ประชากรโลก
ประชากรโลก

ประชากรโลก

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งประชากรโลก เป็นจำนวนมนุษย์ทั้งหมดที่ยังมีชีวิตอยู่บนโลก ซึ่งปัจจุบันองค์การสหประชาชาติ (UN) ประมาณการว่าประชากรโลกมีจำนวนราว ๆ 7,300 ล้านคน ณ เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2021 [2] และจะเพิ่มจำนวนเป็น 8,500 ล้านคนในปี ค.ศ. 2030 และ 11,200 ล้านคนในปี ค.ศ. 2100 ประชากรโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับแต่ทุพภิกขภัยใหญ่และแบล็กเดทราวปี ค.ศ. 1350 ซึ่งขณะนั้นประชากรโลกมีราว 370 ล้านคน[3] โดยในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1950 และอีกระยะหนึ่งช่วงระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรเพิ่มสูงขึ้นไปอยู่ที่กว่า 1.8% ต่อปี โดยมีอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงสุดในประวัติศาสตร์ในปี ค.ศ. 1963 ที่ 2.2% ต่อปี ทั้งนี้ ในปี ค.ศ. 2012 อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกลดลงมาอยู่ที่ 1.1% ต่อปี[4] หากมองที่จำนวนเกิดนั้น ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1980 ถือว่ามีจำนวนเกิดมากที่สุดที่ราว 139 ล้านคนต่อปี [5] และในปัจจุบัน คาดการณ์ว่าจำนวนเกิดจะคงที่ต่อเนื่องไปนับแต่ปี ค.ศ. 2011 หรือที่ราว 135 ล้านคนต่อปี[6] ในขณะเดียวกันจำนวนตายจะเพิ่มขึ้นจากราว 56 ล้านคนต่อปีในปัจจุบันเป็นราว 80 ล้านคนในปี ค.ศ. 2040[7]ประชากรโลกมีจำนวนถึง 7,000 ล้านคนเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 2011 จากคาดการของกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ[8][9][10] และวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 2012 ตามประมาณการของสำนักสำมะโนสหรัฐอเมริกา (USCB)[11]นักวิเคราะห์บางคนตั้งคำถามว่า ประชากรโลกจะเติบโตได้ต่อไปหรือไม่ โดยอ้างแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม ปริมาณอาหารโลก และทรัพยากรพลังงาน[12][13][14]นักวิชาการบางส่วนประมาณการประชากรที่เคยมีชีวิตอยู่บนโลกที่ราว 100,000 ถึง 115,000 ล้านคน[15][16]