เศรษฐกิจ ของ ประเทศจีน

ดูบทความหลักที่: เศรษฐกิจจีน

ศักยภาพทางเศรษฐกิจ

อัตราการเจริญการเติบโตของเศรษฐกิจจีนโดยธนาคารโลก

ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งประเทศในปี พ.ศ. 2492 จนถึงปลาย พ.ศ. 2521 สาธารณรัฐประชาชนจีนใช้ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนจากส่วนกลางเหมือนโซเวียต ไม่มีภาคเอกชนหรือระบอบทุนนิยม เหมา เจ๋อตง เริ่มใช้นโยบายก้าวกระโดดไกล เพื่อผลักดันประเทศให้กลายเป็นสังคมคอมมิวนิสต์ที่ทันสมัยและก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม แต่นโยบายนี้กลับถูกมองว่าเป็นความล้มเหลวทั้งทางเศรษฐกิจและมนุษยธรรม[57] หลังจากที่เหมาเสียชีวิตและสิ้นสุดการปฏิวัติทางวัฒนธรรม เติ้ง เสี่ยวผิง และผู้นำจีนรุ่นใหม่ได้เริ่มปฏิรูปเศรษฐกิจและใช้ระบอบเศรษฐกิจแบบผสมที่ให้ความสำคัญกับทุนนิยมมากขึ้น ด้วยนโยบายที่ว่า 1ระบอบ 2ระบบ

อาคารตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้ในย่านธุรกิจเขตผู่ตง เซี่ยงไฮ้

ตั้งแต่เริ่มมีการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจในปี 2521 เศรษฐกิจของจีนซึ่งนำโดยการลงทุนและการส่งออก[58] เติบโตขึ้นถึง 70 เท่า[59] และกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่เติบโตเร็วที่สุด[60] ปัจจุบัน จีนมีจีดีพี (nominal) สูงเป็นอันดับสามของโลกที่ 30 ล้านล้านหยวน (4.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) แต่รายได้ต่อหัวมีค่าเฉลี่ยเพียง 3,300 ดอลลาร์สหรัฐ จึงยังคงตามหลังประเทศอื่นอีกนับร้อย[61] อุตสาหกรรมขั้นปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และ ตติยภูมิ มีอัตราส่วนร้อยละ 11.3, 48.6 และ 40.1 ตามลำดับ และหากวัดด้วยความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ จีนจะมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นที่สองรองจากสหรัฐอเมริกาเท่านั้น[62] จีนเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลกและเป็นประเทศที่มีมูลค่าทางการค้าสูงเป็นอันดับสามรองจาก สหรัฐอเมริกาและเยอรมนีด้วยมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ 2.56 ล้านล้านดอลลาร์ มูลค่าการส่งออก 1.43 ล้านล้านดอลลาร์ (อันดับสอง) และมูลค่าการนำเข้า 1.13 ล้านล้านดอลลาร์ (อันดับสาม) จีนมีมูลค่าเงินสำรองระหว่างประเทศมากที่สุดในโลก (มากกว่า 1.9 ล้านล้านดอลลาร์) [63] และเป็นหนึ่งในประเทศยอดนิยมของการลงทุนจากต่างชาติ โดยสามารถดึงเงินลงทุนมากกว่า 8 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2550 เพียงปีเดียว[64][65]

การพัฒนาอุตสาหกรรมของจีน

เส้นทางรถไฟในประเทศจีนเส้นทางรถไฟความเร็วสูง HSR ของประเทศจีน รถไฟใต้ดินในเซี่ยงไฮ้

เมื่อราวๆ กลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีการวิพากษ์ในหนังสือพิมพ์จีนว่าด้วย การทบทวนและประเมินการพัฒนาอุตสาหกรรมจีนตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 จนปัจจุบัน และเปรียบเทียบกับการพัฒนาอุตสาหกรรมหลังเปิดประเทศปฏิรูปเศรษฐกิจ ซึ่งมีหลากหลายความเห็นที่น่าสนใจที่ไทยอาจต้องศึกษา เพื่อนำมาใช้เป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบายหรือยุทธศาสตร์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมและการลงทุนของประเทศ

เนื่องจากประเทศจีนได้เริ่มพัฒนาตามแบบฉบับอุตสาหกรรมใหม่ (ปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1) ประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว ในช่วงเวลาใกล้เคียงกับประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย และเกิดการชะงักงันเป็นเวลาหลายสิบปีจวบจนกลางศตวรรษที่ 20 และเกือบหยุดสนิทประมาณ 30 ปี เสร็จแล้วใช้เวลาอีก 20 ปี ในการพัฒนาแบบก้าวกระโดดจนกระทั่งเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีในหลายๆ ด้านของโลก

นักวิชาการจีนดังกล่าวมีความเห็นว่า ที่จีนสามารถพัฒนาจนเป็นเช่นนี้ เกิดจากกระแสความคิด 2 กระแส

