ผลต่อสุขภาพ ของ น้ำมันปลา

น้ำมันตับปลากับสารสกัดมอลต์ (Kepler Cod Liver Oil with Malt Extract)

คำแนะนำต่าง ๆ

สมาคมหัวใจอเมริกัน (AHA) เขียนจดหมายปี 2009 แนะนำในเรื่องการแก้แนวทางอาหารของคนอเมริกันให้ทาน EPA และ DHA 250-500 มก./วัน[26]ซึ่งก็แก้อีกระหว่างปี 2015-2020ซึ่งแนะนำให้ทานปลาหลายชนิดอย่างน้อย 227 กรัมต่ออาทิตย์ โดยให้มี EPA + DHA อย่างน้อย 250 มก./วัน[ต้องการอ้างอิง]ส่วนองค์กรอาหารและยา (FDA) แนะนำไม่ให้ทาน EPA + DHA เกิน 3 กรัมต่อวันจากแหล่งทั้งหมด โดยไม่เกิน 2 กรัมต่อวันจากอาหารเสริม[27]

มะเร็งต่อมลูกหมาก

ผลของการทานน้ำมันปลาต่อมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นเรื่องยังไม่ยุติ[28][29]คืองานหนึ่งพบความเสี่ยงที่ลดลงเมื่อมีระดับ DPA (Docosapentaenoic acid) ในเลือดสูงเทียบกับอีกงานหนึ่งที่พบความเสี่ยงเพิ่มสำหรับคนไข้มะเร็งต่อมลูกหมากที่โตเร็วกว่าปกติเมื่อมีระดับ EPA+DHA ในเลือดสูง[30]หลักฐานบางส่วนชี้ว่า ระดับกรดไขมันโอเมกา-3 สูงในเลือดสัมพันธ์กับความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากที่สูงขึ้น[31]

โรคหัวใจร่วมหลอดเลือด

หลักฐานไม่สนับสนุนข้ออ้างว่า อาหารเสริมคือน้ำมันปลาช่วยป้องกันกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดหรือโรคหลอดเลือดสมอง[3][4][5][6]ในปี 2007 สมาคมหัวใจอเมริกัน (AHA) แนะนำให้ทานน้ำมันปลา 1 กรัมต่อวัน โดยทานปลาเองจะดีกว่า สำหรับคนไข้โรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ แต่เตือนหญิงมีครรภ์หรือเลี้ยงบุตรด้วยนมให้เลี่ยงทานปลาหลายอย่างรวมทั้งปลาแมกเคอเรล ฉลาม และกระโทงดาบ เพราะอาจมีสารปนเปื้อนคือปรอท[32]

สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (สหรัฐอเมริกา) บ่งเหตุ 3 อย่างแรกสุดที่แนะนำให้ทานน้ำมันปลาและกรดไขมันโอเมกา-3 จากแหล่งอื่น ๆ เหตุรวมทั้งมีไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง (hypertriglyceridemia), เพื่อป้องกันโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด และมีความดันโลหิตสูงแล้วบ่งเหตุอีก 27 อย่างที่มีหลักฐานสนับสนุนน้อยกว่าแล้วยังระบุความเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัย คือ การทานกรดไขมันโอเมกา-3 สามกรัมต่อวันหรือมากกว่านั้นอาจเพิ่มความเสี่ยงเลือดออก แม้จะมีหลักฐานน้อยมากในเรื่องนี้ถ้าใช้ในขนาดน้อยการทานน้ำมันปลา/กรดไขมันโอเมกา-3 มาก ๆ อาจเพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองโดยตกเลือด (hemorrhagic stroke)[12]

มีหลักฐานบ้างว่า น้ำมันปลาอาจมีผลดีต่อหัวใจเต้นผิดจังหวะบางอย่าง[33][34]แต่งานวิเคราะห์อภิมานปี 2012 ก็ไม่พบผลที่มีนัยสำคัญ[35]

