ปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา
ปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา

ปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา

ราชอาณาจักรโรมาเนีย
อิตาลี
ฮังการี
สโลวาเกีย
รัฐเอกราชโครเอเชีย
ฟินแลนด์ วัลเทอร์ ฟอน เบราชิทช์
วิลเฮ็ล์ม ริทเทอร์ ฟ็อน เลพ
ฟรันซ์ ฮัลเดอร์
เฟดอร์ ฟอน บอค
เกอร์ด ฟอน รุนด์ชเทดท์
เอียน อันโตเนสคู
กุสตาฟ มันเนอร์เฮม เกออร์กี จูคอฟ
อะเลคซันดร์ วาซีเลฟสกี
เซมิออน บูดิออนนืย
คลีเมนต์ โวโรชีลอฟ
เซมิออน ตีโมเชนโค
มาร์เคียน โปปอฟ
ฟิโอดอร์ คุซเนตซอฟ
ดมีตรี ปัฟลอฟ 
อีวาน ตูย์เลเนฟ
มีฮาอิล คีร์โปนอส ค.ศ. 1942ค.ศ. 1943ค.ศ. 1944ค.ศ. 1945การสงครามทางเรือ:ปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา (เยอรมัน: Unternehmen Barbarossa, อังกฤษ: Operation Barbarossa, รัสเซีย: Операция Барбарросса) เป็นชื่อรหัสสำหรับแผนการบุกสหภาพโซเวียตของนาซีเยอรมนี ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ปฏิบัติการดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 ชื่อปฏิบัติการบาร์บาร็อสซาถูกตั้งชื่อตามพระนามของจักรพรรดิฟรีดริช บาร์บาร็อสซา แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ผู้นำสงครามครูเสดครั้งที่สาม ในช่วงคริสต์ศตวรรรษที่ 12วัตถุประสงค์ของปฏิบัติการนี้ คือ การพิชิตสหภาพโซเวียตทางภาคพื้นยุโรปทั้งหมด ซึ่งถือเอาแนวที่ลากเส้นระหว่างอาร์ฮันเกลสค์ (Arkangelsk) ที่อยู่ทางตอนเหนือของรัสเซีย ลงไปจนถึงเมืองอัสตราฮัน (Astrakhan) ที่อยู่ริมสามเหลี่ยมปากแม่น้ำวอลกา โดยแนวนี้ถูกเรียกว่าแนวเอ-เอ (A-A line) ปฏิบัติการบาร์บาร็อสซาไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ฮิตเลอร์คาดหวังไว้ ในทางยุทธวิธีแล้ว กองทัพเยอรมันก่อให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวงต่อสหภาพโซเวียต โดยการยึดครองพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของประเทศเอาไว้[10] อย่างไรก็ตาม ไม่นานหลังจากปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา กองทัพเยอรมันไม่อาจเป็นฝ่ายบุกในแนวรบด้านตะวันออกอีกต่อไป[11] และหลังจากนั้น ก็ประสบความพ่ายแพ้มาตลอด[12][13][14][15][16][17][18]ปฏิบัติการบาร์บาร็อสซาเป็นปฏิบัติการทางทหารที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ทั้งทางด้านกำลังพล พื้นที่ปฏิบัติการและความสูญเสียที่เกิดขึ้น[19] ความล้มเหลวในยุทธการบาร์บาร็อสซาเป็นที่ถกเถียงกันว่าเป็นสาเหตุโดยรวมที่ทำให้นาซีเยอรมนีต้องประสบกับความพ่ายแพ้ และเป็นจุดเปลี่ยนของนาซีเยอรมนีของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ จากการเปิดการโจมตีของนาซีทำให้เกิดการรบใหม่ขึ้นมาคือแนวรบด้านตะวันออก ซึ่งเป็นยุทธบริเวณที่ใหญ่ที่สุดในโลกตราบจนถึงปัจจุบัน ปฏิบัติการบาร์บาร็อสซากลายเป็นการรบครั้งยิ่งใหญ่ ความโหดร้าย การสูญเสียชีวิตปริมาณมหาศาล ซึ่งทั้งหมดได้ส่งอิทธิพลต่อสงครามโลกครั้งที่สอง และประวัติศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตลอดมา

ปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา

วันที่สถานที่ผลลัพธ์
วันที่22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 – 5 ธันวาคม ค.ศ. 1941
สถานที่โปแลนด์ เบลารุส ยูเครน มอลโดวา ลิทัวเนีย ลัตเวีย เอสโตเนีย รัสเซียตะวันตก
ผลลัพธ์ฝ่ายอักษะล้มเหลวทางยุทธศาสตร์
สถานที่ โปแลนด์ เบลารุส ยูเครน มอลโดวา ลิทัวเนีย ลัตเวีย เอสโตเนีย รัสเซียตะวันตก
ผลลัพธ์ ฝ่ายอักษะล้มเหลวทางยุทธศาสตร์
วันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 – 5 ธันวาคม ค.ศ. 1941

ใกล้เคียง

ปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง ปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา ปฏิบัติการเอนเทบเบ ปฏิบัติการสะพานลอนดอน ปฏิบัติการเท็งโง ปฏิบัติการบากราตีออน ปฏิบัติการวัลคือเรอ ปฏิบัติการดาวน์ฟอล ปฏิบัติการเสาค้ำเมฆา ปฏิบัติการคอนดอร์

แหล่งที่มา

WikiPedia: ปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา http://www.britannica.com/bps/topic/335949/Siege-o... http://www.militaryhistoryonline.com/wwii/articles... http://www.english.uiuc.edu/maps/ww2/barbarossa.ht... http://www.foia.cia.gov/CPE/CAESAR/caesar-25.pdf http://www.army.mil/cmh-pg/books/wwii/balkan/20_26... http://www.army.mil/cmh-pg/books/wwii/balkan/appen... http://www.rus-sky.org/history/library/w/ http://www.ushmm.org/wlc/article.php?lang=en&Modul... http://www.hrono.ru/dokum/197_dok/1979zhukov2.html http://militera.lib.ru/research/meltyukhov/index.h...