  1. กระแสแรก จีนได้วางพื้นฐานอุตสาหกรรมหนักไว้ตั้งแต่ต้นและไม่เคยละทิ้ง เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก เครื่องจักรกล เคมี จึงกลายเป็นพื้นฐานรองรับและประกันการพัฒนา
  2. กระแสที่สอง ในช่วงที่จีนเปิดประเทศใหม่ๆ ว่าด้วยแนวทางที่จะนำเข้าเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีกลุ่มหนึ่งเห็นคล้อยตามคำแนะนำของประเทศที่พัฒนาแล้วสมัยนั้นว่า ควรที่จะพัฒนาตามขั้นตอน เนื่องจากเทคโนโลยีจีนขณะนั้นล้าหลังอยู่มาก จึงเลือกนำเข้าเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในระดับก่อนหน้าสมัยนั้น 5-10 ปี

ถึงแม้เทคโนโลยีที่จีนใช้ในขณะนั้นจะล้าหลังในสากลโลก แต่ถือว่าทันสมัยมากสำหรับจีน ในการผลิตและจำหน่ายในตลาดของจีน ซึ่งรับความนิยมสูงมาก เช่น รถยนต์ จักรยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน

ขณะเดียวกัน ก็มีอีกกลุ่มหนึ่งที่เห็นว่า พื้นฐานทางวิชาการและเทคโนโลยีจีนพร้อมอยู่แล้ว จึงเลือกที่จะก้าวกระโดดโดยซื้อเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด ณ ขณะนั้น เช่น ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และการสื่อสาร เทคโนโลยีอวกาศ อุตสาหกรรมเหล็ก ปรากฏในภายหลังว่า ทั้งสองกลุ่มได้พบจุดบรรจบกันในช่วงสิ้นศตวรรษที่ 20 และนำมาซึ่งความร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอีกระลอกดังที่เห็นกันขณะนี้

ผลและสภาพของการพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมของจีนที่เราได้เห็นทุกวันนี้ นักวิชาการจีนส่วนใหญ่มองว่าเป็นผลเกิดจากการปูพื้นฐานทางวิชาการและการพัฒนาอุตสาหกรรมหนักตั้งแต่สมัยแรก กลายเป็นหลักประกันสนับสนุนให้อุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งอุตสาหกรรมเบา เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ ให้พัฒนาอยู่บนขาของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ เช่น เหล็กและโลหะอื่นๆ พลาสติก และเคมี ที่เป็นพื้นฐานนำไปแปรรูปต่อจนจีนสามารถพึ่งพาตนเองได้ในระดับสูงดังที่เป็นอยู่ และเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเทคโนโลยีและสิทธิบัตรตราสินค้าของตนเอง

การท่องเที่ยว

รัฐบาล ไทยและจีนได้ทำความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว เมื่อเดือนสิงหาคม 2536 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการตลาดและการส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่าง ประเทศ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจีนได้อนุญาตให้ชาวจีนเดินทางท่องเที่ยวนอกประเทศโดยให้อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลเท่านั้น ประเทศไทยเป็นกลุ่มแรกร่วมกับสิงคโปร์และมาเลเซียที่ได้รับอนุญาตให้ชาวจีน เดินทางออกไปท่องเที่ยวทัวร์จีน และจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมาประเทศไทยเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ ทำรายได้ให้แก่ประเทศอย่างมาก โดยในขณะเดียวกัน จำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาเที่ยวจีนก็เพิ่มมากขึ้น โดยปี 2557 นักท่องเที่ยวไทยไปเที่ยวจีนจำนวน 613,100 คน (ครั้ง)

ในปี 2557 มีนักท่องเที่ยวจีนเดินทางไปประเทศไทยจำนวน 4,422,100 คน(ครั้ง) จีนเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวเยอะที่สุดไปเที่ยวไทย

ใกล้เคียง

ประเทศจีน ประเทศจีนในโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ประเทศจีนในเอเชียนเกมส์ฤดูหนาว 2017 ประเทศจีนในโอลิมปิกเยาวชนฤดูหนาว 2020 ประเทศจีนในโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ประเทศจีนในเอเชียนเกมส์ 2018 ประเทศจีนในเอเชียนเกมส์ ประเทศจีนในโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อน 2014 ประเทศจีนในโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อน 2010 ประเทศจีนในพาราลิมปิกฤดูร้อน 2016

แหล่งที่มา

WikiPedia: ประเทศจีน http://www.theaustralian.news.com.au/business/stor... http://www.environment.gov.au/soe/2001/publication... http://www.chinadaily.com.cn/bizchina/2008-11/21/c... http://www.chinadaily.com.cn/en/doc/2003-07/11/con... http://www.chinadaily.com.cn/en/doc/2003-12/08/con... http://english.people.com.cn/constitution/constitu... http://english.people.com.cn/english/200003/01/eng... http://english.peopledaily.com.cn/200412/23/eng200... http://english.mofcom.gov.cn/aarticle/newsrelease/... http://www.stats.gov.cn/english/PressRelease/20160...