การเมืองการปกครอง ของ ประเทศสวีเดน

สวีเดนมีการปกครองระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยใช้ระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน มีรัฐสภา

ประมุขแห่งรัฐ

สมเด็จพระราธิบดีคาร์ลที่16 กุสตาฟ พระประมุขของราชอาณาจักรสวีเดนเจ้าหญิงวิกตอเรีย มกุฎราชกุมารีแห่งสวีเดน ว้าที่สมเด็จพระราชินีนาถแห่งสวีเดน

พระมหากษัตริย์สวีเดนเป็นประมุขแห่งรัฐ ซึ่งองค์ปัจจุบันคือสมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นตัวแทนสูงสุดของประเทศ แต่ไม่มีอำนาจทางการเมืองใด ๆ รวมถึงไม่จำเป็นต้องลงพระปรมาภิไธยในการตัดสินใจของรัฐสภาด้วย[3]

จากการแก้ไขกฎการสืบราชสมบัติในปี พ.ศ. 2522 ให้สิทธิเท่าเทียมกันกับรัชทายาททั้งชายและหญิง ทำให้ตำแหน่งรัชทายาทสูงสุดในปัจจุบันเป็นของเจ้าฟ้าหญิงวิกตอเรีย ซึ่งเสด็จพระราชสมภพในปี พ.ศ. 2520

รัฐธรรมนูญ

ดูบทความหลักที่: รัฐธรรมนูญสวีเดน

รัฐธรรมนูญของสวีเดนประกอบด้วยกฎหมายมูลฐานสี่ฉบับ ได้แก่

  • Regeringsformen (เครื่องมือของรัฐบาล พ.ศ. 2517)
  • Successionsordningen (กฎการสืบราชสมบัติ พ.ศ. 2353)
  • Tryckfrihetsförordningen (พระราชบัญญัติเสรีภาพสื่อ พ.ศ. 2309)
  • Yttrandefrihetsgrundlagen (กฎหมายมูลฐานว่าด้วยเสรีภาพในการแสดงออก พ.ศ. 2534)

การแก้ไขหรือยกเลิกรัฐธรรมนูญ จะต้องได้รับความเห็นชอบตรงกันจากรัฐสภาสองครั้ง โดยมีการเลือกตั้งทั่วไปคั่นกลาง นอกจากนี้ยังมีพระราชบัญญัติรัฐสภา พ.ศ. 2517 (Riksdagsordningen) ซึ่งมีสถานะพิเศษ สูงกว่ากฎหมายทั่วไป แต่อยู่ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ[4]

นิติบัญญัติ

ดูบทความหลักที่: ริกซ์ดอก

รัฐสภาของสวีเดน เรียกในภาษาสวีเดนว่าริกซ์ดอก (Riksdag) มีอำนาจนิติบัญญัติ ใช้ระบบสภาเดี่ยวประกอบด้วยสมาชิก 349 คน มาจากการเลือกตั้งทุกๆ 4 ปี การเลือกตั้งนั้นใช้ระบบสัดส่วน โดยพรรคการเมืองจะต้องได้รับเสียงจากทั่วประเทศอย่างน้อยร้อยละ 4 หรืออย่างน้อยร้อยละ 12 ในเขตเลือกตั้ง จึงจะได้รับที่นั่งในรัฐสภา การเลือกตั้งจัดขึ้นทุกๆ 4 ปี โดยครั้งต่อไปในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะต้องมีอายุอย่างน้อย 18 ปีในวันเลือกตั้ง[5]

ก่อนหน้านี้ สวีเดนเคยใช้ระบบสองสภามาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2403 และได้ยกเลิกไปในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเมื่อปีพ.ศ. 2511-2512[6]

