ประชาธิปไตยเสรีนิยม
ประชาธิปไตยเสรีนิยม

ประชาธิปไตยเสรีนิยม

ประชาธิปไตยเสรีนิยม หรือ ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม(อังกฤษ: Liberal democracy) หรือบางครั้งเรียกว่า ประชาธิปไตยแบบตะวันตกเป็นทั้งคตินิยมทางการเมืองและระบอบการปกครองรูปแบบหนึ่ง ที่การปกครองแบบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนจะดำเนินการใต้หลักเสรีนิยม คือ การพิทักษ์สิทธิของปัจเจกบุคคล ซึ่งโดยทั่วไปจะระบุไว้ในกฎหมายระบอบมีลักษณะเฉพาะ คือระบบดังกล่าวในทางปฏิบัติ บ่อยครั้งจะกำหนดในรัฐธรรมนูญไม่ว่าจะเขียนเป็นประมวลกฎหมายหรือไม่ (เช่นไม่เขียนในประเทศอิสราเอล นิวซีแลนด์ และสหราชอาณาจักร) เพื่อพรรณนาอำนาจของรัฐและเชิดชูสัญญาประชาคมหลังสมัยการขยายตัวอย่างต่อเนื่องตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 20 ประชาธิปไตยเสรีนิยมก็ได้กลายเป็นระบบการเมืองของรัฐ/ประเทศต่าง ๆ เกือบครึ่งโลก โดยไม่รวมประเทศทั้งหมดในกลุ่มอาเซียน เช่น ประเทศไทย มาเลเซีย และสิงค์โปร์โดยปี 2558[1]รัฐประชาธิปไตยเสรีนิยมมีหลายรูปแบบอาจเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (เช่น ออสเตรเลีย เบลเยียม แคนาดา ญี่ปุ่น นอร์เวย์ สเปน และสหราชอาณาจักร)หรือสาธารณรัฐ (เช่น ฝรั่งเศส อินเดีย ไอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกา)อาจเป็นระบบรัฐสภา (เช่น ออสเตรเลีย อินเดีย ไอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร) หรือระบบประธานาธิบดี (เช่น สหรัฐ)ระบอบนี้ปกติจะมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนทั่วไป คือให้สิทธิออกเสียงลงคะแนนเพื่อเลือกตั้งและการอื่น ๆ แก่ประชาชนผู้ใหญ่ทั้งหมดโดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ เพศ หรือทรัพย์สินแต่ตามประวัติ บางประเทศที่มองว่าปกครองด้วยระบบนี้ก็มีสิทธิออกเสียงที่จำกัดอยู่เหมือนกัน บางประเทศก็ไม่ให้ลงคะแนนเลือกตั้งแบบลับและบางครั้งก็จะมีข้อจำกัดเช่นผู้ออกเสียงเลือกตั้งต้องลงทะเบียนก่อนการตัดสินเรื่องที่ลงคะแนนหรือที่เลือก จะขึ้นอยู่กับผู้ออกเสียง ไม่ใช่ประชาชนทั้งหมดรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยแบบเสรีนิยมจะนิยามความเป็นประชาธิปไตยของรัฐจุดประสงค์ของรัฐธรรมนูญบ่อยครั้งมองว่า เพื่อจำกัดอำนาจของรัฐบาลระบอบนี้ เน้นการแยกใช้อำนาจ ความเป็นอิสระของตุลาการ และระบบดุลอำนาจระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ของรัฐและมักจะเน้นความสำคัญว่า รัฐต้องทำตามหลักนิติธรรมอำนาจของรัฐบาลจะเป็นเรื่องชอบธรรมก็ต่อเมื่อเป็นไปตามกฎหมายที่เขียน ผ่านการยอมรับ แล้วเปิดเผยเป็นสาธารณะ และเมื่อบริหารตามกฎระเบียบที่วางไว้ประเทศหลายประเทศใช้ระบบสหพันธรัฐ ซึ่งแยกใช้อำนาจแบบแนวตั้งด้วย เพื่อป้องกันการใช้อำนาจผิด ๆ และเพิ่มส่วนร่วมของประชาชนโดยแบ่งอำนาจระหว่างเทศบาลเมือง สภาจังหวัด และรัฐบาลประเทศเช่น ในเยอรมนี รัฐบาลกลางมีหน้าที่ออกกฎหมาย แต่รัฐบาลรัฐ (Länder) เป็นผู้บริหารอำนาจหลายอย่าง[ต้องการอ้างอิง]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ประชาธิปไตยเสรีนิยม http://www.asgp.co/sites/default/files/documents//... http://members.aol.com/CSPmgm/conflict.htm http://www.freetheworld.com/papers.html http://www.historyisaweapon.com/defcon1/bernprop.h... http://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id... http://thehumananimal.com/usa/?p=381 http://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,1... http://www.news.harvard.edu/gazette/2004/11.04/05-... http://muse.jhu.edu/demo/jod/10.3sen.html http://polisci.la.psu.edu/faculty/Casper/caspertuf...