การเมืองการปกครอง ของ ประเทศอิสราเอล

ยิตซัค ราบิน, บิล คลินตัน และยัสเซอร์ อาราฟัต

อิสราเอลปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยสมาชิกสภาคเนสเซ็ทมีวาระครั้งละ 7 ปี ประธานาธิบดีคนปัจจุบันได้แก่นาย Reuven Rivlin ซึ่งขึ้นดำรงตำแหน่งเมื่อ 24 กรกฎาคม 2014

บริหาร

ดูบทความหลักที่: รัฐบาลอิสราเอล

คณะรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งมีวาระครั้งละ 4 ปี รัฐบาลชุดปัจจุบันมาจากการเลือกตั้งครั้งล่าสุด เมื่อ 22 มกราคม 2556 นำโดยนายกรัฐมนตรี เบนจามิน เนทันยาฮู จากพรรค Likud Yisrael Beiteinu

นิติบัญญัติ

ดูบทความหลักที่: รัฐสภาอิสราเอล

สมาชิกสภา Knesset ซึ่งทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎรและสถาบันทางนิติบัญญัติ ประกอบด้วยสมาชิก 120 คน มีวาระครั้งละ 4 ปี ประกอบด้วยผู้แทนจากพรรคสำคัญ ๆ ดังนี้

  1. Kadima ซึ่งเป็นพรรคสายกลาง 29 ที่นั่ง
  2. Labour ซึ่งเป็นพรรคนิยมซ้าย 19 ที่นั่ง
  3. Shas ซึ่งเป็นพรรคอนุรักษนิยม (Ultra-orthodox) 12 ที่นั่ง
  4. Likud ซึ่งเป็นพรรคนิยมขวาสายกลาง 12 ที่นั่ง
  5. Yisrael Beiteinu ซึ่งเป็นพรรคนิยมขวา 11 ที่นั่ง
  6. Yisrael Beiteinu ซึ่งเป็นพรรคนิยมขวา 11 ที่นั่ง
  7. National Union ซึ่งเป็นพรรคนิยมขวา 9 ที่นั่ง
  8. Gil ซึ่งเป็นพรรคของผู้เกษียณอายุ 7 ที่นั่ง

ตุลาการ

ดูบทความหลักที่: กฎหมายอิสราเอล
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

การแบ่งเขตการปกครอง

อิสราเอล เวสต์แบงก์ และ ฉนวนกาซา

ประเทศอิสราเอลแบ่งเป็น 6 เขต (เมโฮซอต [mehozot]; เอกพจน์ เมฮอซ [mehoz]) และ 13 เขตย่อย (นาฟอต [nafot]; เอกพจน์ นาฟา [nafa])

เขตเมืองเอกนครใหญ่สุดประชากร[194]
ยิวอาหรับรวมหมายเหตุ
เยรูซาเลมเยรูซาเลม700167000000000000067%700132000000000000032%1083300 !1,083,300a
เหนือนาซาเรธอิลลิตนาซาเรธ700143000000000000043%700154000000000000054%1401300 !1,401,300
ไฮฟาไฮฟา700168000000000000068%700126000000000000026%0996300 !996,300
กลางรามลาริชอนเลซิออน700188000000000000088%70008000000000000008%2115800 !2,115,800
เทลอาวีฟเทลอาวีฟ700193000000000000093%70002000000000000002%1388400 !1,388,400
ใต้เบียร์ชีบาอัชดอด700173000000000000073%700120000000000000020%1244200 !1,244,200
ยูเดียและซามาเรียArielModi'in Illit700198000000000000098%50000000000000000000%0399300 !399,300b
^  รวมยิวกว่า 200,000 คนและอาหรับ 300,000 คนในเยรูซาเลมตะวันออก[195]^  เฉพาะพลเมืองอิสราเอล