บริหาร

หลังจากการเลือกตั้ง พรรคหรือกลุ่มที่ได้มีจำนวนเสียงสูงสุดจะจัดตั้งรัฐบาล โดยรัฐสภาจะเลือกนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่เป็นหัวหน้ารัฐบาล และนายกรัฐมนตรีเลือกรัฐมนตรีเข้าร่วมรัฐบาล นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันได้แก่ เฟดริก รายน์เฟลท์ (Fredrik Reinfeldt) หัวหน้าพรรคโมเดอเรต ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2549[7]

พรรคการเมือง

ปัจจุบัน สวีเดนมีพรรคการเมืองที่มีที่นั่งในสภาอยู่ 7 พรรค[6] ได้แก่

ชื่อชื่อภาษาสวีเดนปีที่ก่อตั้งจำนวนสมาชิกในรัฐสภา
พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยArbetarepartiet Socialdemokraternaพ.ศ. 2432130
พรรคโมเดอเรตModerata samlingspartietพ.ศ. 244797
พรรคกลางCenterpartietพ.ศ. 245629
พรรคเสรีนิยมFolkpartiet liberalernaพ.ศ. 244528
พรรคคริสเตียนเดโมแครตKristdemokraternaพ.ศ. 250724
พรรคซ้ายVänsterpartietพ.ศ. 246022
พรรคกรีนMiljöpartiet de Grönaพ.ศ. 252419

สิทธิมนุษยชน

การแบ่งเขตการปกครอง

การแบ่งการปกครองของประเทศสวีเดน แบ่งตามเทศบาลทั่วประเทศ ในหนึ่งมณฑลจะมีหลายเทศบาล

สวีเดนแบ่งการปกครองออกเป็น 21 เทศมณฑล (län) ได้แก่

  1. เทศมณฑลเบลียกิงเงอ (Blekinge)
  2. เทศมณฑลดอลาร์นา (Dalarna)
  3. เทศมณฑลก๊ทลาน (Gotland)
  4. เทศมณฑลแยฟเลบอร์ย (Gävleborg)
  5. เทศมณฑลฮาลลันด์ (Halland)
  6. เทศมณฑลแยมต์ลันด์ (Jamtland)
  7. เทศมณฑลเยินเชอปิง (Jönköping)
  8. เทศมณฑลครอนอแบร์ย (Kronoberg)
  9. เทศมณฑลคาลมาร์ (Kalmar)
  10. เทศมณฑลนอร์บอตเตน (Norrbotten)
  11. เทศมณฑลเออเรบรู (Örebro)
  12. เทศมณฑลเอิสเตร์เยิตลันด์ (Östergötland)
  13. เทศมณฑลสโกเนอ (Skåne)
  14. เทศมณฑลสต็อกโฮล์ม (Stockholm)
  15. เทศมณฑลเซอเดอร์มานลันด์ (Södermanland)
  16. เทศมณฑลอุปซอลา (Uppsala)
  17. เทศมณฑลแวร์มลันด์ (Värmland)
  18. เทศมณฑลเวสมานลันด์ (Västmanland)
  19. เทศมณฑลเวสเตอร์บอตเตน (Västerbotten)
  20. เทศมณฑลเวสเตอร์นอร์ลันด์ (Västernorrland)
  21. เทศมณฑลเวสตรา เยอตาลันด์ (Västra Götaland)

กองทัพ

ดูบทความหลักที่: กองทัพสวีเดน
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

แหล่งที่มา

WikiPedia: ประเทศสวีเดน http://www.britannica.com/nations/Sweden http://www.law.nyu.edu/centralbankscenter/texts/Sw... http://ec.europa.eu/public_opinion/archives/ebs/eb... http://www.state.gov/r/pa/ei/bgn/2880.htm http://news.thaieurope.net/content/view/1736/42/ http://www.rsf.org/article.php3?id_article=24025 http://www.savethechildren.org/publications/mother... http://www.transparency.org/policy_research/survey... http://hdr.undp.org/hdr2006/pdfs/report/HDR06-comp... http://www.weforum.org/pdf/Global_Competitiveness_...