คุณภาพและปัญหาของอาหารเสริม ของ น้ำมันปลา

น้ำมันปลาเป็นอาหารเสริมที่สามัญ โดยมียอดขายถึง 976 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2009 (ประมาณ 33,500 ล้านบาท) ในสหรัฐประเทศเดียว[49]นักวิจัยอิสระได้พบปัญหาคุณภาพของอาหารเสริมที่มีน้ำมันปลาและน้ำมันสัตว์ทะเลอื่น ๆรวมทั้งสิ่งปนเปื้อน, การระบุค่า EPA และ DHA ที่ไม่ถูกต้อง, น้ำมันเสีย และปัญหาสูตรยา[50]

สิ่งปนเปื้อน

ปลาอาจสะสมสารพิษต่าง ๆ รวมทั้งปรอท, dioxin และ PCB โดยน้ำมันปลาที่เสียก็อาจสร้างเปอร์ออกไซด์ (peroxide) เอง[51]แม้สิ่งปนเปื้อนจากจุลชีพ, โปรตีน, lysophospholipid, คอเลสเตอรอล และไขมันทรานส์ดูจะเสี่ยงน้อย[52]

dioxin และ PCB

dioxin และ PCB อาจก่อมะเร็งแม้ได้รับเพียงแค่น้อย ๆ ในระยะยาวสารเหล่านี้ปกติจะแยกวัดเป็นสองกลุ่ม คือ PCB ที่คล้าย dioxin และ PCB ทั้งหมดแม้องค์กรอาหารและยาสหรัฐ (FDA) จะไม่ได้จำกัด PCB ในอาหารเสริม แต่องค์กร EPA และ DHA โลก (GOED) ก็ได้ตั้งแนวทางไม่ให้มี PCB คล้าย dioxin เกิน 3 พิโกกรัมต่อน้ำมันปลาแต่ละกรัมในปี 2012 มีการวัดค่า PCB จากตัวอย่างอาหารเสริมเป็นน้ำมันปลา 35 ตัวอย่างซึ่งพบ PCB ปริมาณน้อย (trace) ในตัวอย่างทั้งหมด โดยตัวอย่าง 2 ตัวอย่างมีระดับเกินกำหนดของ GOED[53]แม้การได้รับ PCB ปริมาณน้อยจะเพิ่มปริมาณการได้รับสารทั้งหมด แต่บริษัท Consumerlab.com (ซึ่งตรวจสอบผลิตภัณฑ์อาหารและสุขภาพ และได้รายได้จากค่าสมาชิก โปรแกรมการรับรอง การอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ การอนุญาตให้พิมพ์ใหม่ และการโฆษณา) ก็อ้างว่า ปริมาณที่พบในผลิตภัณฑ์ซึ่งตรวจสอบก็ยังน้อยกว่าที่พบในการทานปลาธรรมดาเพียงที่เดียวโดยน้อยกว่ามาก[53]

การเสีย

น้ำมันปลาที่เสียอาจสร้างเปอร์ออกไซด์งานศึกษาหนึ่งที่รัฐบาลนอร์เวย์จ้างทำสรุปว่า มีเรื่องน่าเป็นห่วงทางสุขภาพบางอย่างถ้าทานน้ำมันปลา/สัตว์ทะเลที่เหม็นหืนแล้ว (คือเกิดออกซิไดซ์แล้ว) โดยเฉพาะที่ทางเดินอาหาร แต่ก็ยังไม่มีข้อมูลพอเพื่อกำหนดความเสี่ยงโดยเฉพาะ ๆ ปริมาณที่เสียและการปนเปื้อนในอาหารเสริมจะขึ้นอยู่กับวัตถุดิบ กระบวนการสกัด กลั่น เพิ่มความเข้มข้น ใส่แคปซูล เก็บ และขนส่ง[52]ConsumerLab.com รายงานว่า พบผลิตภัณฑ์น้ำมันปลาที่เสียเป็นบางส่วน[53]

ปริมาณ EPA และ DHA

ตามการทดสอบของ ConsumerLab ความเข้มข้นของ EPA และ DHA ในอาหารเสริมอาจอยู่ในระหว่าง 8-80% ของน้ำมันปลาโดยขึ้นอยู่กับแหล่งกรดไขมันโอเมกา-3 กับการแปรรูป และส่วนผสมอื่น ๆ ในอาหารเสริม[53]รายงานปี 2012 อ้างว่า อาหารเสริม 4 ชนิดจาก 35 ชนิดที่ทดสอบมีEPA หรือ DHA น้อยกว่าที่ติดป้าย และอาหารเสริม 3 ชนิดจาก 35 ชนิดมีมากกว่า[53]ส่วนรายงานปี 2010 อ้างว่า อาหารเสริมเป็นน้ำมันปลา 3 ชนิดจาก 24 ชนิดที่ทดสอบมี EPA และ/หรือ DHA น้อยกว่าที่ติดป้าย[49]แต่ความพร้อมใช้ทางชีวภาพ (bioavailability) ของ EPA และ DHA พบว่าสูงทั้งในแบบบรรจุเป็นแคปซูลหรือขายเป็นน้ำมัน[54]

สูตร

น้ำมันปลาเป็นอาหารเสริมมีขายทั้งแบบแคปซูลและแบบน้ำแคปซูลบางอย่างเคลือบพิเศษ (enteric-coated) เพื่อให้ผ่านกระเพาะอาหารไปแล้วละลายในลำไส้เล็ก ซึ่งช่วยไม่ให้เกิดอาการอาหารไม่ย่อยหรือเรอเป็นกลิ่นปลาแต่ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตไม่ดีก็ยังมีโอกาสปล่อยส่วนผสมก่อนควรConsumerLab รายงานว่า อาหารเสริมแคปซูลซึ่งเคลือบพิเศษที่บริษัทได้ทดสอบ 1 ใน 24 อย่างปล่อยส่วนผสมก่อนควร[49]

แหล่งที่มา

WikiPedia: น้ำมันปลา http://www.nutrasource.ca/ifos/ http://www.consumerlab.com/news/fish_oil_supplemen... http://www.consumerlab.com/results/index.asp http://www.fatsoflife.com http://www.foodproductiondaily.com/news/ng.asp?n=6... http://abcnews.go.com/GMA/ConsumerNews/truth-fish-... http://www.ifosprogram.com/IFOS/default.aspx http://archinte.jamanetwork.com/article.aspx?artic... http://well.blogs.nytimes.com/2015/03/30/fish-oil-... http://www.omega-3centre.com/sources_long_chain.ht...