ประวัติศาสตร์เยอรมนี

แนวคิดของเยอรมนีในฐานะที่เป็นภูมิภาคที่แตกต่างในยุโรปกลางสามารถเชื่อมโยงไปถึงผู้บัญชาการทหารโรมัน จูเลียส ซีซาร์ ผู้ที่กล่าวอ้างถึงพื้นที่ดินแดนที่ยังไม่ได้ถูกพิชิตทางด้านตะวันออกของแม่น้ำไรน์คือเจอร์มาเนีย(Germania) ดังนั้นจึงมีความแตกต่างจากพวกกอล(ฝรั่งเศส), ซึ่งเขาพิชิตลงได้ การได้รับชัยชนะของชนเผ่าเจอร์มานิคในยุทธการที่ป่าทอยโทบวร์ก(Teutoburg Forest)(ปีค.ศ. 9) ได้ขัดขวางการผนวกดินแดนโดยจักรวรรดิโรมัน แม้ว่ามณฑลของโรมันของเกร์มาเนียซูเปรีออร์และเกร์มาเนียอินเฟรีออร์จะถูกสร้างขึ้นตามแนวแม่น้ำไรน์ ภายหลังการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก พวกแฟรงก์ได้พิชิตชนเผ่าเจอร์มานิคทางตะวันตกอื่นๆ เมื่อจักรวรรดิแฟรงก์ได้ถูกแบ่งแยกระหว่างทายาทของชาร์เลอมาญในปีค.ศ. 843 ส่วนทางด้านตะวันออกได้กลายเป็นอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก ในปี ค.ศ. 962 พระเจ้าออทโทที่ 1 ได้กลายเป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์องค์แรกของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นรัฐเยอรมันในสมัยยุคกลางในช่วงปลายยุคกลาง ดยุกของแคว้น เจ้าชายและบิชอปต่างได้รับอำนาจจากค่าใช่จ่ายอันสิ้นเปลืองของจักรพรรดิ มาร์ติน ลูเธอร์ได้นำการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ต่อต้านศาสนจักรคาทอลิก หลังปี ค.ศ. 1517 เนื่องจากรัฐทางตอนเหนือได้กลายเป็นพวกนับถือนิกายโปรเตสแตนต์ ในขณะที่รัฐทางตอนใต้ที่เหลือเป็นพวกนับถือนิกายคาทอลิก ทั้งสองฝ่าย​ของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ได้เกิดการปะทะกันในสงครามสามสิบปี (ค.ศ. 1618-1648) ซึ่งเป็นความพินาศย่อยยับแก่พลเรือนยี่สิบล้านคนที่อาศัยอยู่ในทั้งสองฝ่าย สงครามสามสิบปีได้นำไปสู่การทำลายล้างแก่เยอรมนีอย่างมาก; มากกว่า 1/4 ของประชากรและ 1/2 ของประชากรชายในรัฐเยอรมันได้ถูกฆ่าตายโดยความวิบัติสงคราม ปีค.ศ. 1648 ได้มีผลทำให้การสิ้นสุดลงของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และจุดเริ่มต้นของระบบรัฐชาติที่ทันสมัย ด้วยเยอรมนีได้แบ่งแยกออกเป็นรัฐอิสระหลายแห่ง เช่น ปรัสเซีย บาวาเรีย แซกโซนี ออสเตรียและรัฐอื่นๆ ซึ่งยังคงควบคุมดินแดนนอกพื้นที่ที่ถือว่าเป็น"เยอรมนี"ภายหลังการปฏิวัติฝรั่งเศสและสงครามนโปเลียน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1803-1815 ระบบศักดินาได้หมดไปและเสรีนิยมและชาตินิยมได้ปะทะกันด้วยผลสะท้อน การปฏิวัติเยอรมัน ปี ค.ศ. 1848-49 ได้ล้มเหลวลง การปฏิวัติอุสาหกรรมได้ทำให้เกิดความทันสมัยของเศรษฐกิจเยอรมัน ได้นำไปสู่การเติบโตอย่างรวดเร็วของเมืองและอุบัติการ์ณของขบวนการสังคมนิยมในเยอรมนี ปรัสเซีย, กับเมืองหลวงคือเบอร์ลิน, ได้เติบโตขึ้นในอำนาจ มหาวิทยาลัยของเยอรมันได้กลายเป็นศูนย์กลางชั้นนำของโลกสำหรับวิทยาศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ในขณะที่ดนตรีและศิลปะได้เจริญขึ้น การรวมชาติเยอรมัน(ยกเว้นเพียงออสเตรียและพื้นที่ที่พูดเป็นภาษาเยอรมันของประเทศสวิตเซอร์แลนด์)ได้ประสบความสำเร็จภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีอ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์ค ด้วยการก่อตั้งจักรวรรดิเยอรมันในปี ค.