ประวัติ ของ น้ำมันคาโนลา

ที่มา

ไร่คาโนลาในรัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย

ชื่อภาษาอังกฤษว่า rapeseed มาจากคำละตินว่า rapum ซึ่งหมายถึง หัวผักกาดพืช Brassica rapa (turnip), Brassica napobrassica (rutabaga), Brassica oleracea (cabbage) และ Brassica oleracea (Brussels sprouts) ต่างก็เป็นญาติทางกรรมพันธุ์ของผักกาดก้านขาวซึ่งล้วนอยู่ในสกุล Brassicaพืชสกุลนี้ซึ่งเลี้ยงเพื่อใช้เมล็ดทำน้ำมัน เป็นพืชเก่าแก่ที่สุดซึ่งมนุษย์ปลูก โดยมีหลักฐานการใช้ในอินเดียเมื่อ 4,000 ปีก่อน และในจีนและญี่ปุ่นเมื่อ 2,000 ปีก่อน[2]และได้ใช้ในยุโรปเหนือเพื่อเป็นน้ำมันตะเกียงตั้งแต่คริสต์ทศวรรษที่ 13[3]แต่ก็จำกัดจนกระทั่งเริ่มใชัพลังงานไอน้ำ ที่ช่างพบว่า น้ำมันผักกาดก้านขาวเคลือบโลหะที่น้ำและไอน้ำวิ่งผ่านได้ดีกว่าน้ำมันหล่อลื่นอื่น ๆ [ต้องการอ้างอิง]

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ความต้องการสำหรับเป็นน้ำมันหล่อลื่นในเครื่องยนต์ไอน้ำโดยเฉพาะในกองทัพเรือและในเรือพาณิชย์ ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว[ต้องการอ้างอิง]เมื่อสงครามทำให้ไม่สามารถนำเข้าน้ำมันผักกาดก้านขาวจากยุโรปหรือเอเชียแล้วเกิดวิกฤติขาดแคลน แคนาดาจึงเริ่มขยายปลูกผักกาดก้านขาวที่เคยมีจำกัดมาก่อนน้ำมันเริ่มวางตลาดในปี 1956-1957 เป็นผลิตภัณฑ์อาหาร แต่ก็ไม่ได้การยอมรับจากผู้บริโภคเพราะมีคุณลักษณะที่ใช้ไม่ได้หลายอย่างคือมีรสแปลก มีสีออกเขียว ๆ เพราะมีคลอโรฟิลล์ซึ่งไม่น่าพึงใจและยังมีกรดอีรูซิกมากซึ่งอาจมีผลลบต่อสุขภาพ

ดอกผักกาดก้านขาว (คาโนลา)

นักวิทยาศาสตร์ชาวแคนาดาได้เพาะคาโนลาจากพันธุ์ปลูกของผักกาดก้านขาว คือ B. napus และ B. rapa ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1970[4][5]ซึ่งมีกรดอีรูซิกน้อยกว่ามากแต่ก็มีสารอาหารที่ต่างกับน้ำมันทุกวันนี้[6]ดั้งเดิมแล้ว คำว่าคาโนลาเป็นชื่อเครื่องหมายการค้าของสมาคมผักกาดก้านขาวแห่งแคนาดา (Rapeseed Association of Canada) โดยชื่อมาจากคำย่อ "Can" (Canada) และ "ola" คล้ายกับชื่อน้ำมันพืชบางอย่างเช่น Mazola[7][8]แต่ปัจจุบันเป็นชื่อสามัญสำหรับน้ำมันผักกาดก้านขาวที่ทานได้ทั้งในอเมริกาเหนือและออสเตรเลียการเปลี่ยนชื่อก็เพื่อให้ต่างกับน้ำมันธรรมชาติซึ่งมีกรดอีรูซิกมากกว่า

บริษัทมอนซานโต้แคนาดาได้วางตลาดคาโนลาที่ผ่านพันธุวิศวกรรมเพื่อให้ทนสารกำจัดวัชพืช Roundup ได้ในปี 1995 (คือ Roundup Ready canola)โดยพันธุ์ที่พัฒนาขึ้นในปี 1998 จัดว่าทนโรคและความแห้งแล้งได้ดีที่สุดเท่าที่เคยทำในปี 2009 คาโนลา 90% ในแคนาดาเป็นแบบทนสารกำจัดวัชพืช[9]ในปี 2005 คาโนลา 87% ในสหรัฐเป็นพืชดัดแปรพันธุกรรม[10]

งานศึกษาปี 2010 ในรัฐนอร์ทดาโคตาพบทรานส์ยีน (transgene) ในผักกาดก้านขาวตามธรรมชาติถึง 80% ที่ทนสารกำจัดวัชพืชไกลโฟเสตหรือกลูโฟซิเนต (glufosinate) โดยมีพืชส่วนน้อยที่ทนทั้งสองอย่างการกระจายพันธุ์ของพืชแปรพันธุกรรมไปยังธรรมชาติเช่นนี้ทำให้เป็นห่วงว่า ความดื้อสารกำจัดวัชพืชของคาโนลาที่ไม่ได้เพาะปลูกอาจทำให้กำจัดพืชเหล่านี้ได้ยากนักวิจัยผู้หนึ่งเห็นด้วยว่า กลุ่มพืชที่ทนยาตามธรรมชาติอาจเกิดหลังจากเมล็ดดัดแปลงพันธุกรรมได้ร่วงลงจากรถบรรทุกที่ใช้ขนส่งแต่เธอก็ให้ข้อสังเกตด้วยว่า จำนวนคาโนลาดัดแปลงพันธุกรรมที่พบอาจมีอคติเพราะชักตัวอย่างแต่ข้าง ๆ ทางเดินรถ[11]