งานวิเคราะห์อภิมานปี 2008 ไม่พบว่า อาหารเสริมคือน้ำมันปลามีผลป้องกันต่อคนไข้โรคหัวใจแบบหัวใจห้องล่างเสียจังหวะ (ventricular arrhythmia)[36]งานวิเคราะห์อภิมานปี 2012 ที่พิมพ์ในวารสารแพทย์ JAMA และตรวจดูงานศึกษา 20 งานรวมคนไข้ 68,680 คน พบว่า อาหารเสริมคือกรดไขมันโอเมกา-3 ไม่ลดความเสี่ยงตายทั่วไป ความเสี่ยงตายเพราะหัวใจ หรือความเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดหรือโรคหลอดเลือดสมอง[37]

ความดันโลหิตสูง

มีงานทดลองในมนุษย์บ้างที่ได้สรุปว่า การทานกรดไขมันโอเมกา-3 ลดความดันโลหิตได้เล็กน้อย โดย DHA อาจมีประสิทธิภาพดีกว่า EPAแต่เพราะกรดไขมันโอเมกา-3 อาจเพิ่มความเสี่ยงเลือดออก จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนจะทานอาหารเสริม[38]

สุขภาพจิต

งานปริทัศน์เป็นระบบแบบคอเคลนปี 2008 พบว่าข้อมูลยังมีจำกัดงานศึกษาหนึ่งที่เข้าเกณฑ์การปริทัศน์แสดงว่า กรดไขมันโอเมกา-3 มีประสิทธิผลเป็นการรักษาเสริม (adjunctive therapy) สำหรับคราวซึมเศร้า แต่ไม่มีผลต่อคราวคลั่ง/สุข (manic symptom) ในโรคอารมณ์สองขั้วผู้ทำงานปริทัศน์เห็นว่า การเพิ่มงานทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (RCT) จำเป็นอย่างยิ่ง[39]

งานวิเคราะห์อภิมานปี 2009 พบว่า คนไข้ที่ทานอาหารเสริมคือกรดไขมันโอเมกา-3 ที่มีอัตราส่วน EPA:DHA สูงกว่ามีอาการซึมเศร้าน้อยกว่างานศึกษาได้ให้หลักฐานว่า EPA อาจมีประสิทธิผลดีกว่า DHA เพื่อรักษาโรคซึมเศร้าแต่งานวิเคราะห์ก็ได้สรุปว่า เพราะข้อจำกัดที่ได้ระบุเกี่ยวกับงานที่ตรวจ จึงต้องมีการทดลองแบบสุ่มขนาดใหญ่กว่าเพื่อยืนยันสิ่งที่พบเหล่านี้[40]

งานวิเคราะห์อภิมานปี 2011 ที่ตรวจบทความของ PubMed เรื่องน้ำมันปลากับโรคซึมเศร้าระหว่างปี 1965-2010 พบว่า "ประสิทธิผลการรักษาที่พบเกือบทั้งหมดในงานวรรณกรรมที่ตีพิมพ์อาจมาจากความเอนเอียงในการตีพิมพ์"[41]

งานวิเคราะห์อภิมานปี 2014 ที่ตรวจการทดลอง 11 งาน ซึ่งศึกษาคนไข้โรคซึมเศร้า (MDD) ตามเกณฑ์วินิจฉัยของคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (DSM) และการทดลอง 8 งานที่มีอาการซึมเศร้าแต่ไม่ได้วินิจฉัยว่าเป็น MDD พบประโยชน์ของกรดไขมันโอเมกา-3 เพื่อรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางคลินิกเทียบกับยาหลอกจึงสรุปว่า การใช้กรดไขมันโอเมกา-3 มีประสิทธิผลสำหรับคนไข้ที่ได้วินิจฉัยว่าเป็น MDD และคนไข้ที่มีอาการซึมเศร้าแม้ไม่ได้วินิจฉัยว่าเป็น MDD[42]