ดินแดนยึดครอง

ในปี 1967 จากผลแห่งสงครามหกวัน อิสราเอลยึดและยึดครองเวสต์แบงก์ รวมทั้งเยรูซาเลมตะวันออก ฉนวนกาซา และที่ราบสูงโกลัน อิสราเอลยังเคยยึดคาบสมุทรไซนายแต่คืนให้อียิปต์ในส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาสันติภาพอียิปต์–อิสราเอลปี 1979 ระหว่างปี 1982 ถึง 2000 อิสราเอลยึดครองภาคใต้ของเลบานอนบางส่วน ซึ่งเรียก เข็มขัดความมั่นคง นับแต่การยึดดินแดนเหล่านี้ มีการสร้างนิคมและฐานทัพอิสราเอลในพื้นที่ดังกล่าวยกเว้นเลบานอน อิสราเอลยังใช้บังคับกฎหมายพลเรือนแก่ที่ราบสูงโกลันและเยรูซาเลมตะวันออกและให้ผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ดังกล่าวมีสถานภาพผู้อยู่อาศัยถาวรและสามารถสมัครขอรับสัญชาติได้ เวสต์แบงก์นอกนิคมอิสราเอลภายในดินแดนนั้น ยังอยู่ภายใต้การควบคุมทางทหารโดยตรง และชาวปาเลสไตน์ในพื้นที่นี้ไม่สามารถเป็นพลเมืองอิสราเอลได้ อิสราเอลถอนกำลังทหารและรื้อถอนนิคมอิสราเอลในฉนวนกาซาอันเป็นส่วนหนึ่งของการปลดปล่อยจากกาซาแม้ยังควบคุมน่านฟ้าและน่านน้ำต่อ

คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประกาศว่าการผนวกที่ราบสูงโกลันและเยรูซาเลมตะวันออกไม่มีผลและเป็นโมฆะ และยังมองดินแดนดังกล่าวว่าถูกยึดครอง ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ องค์กรตุลาการหลักของสหประชาชาติ ประเมินในการให้คำปรึกษาปี 2004 ว่าด้วยความชอบด้วยกฎหมายของการก่อสร้างกำแพงเวสต์แบงก์ของอิสราเอล ว่าดินแดนที่อิสราเอลยึดในสงครามหกวันรวมทั้งเยรูซาเลมตะวันออกเป็นดินแดนถูกยึดครอง สถานภาพของเยรูซาเลมตะวันออกในการระงับข้อพิพาทสันติภาพในอนาคตใด ๆ บางทีเป็นประเด็นยากในการเจรจาระหว่างรัฐบาลอิสราเอลและผู้แทนชาวปาเลสไตน์ ซึ่งอิสราเอลมองว่าเป็นดินแดนเอกราชของประเทศ เช่นเดียวกับเป็นส่วนหนึ่งของเมืองหลวง การเจรจาส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับดินแดนนี้เป็นพื้นฐานของข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 242 ซึ่งครอบคลุม "การอยมรับไม่ได้ซึ่งการได้มาซึ่งดินแดนจากสงคราม" และเรียกร้องให้อิสราเอลถอนกำลังจากดินแดนยึดครองเพื่อแลกกับการฟื้นความสัมพันธ์กับรัฐอาหรับ ซึ่งเป็นหลักการที่เรียก "แลกดินแดนกับสันติภาพ"

ผู้สังเกตการณ์บางส่วนมองว่า อิสราเอลเข้าร่วมการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นระบบและกว้างขวางในดินแดนยึดครอง ซึ่งรวมทั้งการยึดครอง และอาชญากรรมสงครามต่อพลเรือน คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติกล่าวหาว่าละเมิดกฎหมายมนุษยธรรมสากล กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐกล่าวหาว่าผู้อยู่อาศัยท้องถิ่นมี "ความสามารถจำกัดในการเอาผิดกับทางการปกครองสำหรับการละเมิดเช่นว่า" องค์การนิรโทษกรรมสากลกล่าวหาว่าจับกุมหมู่ตามอำเภอใจ ทรมาน ฆ่าคนไม่ชอบด้วยกฎหมาย ละเมิดอย่างเป็นระบบและการไม่ต้องถูกลงโทษ เป็นต้น และการปฏิเสธสิทธิการกำหนดการปกครองด้วยตนเองของปาเลสไตน์ นายกรัฐมนตรีเนทันยาฮูตอบโต้ข้อกล่าวหาเหล่านี้โดยการให้ท้ายกำลังความมั่นคงของประเทศสำหรับการคุ้มครองผู้บริสุทธิ์จากผู้ก่อการร้าย และแสดงความรังเกียจสิ่งที่เขาอธิบายว่าไม่มีความกังวลเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ "ฆาตกรอาชญากร" เป็นผู้ก่อ ผู้สังเกตการณ์บางส่วน เช่น ข้าราชการอิสราเอล นักวิชาการ เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำสหประชาชาติ นิกกี เฮลีย์ และเลขาธิการสหประชาชาติ พัน กี-มุน และโคฟี อันนัน ก็ยืนยันว่ายูเอ็นกังวลกับความประพฤติมิชอบของอิสราเอลอย่างไม่ได้สัดส่วน