ในปี 2011 ในบรรดาคาโนลา 31 ล้านเฮกตาร์ที่ปลูกทั่วโลก 26% เป็นพืชดัดแปลงพันธุกรรม[12]

การผลิตน้ำมันผักกาดก้านขาว
ในปี 2014
ประเทศ (ตัน)
 จีน5,702,700
 เยอรมนี3,540,557
 แคนาดา3,116,100
 อินเดีย2,473,000
 ฝรั่งเศส1,914,600
 ญี่ปุ่น1,073,881
ทั่วโลก25,944,831
แหล่งข้อมูล: เว็บไซท์ FAOSTAT ของสหประชาชาติ[13]

การผลิตและการค้า

ในปี 2014 การผลิตน้ำมันผักกาดก้านขาวทั่วโลกอยู่ที่ 26 ล้านตัน นำโดยประเทศจีน เยอรมนี และแคนาดา ซึ่งรวม ๆ กันผลิตน้ำมัน 47% ของทั้งโลก[13]แต่แคนาดาเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่สุดในปี 2016 โดยส่งออกที่ 2.9 ล้านตันหรือ 94% ของผลผลิต[13]ราคาเปรียบเทียบของการซื้อขายคาโนลาทั่วโลกกำหนดโดยสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ตลาดตราสารอนุพันธ์ ICE Futures Canada[14]

การควบคุมสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม (จีเอ็มโอ)

มีรูปแบบพืชดัดแปลงพันธุกรรมหลายอย่าง เช่น ที่ทนสารกำจัดวัชพืชไกลโฟเสตหรือกลูโฟซิเนต (glufosinate) ได้ และที่ให้น้ำมันคาโนลาซึ่งมีคุณสมบัติต่าง ๆ กันการควบคุมจะต่างกันในประเทศต่าง ๆยกตัวอย่างเช่น คาโนลาที่ทนไกลโฟเสตได้รับอนุญาตในประเทศออสเตรเลีย แคนาดา จีน ญี่ปุ่น เกาหลี เม็กซิโก ฟิลิปปินส์ และสหรัฐ ในขณะที่พันธุ์ยี่ห้อ Laurical ซึ่งให้น้ำมันในรูปแบบอื่น ๆ ได้อนุญาตเพียงในแคนาดาและสหรัฐ[15]

ในปี 2003 องค์กรควบคุมเทคโนโลยียีนของออสเตรเลียได้อนุมัติให้ปลูกคาโนลาดัดแปลงพันธุกรรมแบบทนสารกำจัดวัชพืชคือ กลูโฟซิเนตแอมโมเนียม (glufosinate ammonium, DL-Phosphinothricin)[16]ซึ่งสร้างความขัดแย้งพอสมควร[17]คาโนลาเป็นพืชผลที่ปลูกมากเป็นอันดับสามในออสเตรเลีย โดยชาวนาข้าวสาลีบ่อยครั้งปลูกเป็นพืชสับเปลี่ยนเพื่อปรับปรุงคุณภาพดินในปี 2008 พืชดัดแปลงพันธุกรรมที่ปลูกในออสเตรเลียรวมคาโนลา ฝ้าย และคาร์เนชัน (Dianthus caryophyllus)[18][19]

คดีจีเอ็มโอ

คาโนลาดัดแปลงพันธุกรรมได้กลายเป็นเรื่องสร้างความขัดแย้งและคดีในศาลในคดีดังคือคดีระหว่างบริษัทมอนซานโต้แคนาดากับชไมเซอร์ บริษัทได้ฟ้องนายชไมเซอร์ฐานละเมิดสิทธิบัตรหลังจากเขาได้ปลูกเมล็ดพืชที่เก็บได้จากไร่ของตนเอง ซึ่งเขาได้พบว่ามีคาโนลาทนไกลโฟเสตที่อยู่ใต้สิทธิบัตรของบริษัทเมื่อพ่นยาใส่พืชแล้วจึงเหลือแต่ต้นที่ทนยาศาลสูงสุดได้ตัดสินว่า นายชไมเซอร์ได้ละเมิดสิทธิบัตรของบริษัทเพราะปลูกพืชทนยาที่ได้เก็บทั้งที่รู้ แต่ไม่ได้ให้จ่ายค่าเสียหายแก่บริษัทเพราะเขาไม่ได้ผลกำไรจากการเพาะปลูกในปี 2008 บริษัทได้ตกลงยอมเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 20,500 บาท เพื่อเก็บกวาดพืชปนเปื้อนในไร่ของนายชไมเซอร์[20]

ไบโอดีเซล

ดูบทความหลักที่: ไบโอดีเซล

ยุโรปได้ลงทุนเป็นจำนวนมากเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานให้ใช้น้ำมันคาโนลาเป็นไบโอดีเซล โดยได้แรงกระตุ้นจากนโยบายไบโอดีเซลของสหภาพยุโรป[21]

แหล่งที่มา

WikiPedia: น้ำมันคาโนลา http://www.afaa.com.au/resource_guides/Resource_Ca... http://www.smh.com.au/articles/2003/04/01/10489627... http://www.theage.com.au/articles/2003/10/24/10669... http://www.foodstandards.gov.au/publications/docum... http://www.ogtr.gov.au/internet/ogtr/publishing.ns... http://www.abc.net.au/rural/news/stories/s806013.h... http://www.abc.net.au/rural/vic/content/2005/s1454... http://publications.gc.ca/collections/Collection/A... http://publications.gc.ca/collections/collection_2... http://www.ontariocanolagrowers.ca/Publications/di...