงเหลืองานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ปรากฏต่อมาในปัจจุบันเพียงเล็กน้อยเท่านั้นงานเขียนของการ์โนเป็นที่รู้จักขึ้นมาเนื่องจากเอมีล กลาแปรง (Émile Clapeyron) นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส นำไปปรับปรุงต่อยอดความคิดในปี ค.ศ.1834 หลังจากนั้น เคลาซิอุสและเคลวิน ได้พัฒนาแนวคิดเรื่องเอนโทรปีและกฎข้อที่สองของเทอร์โมไดนามิกส์ ออกมาในที่สุด

ใกล้เคียง

นีกอลา ซาร์กอซี นีกอลา อาแนลกา นีกอลาเอ ชาวูเชสกู นีกอลา เปเป นีกอลา กรูแอฟสกี นีกอลา เดอ ลาร์ฌีลีแยร์ นีกอลา ปูแซ็ง นีกอลา บูร์บากี นีกอลา แฌ็สเกียร์ นีกอลา ฟาซีโย เดอ ดุยเย