กำแพงเวสต์แบงก์อิสราเอลที่กั้นอิสราเอลกับเวสต์แบงก์

เวสต์แบงก์ถูกจอร์แดนยึดครองและผนวกในปี 1950 หลังฝ่ายอาหรับปฏิเสธคำวินิจฉัยของสหประชาชาติให้สร้างสองรัฐในปาเลสไตน์ เฉพาะบริเตนที่รับรองการผนวกดินแดนนี้และนับแต่นั้นจอร์แดนสละการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนนั้นให้ PLO ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวปาเลสไตน์ รวมทั้งผู้ลี้ภัยจากสงครามอาหรับ–อิสราเอลปี 1948 นับแต่การยึดครองในปี 1967 ถึงปี 1993 ชาวปาเลสไตน์ที่อาศัยอยู่ในดินแดนเหล่านี้อยู่ภายใต้ฝ่ายปกครองทหารของอิสราเอล นับแต่จดหมายรับรองของอิสราเอล – PLO ประชากรและนครปาเลสไตน์ส่วนมากอยู่ภายใต้เขตอำนาจภายในขององค์การบริหารปาเลสไตน์ และอยู่ในการควบคุมของกองทัพอิสราเอลบางส่วนเท่านั้น แม้อิสราเอลวางกำลังพลและรื้อฟื้นฝ่ายปกครองทหารอย่างสมบูรณ์หลายโอกาสระหว่างสมัยความไม่สงบ เพื่อตอบโต้การโจมตีที่เพิ่มขึ้นระหว่างอินติฟาดาครั้งที่สอง รัฐบาลอิสราเอลเริ่มก่อสร้างกำแพงเวสต์แบงก์ของอิสราเอล เมื่อสเจสมบูรณ์ กำแพงประมาณร้อยละ 13 จะมีการก่อสร้างบนเส้นเขียวหรือในประเทศอิสราเอล ส่วนอีกร้อยละ 87 อยู่ในเวสต์แบงก์

ฉนวนกาซาถูกอียิปต์ยึดครองตั้งแต่ปี 1948 ถึง 1967 และอิสราเอลยึดครองต่อมาหลังปี 1967 จากนั้นในปี 2005 เป็นส่วนหนึ่งของแผนปลดปล่อยฝ่ายเดียว อิสราเอลถอนผู้ตั้งถิ่นฐานและกำลังทั้งหมดจากดินแดน อิสราเอลยังไม่ถือฉนวนกาซาว่าเป็นดินแดนยึดครองและประกาศว่าเป็น "ดินแดนต่างด้าว" ทัศนะนี้ถูกองค์การมนุษยธรรมระหว่างประเทศหลายองค์การและองค์กรต่าง ๆ ของสหประชาชาติ หลังยุทธการที่กาซาปี 2007 เมื่อฮามาสเถลิงอำนาจในฉนวนกาซา อิสราเอลคุมเข้มการควบคุมจุดผ่านแดนกาซาตรงชายแดน เช่นเดียวกับทางทะเลและอากาศ และห้ามบุคคลเข้าออกพื้นที่ยกเว้นกรณีที่มองว่าเป็นมนุษยธรรมเป็นกรณี ๆ ไป กาซามีชายแดนกับอียิปต์และความตกลงกับอิสราเอล สหภาพยุโรปและองค์การบริหารปาเลสไตน์ควบคุมที่ข้ามแดน

แหล่งที่มา

WikiPedia: ประเทศอิสราเอล http://www.smh.com.au/news/world/battleground-gaza... http://www.answers.com/topic/return-to-zion http://www.bbc.com/news/world-middle-east-14724842 http://www.bbc.com/news/world-middle-east-42218042 http://go.galegroup.com/ps/i.do?id=GALE%7CCX258751... http://www.goisrael.com/Tourism_Eng/Pages/home.asp... http://www.haaretz.com/hasen/spages/959229.html http://www.haaretz.com/news/idf-begins-gaza-troop-... http://www.haaretz.com/news/two-idf-soldiers-civil... http://www.haaretz.com/news/who-life-expectancy-in...