โรคอัลไซเมอร์

งานวิเคราะห์อภิมานแบบคอเคลนปี 2012 ไม่พบผลป้องกันที่มีนัยสำคัญต่อการเสื่อมสมรรถภาพทางความคิดอ่าน/ทางประชาน (cognitive decline) สำหรับผู้มีอายุ 60 ปีหรือมากกว่าที่เริ่มทานกรดไขมันหลังถึงอายุนักวิจัยของงานให้สัมภาษณ์กับนิตยสารไทม์ว่า "ผลวิเคราะห์ของเราแสดงว่า ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานว่า อาหารเสริมคือกรดไขมันโอเมกา-3 มีประโยชน์ต่อความจำหรือสมาธิในเบื้องปลายแห่งชีวิต"[43]

โรคสะเก็ดเงิน

อาหารที่เสริมด้วยน้ำมันตับปลาคอด (cod liver oil) มีประโยชน์ต่อโรคสะเก็ดเงิน[44]งานศึกษาที่ไม่มีกลุ่มควบคุมแสดงนัยว่า คนไข้โรคสะเก็ดเงินหรือคนไข้ข้ออักเสบที่เกิดกับสะเก็ดเงินอาจได้ประโยชน์จากน้ำมันปลาที่มี eicosapentaenoic acid (EPA) และ docosahexaenoic acid (DHA) มาก[45]

การตั้งครรภ์

งานศึกษาบางงานรายงานว่ามีพัฒนาการทางประชานและการเคลื่อนไหว (psychomotor) ที่ดีกว่าของทารกอายุ 30 เดือนที่มารดาทานอาหารเสริมเป็นน้ำมันปลาในช่วง 4 เดือนแรกของการผลิตนม[46]อนึ่ง เด็ก 5 ขวบที่มารดาทานอาหารเสริมเป็น DHA ที่ได้จากสาหร่ายในช่วง 4 เดือนแรกที่ให้นมสอบได้คะแนนดีกว่าในเรื่องการใส่ใจอย่างต่อเนื่องซึ่งแสดงว่า การได้ DHA ในวัยทารกต้น ๆ มีประโยชน์ระยะยาวต่อพัฒนาการทางประสาทบางอย่าง[46]

นอกจากนั้น การทานน้ำมันปลาช่วงตั้งครรภ์อาจลดความไวแพ้อาหารที่สามัญในทารก และลดความชุกบวกความรุนแรงของโรคผิวหนังบางอย่างในช่วงปีแรกของชีวิตผลอาจยืนไปถึงช่วงวัยรุ่นคือลดความชุกและความรุนแรงของภาวะต่าง ๆ รวมทั้งผิวหนังอักเสบ (eczema) เยื่อจมูกอักเสบเหตุภูมิแพ้ และโรคหืด[47]

Crohn's disease

งานทบทวนวรรณกรรมแบบคอเคลนปี 2014 พบอาศัยงานศึกษาขนาดใหญ่สองงานว่า อาหารเสริมคือน้ำมันปลาไม่ปรากฏกว่ามีประสิทธิผลธำรงระยะโรคสงบ (remission) ของ Crohn's disease[48]

แหล่งที่มา

WikiPedia: น้ำมันปลา http://www.nutrasource.ca/ifos/ http://www.consumerlab.com/news/fish_oil_supplemen... http://www.consumerlab.com/results/index.asp http://www.fatsoflife.com http://www.foodproductiondaily.com/news/ng.asp?n=6... http://abcnews.go.com/GMA/ConsumerNews/truth-fish-... http://www.ifosprogram.com/IFOS/default.aspx http://archinte.jamanetwork.com/article.aspx?artic... http://well.blogs.nytimes.com/2015/03/30/fish-oil-... http://www.omega-3centre.com/sources_long_chain.ht...