ศ. 1871 ซึ่งได้เสนอวิธีแก้ไขปัญหาเยอรมันออกเป็นสองทางคือ อนุประเทศเยอรมัน(Kleindeutsche Lösung) ทางออกขนาดเล็กของเยอรมัน(เยอรมนีโดยปราศจากออสเตรีย) หรือมหาประเทศเยอรมัน(Großdeutsche Lösung), ทางออกขนาดใหญ่ของเยอรมัน(เยอรมนีรวมเข้ากับออสเตรีย), ในอดีตที่ผ่านมา รัฐสภาไรส์ทาคใหม่ เป็นรัฐสภาการเลือกตั้ง ได้มีบทบาทที่จำกัดในรัฐบาลจักรวรรดิ, เยอรมันได้เข้าร่วมกับมหาอำนาจอื่นๆในการขยายอาณานิคมในทวีปแอฟริกาและมหาสมุทรแปซิฟิกเยอรมนีได้เป็นประเทศที่มีอำนาจเหนือกว่าทวีปยุโรป ในปี ค.ศ. 1900 การขยายตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจอุตสาหกรรมโดยผ่านอังกฤษ ทำให้สามารถแข่งขันทางเรือได้ เยอรมนีได้นำฝ่ายมหาอำนาจกลางในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง(ค.ศ. 1914-1918) เข้าต่อสู้รบกับฝรั่งเศส, บริเตนใหญ่ รัสเซีย และ(ในปี ค.ศ. 1917)สหรัฐอเมริกา ด้วยความปราชัยและการครอบครองพื้นที่บางส่วน เยอรมนีได้ถูกบังคับให้จ่ายค่าปฏิกรรมสงครามโดยสนธิสัญญาแวร์ซายและถอนตัวออกจากดินแดนอาณานิคมเช่นเดียวกับพื้นที่ที่ถูกกำหนดให้สร้างโปแลนด์ขึ้นมาใหม่และอาลซัส-ลอแรน การปฏิวัติเยอรมันในปีค.ศ. 1918-19 ได้ปลดจักรพรรดิและกษัตริย์ต่างๆและเจ้าชาย ได้นำไปสู่การก่อตั้งสาธารณรัฐไวมาร์ ที่เป็นรัฐสภาระบอบประชาธิปไตยที่ไม่มั่นคงในช่วงต้นปี ค.ศ. 1930 ด้วยภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ทั่วโลกได้โจมตีเยอรมนีอย่างหนัก เนื่องจากการว่างงานเพิ่มขึ้นสูงและประชาชนได้สูญเสียความเชื่อมั่นในรัฐบาล ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1933 อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีเยอรมนี พรรคนาซีได้เริ่มที่จะกำจัดศัตรูทางการเมืองทั้งหมดและรวมรวบอำนาจไว้ ฮิตเลอร์ได้สร้างระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จได้อย่างรวดเร็ว เริ่มต้นขึ้นในปลายปี ค.ศ. 1930 นาซีเยอรมนีได้ทำให้เกิดความก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อยๆในการเรียกร้องดินแดน การข่มขู่ว่าจะทำสงคราม หากพวกเขาไม่ได้สิ่งที่ต้องการ ช่วงแรกที่ได้มาถึงคือการส่งทหารกลับเข้าไปยังไรน์ลันท์ ในปี ค.ศ. 1936 การผนวกรวมออสเตรียในอันชลุสและส่วนหนึ่งของเชโกสโลวาเกียด้วยข้อตกลงมิวนิกในปี ค.ศ. 1938(แม้ว่าในปี ค.ศ. 1939 ฮิตเลอร์ได้ผนวกรวมดินแดนทั้งหมดของเชโกสโลวาเกีย) เมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 เยอรมนีได้เริ่มสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรปด้วยการบุกครองโปแลนด์ หลังจากที่ได้ทำข้อตกลงกับสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1939 ฮิตเลอร์และสตาลินได้แบ่งแยกทวีปยุโรปตะวันออก ภายหลังสงครามลวงในช่วงฤดูใบไม้ผลิ เยอรมันได้เข้ายึดครองประเทศเดนมาร์กและนอร์เวย์, ประเทศแผ่นดินต่ำและฝรั่งเศส ทำให้เยอรมนีเข้าควบคุมเกือบทั้งหมดของยุโรปตะวันตก ฮิตเลอร์ได้สั่งให้กองทัพเข้ารุกรานสหภาพโซเวียตในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941ด้วยการเหยียดเชื้อชาติ, โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการต่อต้านชาวยิว เป็นศูนย์กลางของระบอบการปกครอง. ในเยอรมนี, แต่ส่วนใหญ่ในพื้นที่ดินแดนที่ถูกยึดครองโดยเยอรมัน โครงการการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อย่างเป็นระบบที่รู้จักกันคือ ฮอโลคอสต์ ได้สังหารชาวยิวจำนวนหกล้านคน เช่นเดียวกับอื่นๆอีกห้าล้านคน รวมทั้งชาวเยอรมันที่ไม่เห็นด้วย ชาวยิปซี คนพิการ ชาวโปล ชาวโรมานี ชาวโซเวียต(ผู้ที่เป็นชาวรัสเซียและไม่ใช่รัสเซีย) และอื่นๆ ในปี ค.