ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ย่อ: ป.พ.พ.) เป็นประมวลกฎหมายแพ่ง อันเป็นกฎหมายสารบัญญัติ (substantive law) แห่งประเทศไทย เริ่มร่างครั้งแรกใน ร.ศ. 127 ตรงกับ พ.ศ. 2451 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายหลังการประกาศใช้กฎหมายลักษณะอาญาเมื่อปีเดียวกัน เพื่อริเริ่มขอยกเลิกบรรดาสนธิสัญญาที่ราชอาณาจักรสยามทำไว้กับต่างประเทศอันมีผลให้สยามต้องเสียเปรียบในด้านสิทธิสภาพนอกอาณาเขตและเอกราชทางการศาล[1]การจัดทำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยนั้นมี ประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน (Bürgerliches Gesetzbuch) และประมวลกฎหมายแพ่งญี่ปุ่น (民法) เป็นแม่แบบหลัก กับทั้งมีประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส (Code civil des Français) และประมวลกฎหมายแพ่งสวิส (Zivilgesetzbuch) เป็นแม่แบบรอง ประกอบกับกฎหมายเดิมของสยามเอง กับทั้งกฎหมายของชาติอื่น ๆ และกฎหมายระหว่างประเทศอีกประปราย[2] โดยงานร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดำเนินไปอย่างเชื่องช้า เฉพาะการร่างบรรพแรกจากที่วางโครงการไว้ทั้งหมดหกบรรพนั้น ก็กินเวลานานถึงสิบห้าปี ใช้งบประมาณมหาศาล และมีการเปลี่ยนคณะกรรมการร่างถึงสี่ชุด ทุกชุดมีชาวฝรั่งเศสเป็นสมาชิก โดยเฉพาะชุดแรกเป็นชาวฝรั่งเศสทั้งหมด หลังจากนั้นจึงเริ่มทยอยร่างและประกาศใช้บรรพอื่น ๆ จนครบ ทั้งหมดกินเวลากว่าสามสิบปี ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมเรื่อยมาจนปัจจุบันตามสถานการณ์ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีโครงสร้างแบ่งเป็นหกบรรพ ประกอบด้วย บรรพ 1 หลักทั่วไป, บรรพ 2 หนี้, บรรพ 3 เอกเทศสัญญา, บรรพ 4 ทรัพย์สิน, บรรพ 5 ครอบครัว และบรรพ 6 มรดก ตามลำดับ โดยตั้งแต่เริ่มมีผลใช้บังคับครั้งแรกใน พ.ศ. 2468 จวบจนถึงบัดนี้ ประมวลกฎหมายดังกล่าวมีอายุเกือบหนึ่งศตวรรษแล้ว

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

วันลงนาม • บรรพ 1 : 31 มีนาคม 2535
• บรรพ 2 : 11 พฤศจิกายน 2468
• บรรพ 3 : 1 มกราคม 2471
• บรรพ 4 : 16 มีนาคม 2473
• บรรพ 5 : 5 ตุลาคม 2519
• บรรพ 6 : 5 มิถุนายน 2478
วันเริ่มใช้ • บรรพ 1 : 7 มิถุนายน 2535
• บรรพ 2 : 1 มกราคม 2468
• บรรพ 3 : 1 เมษายน 2471
• บรรพ 4 : 1 เมษายน 2473
• บรรพ 5 : 16 ตุลาคม 2519
• บรรพ 6 : 1 ตุลาคม 2478
วันประกาศ • บรรพ 1 : 8 เมษายน 2535
• บรรพ 2 : 11 พฤศจิกายน 2468
• บรรพ 3 : 1 มกราคม 2471
• บรรพ 4 : 18 มีนาคม 2473
• บรรพ 5 : 15 ตุลาคม 2519
• บรรพ 6 : 7 มิถุนายน 2478
ผู้ลงนาม • บรรพ 1 และ 5 : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
• บรรพ 2 : พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
• บรรพ 3 และ 4 : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
• บรรพ 6 : คณะผู้สำเร็จราชการแทนสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (อนุวัตรจาตุรนต์, อาทิตย์ทิพอาภา และ เจ้าพระยายมราช)
ท้องที่ใช้ ทั่วประเทศไทย
ยกเว้น ปัตตานี, นราธิวาส, ยะลา และ สตูล สำหรับ บรรพ 5 และ 6 โดยให้ใช้กฎหมายชาริอะห์แทน
ผู้ลงนามรับรอง • บรรพ 1 : อานันท์ ปันยารชุน (นายกรัฐมนตรี)
• บรรพ 2, 3 และ 4 : — (สมบูรณาญาสิทธิราชย์)
• บรรพ 5 : เสนีย์ ปราโมช (นายกรัฐมนตรี)
• บรรพ 6 : พระยาพหลพลพยุหเสนา (นายกรัฐมนตรี)
ผู้ตรา • บรรพ 1 : สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
• บรรพ 2 : พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
• บรรพ 3 และ 4 : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
• บรรพ 5 : รัฐสภาไทย
• บรรพ 6 : สภาผู้แทนราษฎรไทย
ผู้รักษาการ นายกรัฐมนตรี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ใกล้เคียง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลเรื่องปรัมปรากรีก ประมวลเรื่องปรัมปรานอร์ส ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ประเทศไทย) ประมวล สภาวสุ ประมวลเรื่องปรัมปราโรมัน ประมวล ตั้งบริบูรณ์รัตน์ ประมวล กุลมาตย์ ประมวลกฎหมายนโปเลียน ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี

แหล่งที่มา

WikiPedia: ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ http://www.antiqbook.com/boox/gac/079946.shtml http://law.longdo.com/law/714/ http://www.krisdika.go.th/ http://www.krisdika.go.th/wps/portal/general http://www.oja.go.th/doc/Lists/doc1/DispForm.aspx?... http://rirs3.royin.go.th/coinages/webcoinage.php http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2451/00... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2468/A/...