เศรษฐกิจ ของ ประเทศสโลวาเกีย

ส่วนนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาส่วนนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก

เศรษฐกิจของสโลวาเกียเริ่มมีอัตราการเจริญเติบโตที่สูงขึ้นภายหลังจากที่รัฐบาลของนาย Mikulas Dzurinda ได้เข้ามาบริหารประเทศในปี 2541 โดยนโยบายหลักของรัฐบาลคือการปรับปรุงโครงสร้างทางเศรษฐกิจแบบรวมศูนย์ไปสู่ระบบเศรษฐกิจการตลาด การสร้างเสถียรภาพ และการปฏิรูปโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจมหภาค ตลอดจนดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจและระบบธนาคาร ซึ่งส่งผลให้สภาวะทางเศรษฐกิจของสโลวักมีความมั่นคงและการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น สโลวาเกียเป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ (Foreign Direct Investment) ที่สูงมากเนื่องจากนโยบายรัฐบาลที่เอื้ออำนวยการลงทุนจากต่างชาติ (ธนาคารส่วนใหญ่ในประเทศเป็นของคนต่างชาติ) ศักยภาพการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่สูง เนื่องจากในสมัยสังคมนิยมถูกกำหนดให้เป็นศูนย์อุตสาหกรรมเพื่อผลิตสินค้าจักรกล อุปกรณ์โดยเฉพาะอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ นอกจากนี้สโลวาเกียยังมีข้อได้เปรียบเรื่องค่าแรงที่ถูก และแรงงานมีการศึกษา มีระบบโครงสร้างภาษีที่เอื้ออำนวยต่อนักลงทุน ปัจจุบันมีบริษัทต่างชาติ อาทิ U.S. Steel, Volkswagen, Siemens, Plastic Omnium Matsushita, Deutsche Telecom และ Sony เข้าไปลงทุนในสโลวาเกีย นอกจากนี้ สโลวาเกียยังเป็นฐานการผลิตสินค้าราคาถูกสำหรับประเทศในสหภาพยุโรปอีกด้วย

ภายหลังจากที่นาย Robert Fico เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อปี 2549 มีนโยบายที่เน้นความเป็นชาตินิยมและการปฏิรูประบบสวัสดิการสังคมให้แข็งแกร่งขึ้น ซึ่งน่าจะส่งผลให้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจลดน้อยลงกว่า 2-3 ปีก่อน โดยมีการคาดการณ์กันว่าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจน่าจะอยู่ในระดับร้อยละ 6.5-7 ในปี 2550

การท่องเที่ยว

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้