บุญบั้งไฟ

บุญบั้งไฟ เป็นประเพณีหนึ่งของภาคอีสานของไทยรวมไปถึงลาว โดยมีตำนานมาจากนิทานพื้นบ้านของภาคอีสานเรื่องพระยาคันคาก เรื่องผาแดงนางไอ่ ซึ่งในนิทานพื้นบ้านดังกล่าวได้กล่าวถึง การที่ชาวบ้านได้จัดงานบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อเป็นการบูชา พญาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร ซึ่ง ชาวบ้านมีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล และมีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมาก หากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้ โดยทั้งนี้การจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ของ จังหวัดยโสธร ได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในการประชาสัมพันธ์งานประเพณี เป็นที่รู้จักแก่ชาวไทย และต่างประเทศ นับแต่ ปี 2523 ซึ่ง งานประเพณีบุญบั้งไฟจังหวัดยโสธร จะจัดขึ้นในวันเสาร์ อาทิตย์ สัปดาห์ที่สอง ของเดือนพฤษภาคม ในทุกปี โดยทั้งนี้ ในงานที่จัดของจังหวัดยโสธร ยังมีความโดดเด่น ในวันก่อนแห่ มีการประกวดกองเชียร์ จำนวนมาก รวมทั้ง วันแห่บั้งไฟ จะมีขบวนบั้งไฟแบบโบราณ และการรำเซิ้งแบบโบราณ จาก ทั้ง 9 อำเภอของจังหวัดยโสธร เข้าร่วมด้วย นอกจากนี้ยังพบว่า การจัดงานบั้งไฟในอดีต และปัจจุบัน ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด มีความโดดเด่น และเก่าแก่ มานาน มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเฉพาะที่ อำเภอสุวรรณภูมิ ที่มีการจัดงานในทุกวันเสาร์ และวันอาทิตย์ในสัปดาห์แรกของเดือนมิถุนายนในทุกปี ซึ่งเป็นงานที่มีบั้งไฟเอ้สวยงามขนาดใหญ่มากที่สุด (ลายศรีภูมิ หรือ ลายกรรไกรตัด) รวมทั้งขบวนรำสวยงามมากที่สุดของประเทศ , อำเภอพนมไพร ที่มีการจัดงานในทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ของทุกปี ตามรูปแบบประเพณีดั้งเดิมตามฮีตสองสองคองสิบสี่ โดยมีการจุดบั้งไฟถวายมากที่สุดในประเทศ โดยในแต่ละปีจะมีบั้งไฟหมื่น บั้งไฟแสน บั้งไฟล้าน รวมกันกว่า 1,000 บั้ง และอีกหนึ่งที่ที่น่าสนใจ คือ งานบุญบั้งไฟตะไลล้าน บ้านกุดหว้า ตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นชุมชนภูไทขาวเก่าแก่ ก่อตั้งหมู่บ้านมาประมาณ 150 ปี เป็นบั้งไฟที่ขึ้นในแนวนอนที่เรียกว่า ตะไล เป็นต้นแบบตะไลแห่งแรกของไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของบุญบั้งไฟของบ้านกุดหว้าแห่งนี้ เทศกาลจุดตะไลนี้ จะจัดขึ้นในวันเสาร์-อาทิตย์สัปดาห์ที่ 3 ของเดือนพฤษภาคมของทุกปี ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเช่นเดียวกันทั้งนี้จากข้อมูลในปัจจุบัน แหล่งที่มีช่างในการจัดทำ บั้งไฟเอ้ ตกแต่งสวยงามมากที่สุด คือ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยเฉพาะ อำเภอสุวรรณภูมิ, อำเภอธวัชบุรี, อำเภออาจสามารถ, อำเภอเสลภูมิ, อำเภอจตุรพักตร์พิมาน เป็นต้น, ส่วนค่ายบั้งไฟ ที่มีการทำบั้งไฟจุด พบได้จำนวนมาก ในเขตอำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร, อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด และเขตจังหวัดอื่น ๆ ทางอีสานเหนือ ได้แก่ กาฬสินธุ์ โดยเฉพาะอำเภอท่าคันโท, อุดรธานี, หนองคาย เป็นต้นด้านมิติทางวัฒนธรรม พบว่า งานประเพณีบุญบั้งไฟลายศรีภูมิ (การตกแต่งบั้งไฟ ประเภท ลายกรรไกรตัด) ของ ชาวอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด มีมิติเชิงอนุรักษ์ และมีความโดดเด่น ด้านการสืบสานผ่านช่างฝีมือ และเป็นมรดกทางวัฒนธรรม สะท้อนวิถี "เมืองศรีภูมิ หรือ สุวรรณภูมิ" โดยในปี 2561 สำนักงานเทศบาลตำบลสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด และนายสมศักดิ์ เศรษโฐ นายกเทศมนตรีตำบลสุวรรณภูมิ ได้รับรางวัล "วัฒนคุณาธร" จากการเป็นองค์กร และบุคคล ผู้ส่งเสริม สนับสนุน ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีบุญบั้งไฟลายศรีภูมิ ระดับประเทศ จากกระทรวงวัฒนธรรม ด้วยนอกจากนี้แล้วในพื้นที่ภาคเหนือ มีการจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ของ ตำบลพุเตย อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ จัดงานประเพณีบุญบั้งไฟที่ยิ่งใหญ่ โดยการสนับสนุนของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ เช่นกัน ทั้งนี้ เนื่องจากประชากรในเขตพื้นที่ ส่วนใหญ่ อพยพมาจาก เขตภาคอีสาน ในหลายสิบปีก่อนหน้า ส่วนภาคใต้ ยังสามารถพบการจัดงานบุญบั้งไฟ ในเขตอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส โดยเป็นการละเล่นของชาวอีสานที่ย้ายถิ่นฐานมาปักหลักทีนี่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 โดยถือเป็นเพียงพื้นที่เดียวในภาคใต้ของไทย นอกจากภาคอีสานที่มีการเล่นประเพณีนี้ยังมีงานประเพณีบุญบั้งไฟในภาคกลางของไทยอีกที่หนึ่ง ในพื้นที่ อำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ และอำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี เนื่องจากชาวบ้านในพื้นที่ดังกล่าวร้อยละ 85 เป็นชาวอีสานที่ได้ย้ายถิ่นฐานมาประกอบอาชีพเกษตรกรรม และได้นำวัฒนธรรมประเพณีบุญบั้งไฟที่ถือเป็นความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล จึงทำให้ประเพณีบุญบั้งไฟใน อ.แม่เปิน เกิดขึ้น และได้อนุรักษ์ไว้ เมื่อปี พ.ศ. 2532 อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี ครั้งแรกในปี 2521 จนกลายเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีการจัดประเพณีเป็นประจำในช่วงเดือน 6-7 หรือประมาณสัปดาห์ที่สองของเดือนพฤษภาคม-เดือนมินายนของทุกปี ซึ่งที่ผ่านมา ได้รับความสนใจจากประชาชนในพื้นที่ และจังหวัดใกล้เคียง เข้าร่วมงานกันเป็นจำนวนมาก และนอกจากนี้ในพื้นที่ภาคเหนือ ก็มีการละเล่นประเพณีบุญบั้งไฟเช่นเดียวกัน โดยเป็นหนึ่งในประเพณีของล้านนา โดยมีความเชื่อคล้ายกับภาคอีสาน คือ เป็นการถวายเป็นพุทธบูชาและขอฝน

บุญบั้งไฟ

สนับสนุนโดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (งานประเพณีบุญบั้งไฟจังหวัดยโสธร) กระทรวงวัฒนธรรม (งานประเพณีบุญบั้งไฟลายศรีภูมิ อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด)
สถานที่จัด อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร , อำเภอสุวรรณภูมิ อำเภอพนมไพร จังหวัด ร้อยเอ็ด ภาคอีสาน ประเทศไทย และ ลาว
ช่วงเวลา เดือน 5 - 7
ชื่อเป็นทางการ โชค
จัดครั้งแรก ในท้องคิม