บริเวณเวอร์นิเก
บริเวณเวอร์นิเก

บริเวณเวอร์นิเก

บริเวณเวอร์นิเก (Wernicke's area) เป็นบริเวณของซีรีบรัล คอร์เท็กซ์ในสมองของมนุษย์ อยู่ด้านหลังของลอนสมองซุพีเรียร์เทมพอรัล (superior temporal gyrus) ล้อมรอบคอร์เท็กซ์ของระบบรับเสียง (auditory cortex) บนร่องด้านข้างหรือร่องซิลเวียน [ซึ่งเป็นส่วนที่สมองกลีบขมับ (temporal lobe) และสมองกลีบข้าง (parietal lobe) มาพบกัน] อาจเรียกบริเวณนี้ว่าส่วนท้ายของบริเวณโบรดมันน์ 22 และในคนส่วนใหญ่บริเวณนี้จะอยู่ในสมองซีกซ้าย ซึ่งทำหน้าที่เฉพาะในด้านทักษะทางภาษา การอุดตันของหลอดเลือดแดงมิดเดิลซีรีบรัล (middle cerebral artery) ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอาจทำให้บริเวณนี้ทำหน้าที่ได้ผิดปกติชื่อของบริเวณเวอร์นิเกมาจากชื่อของ คาร์ล เวอร์นิเก นักประสาทวิทยาและจิตแพทย์ชาวเยอรมัน ซึ่งค้นพบว่าการทำลายในบริเวณนี้ทำให้เกิดภาวะเสียการสื่อความ (aphasia) ซึ่งเรียกว่า Wernicke's aphasia หรือ receptive aphasia ในปี ค.ศ. 1874 (พ.ศ. 2417) ภาวะดังกล่าวทำให้เกิดความบกพร่องของความเข้าใจภาษาและการพูด ซึ่งมีจังหวะของเสียงที่ธรรมชาติและมีวากยสัมพันธ์ที่ปกติ แต่ไม่มีความสามารถเข้าใจความหมายได้ อาจเรียกภาวะนี้ว่า fluent หรือ jargon aphasia การทำงานของเวอร์นิเกเป็นการริเริ่มการศึกษาสมองในบริเวณนี้และบทบาทที่เกี่ยวกับภาษา ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเข้าใจและการตีความภาษาพูดบริเวณนี้เชื่อมต่อไปยังบริเวณโบรคา (Broca's area) โดยผ่านเส้นทางประสาทชื่ออาร์คูเอท ฟาสซิคูลัส (arcuate fasciculus) และยังเชื่อมต่อกับคอร์เท็กซ์ส่วนการรับเสียงปฐมภูมิ (primary auditory cortex) ซึ่งเกี่ยวกับบทบาทของความเข้าใจซึ่งคำพูด

ใกล้เคียง

บริเวณบรอดมันน์ บริเวณเมดิเตอร์เรเนียน บริเวณกลางโบสถ์ บริเวณความกดอากาศต่ำ บริเวณร้องเพลงสวด บริเวณแห้งแล้ง บริเวณเวอร์นิเก บริเวณคริสต์ศาสนพิธี บริเวณเอช 2 บริเวณปาเลสไตน์