ศ. 1942 การบุกครองสหภาพโซเวียตของเยอรมนีต้องหยุดชะงักลง, และภายหลังจากสหรัฐอเมริกาได้เข้าร่วมสงคราม อังกฤษได้กลายเป็นฐานสำหรับการทิ้งระเบิดขนาดใหญ่ของอังกฤษและอเมริกันลงใส่เมืองเยอรมัน เยอรมนีต้องต่อสู้รบในสงครามหลายแนวรบในช่วงตั้งแต่ปี ค.ศ. 1942-1944 อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากฝ่ายสัมพันธมิตรได้บุกครองนอร์ม็องดี(เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1944) กองทัพเยอรมันได้ถูกผลักดันกลับทั้งหมดของแนวรบจนกระทั่งท้ายที่สุดต้องล่มสลายลงในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1945ภายใต้การยึดครองของฝ่ายสัมพันธมิตร ดินแดนเยอรมนีได้ถูกแบ่งแยก, ออสเตรียได้เป็นประเทศที่แยกตัวออกมาอีกครั้ง โครงการการขจัดนาซีได้เกิดขึ้น และสงครามเย็นได้ส่งผลทำให้ส่วนหนึ่งของประเทศได้แตกแยกออกเป็นสองฝ่ายได้แก่ เยอรมนีตะวันตกอันมีระบอบประชาธิปไตยและเยอรมนีตะวันออกอันมีระบอบคอมมิวนิสต์ ชนเชื้อชาติเยอรมันนับล้านคนได้ถูกขับไล่หรือหนีออกจากพื้นที่คอมมิวนิสต์ไปยังเยอรมนีตะวันตก ซึ่งจากประสบการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว, และกลายเป็นเศรษฐกิจที่มีบทบาทสำคัญในยุโรปตะวันตก เยอรมนีได้รับการติดตั้งอาวุธใหม่อีกครั้งในปี ค.ศ. 1950 ภายใต้การดูแลขององค์นาโต้ แต่ไม่สามารถมีอาวุธนิวเคลียร์ได้ ความสัมพันธ์มิตรภาพระหว่างฝรั่งเศส-เยอรมนีได้กลายเป็นพื้นฐานสำหรับการรวมตัวกันทางการเมืองของยุโรปตะวันตกในสหภาพยุโรป ในปี ค.ศ. 1989 กำแพงเบอร์ลินได้ถูกทำลายลง, สหภาพโซเวียตล่มสลายลงและเยอรมนีตะวันออกก็ได้รวมเข้ากับเยอรมนีตะวันตกในปีค.ศ. 1990 ในปีค.ศ. 1998-1999 เยอรมนีเป็นหนึ่งในประเทศที่ก่อตั้งยูโรโซน เยอรมนียังคงเป็นหนึ่งในมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของทวีปยุโรป ได้มีส่วนร่วมประมาณหนึ่งในสี่ปของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศทุกประจำปีของยูโรโซน ในช่วงต้นปีค.ศ. 2010 เยอรมนีได้มีบทบาทสำคัญในการพยายามที่จะแก้ไขวิกฤตการณ์ของยูโรที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นโดยเฉพาะกรีซและประเทศอื่นๆในยุโรปตอนใต้ ในช่วงกลางทศวรรษ, ประเทศได้เผชิญวิกฤตการณ์ผู้ย้ายถิ่นยุโรป ที่เป็นผู้รับที่สำคัญของผู้ลี้ภัยจากซีเรียและภูมิภาคอื่นๆที่ตกทุกข์ได้ยาก

ใกล้เคียง

ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ไทย ประวัติศาสนาพุทธ ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ประวัติศาสตร์จีน ประวัติศาสตร์สหรัฐ ประวัติศาสตร์โลก ประวัติยูทูบ ประวัติศาสตร์เยอรมนี ประวัติศาสตร์สเปน

แหล่งที่มา

WikiPedia: ประวัติศาสตร์เยอรมนี http://www.amazon.com/Germany-Long-Road-West-v/dp/... http://www.amazon.com/Gold-Iron-Bismark-Bleichrode... http://www.amazon.com/Hitler-Nazi-Germany-History-... http://www.amazon.com/The-Peoples-State-Society-Ho... http://www.amazon.com/dp/0472069748/ http://www.amazon.com/dp/0521168643/ http://www.amazon.com/dp/0521168651/ http://www.amazon.com/dp/063123196X/ http://www.complete-review.com/reviews/economic/to... http://books.google.com/books?id=KPdBAAAAIAAJ&dq=i...