ปฏิทินกริกอเรียน

ปฏิทินกริกอเรียน (อังกฤษ: Gregorian Calendar; ละติน: Calendarium Gregorianum) เป็นปฏิทินที่ดัดแปลงมาจากปฏิทินจูเลียน ใช้กันแพร่หลายในประเทศตะวันตก ประกาศใช้ครั้งแรกโดยสมเด็จพระสันตะปาปาเกรโกรีที่ 13 เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2125 (ค.ศ. 1582)เหตุที่มีการคิดค้นปฏิทินกริกอเรียนขึ้นใช้แทน เนื่องจากปีในปฏิทินจูเลียน ซึ่งยาวนาน 365.25 วันนั้น มีนานกว่าปีฤดูกาลจริง (365.2425 วัน) อยู่เล็กน้อย ทำให้วันวสันตวิษุวัตของแต่ละปี ขยับเร็วขึ้นทีละน้อย เพื่อที่จะให้วันอีสเตอร์ตรงกับวันที่ 21 มีนาคม (วันวสันตวิษุวัต) จึงจำเป็นต้องปฏิรูปปฏิทินเนื่องจากสมเด็จพระสันตะปาปาทรงปรับปรุงปฏิทินโดยมีผลย้อนหลัง กำหนดให้ถัดจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 วันรุ่งขึ้นเป็นวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2125 ในครั้งแรกของการปรับวัน จำนวนวันจึงถูกร่นขาดหายไป 10 วัน กล่าวคือต่อมา ร่นวันอีก ศตวรรษละ 1 วัน ทั้งสิ้น 3 ครั้ง กล่าวคือหลังจากนั้นไม่มีการร่นวันอีก กล่าวคือดังนั้นจำนวนวันที่แตกต่างกันระหว่างปฏิทินจูเลียนและกริกอเรียนในเวลาปัจจุบันจึงเท่ากัน 13 วัน ดังนี้อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงเมื่อคำนวณอย่างละเอียดตามหลักวิทยาศาสตร์ 1ปี เฉลี่ยเท่ากับ 365 วัน 5 ชั่วโมง 48 นาที 46 วินาที (ประมาณ 365.242199074วัน) แต่ปฏิทินเกรโกเรียนกำหนดให้หนึ่งปีมี 365.2425 วัน ปฏิทินนี้จึงคลาดเคลื่อนไปโดยช้าลงปีละประมาณ 26 วินาทีเริ่มแรกประเทศคาทอลิกเท่านั้นที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง เช่นอังกฤษ เริ่มใช้ในปี 1752 โดยประกาศให้หลังวันที่ 2 กันยายน เป็น 14 กันยายนกรีก เริ่มใช้เมื่อ 1923