ประวัติศาสตร์ ของ ประเทศไต้หวัน

ก่อนประวัติศาสตร์

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

อาณานิคมในศตวรรษที่ 17

บริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ได้เข้ามาจัดตั้งสถานีการค้าขึ้นที่หมู่เกาะเผิงหูในปี พ.ศ. 2165 (ค.ศ. 1622) แต่ในภายหลังเนเธอร์แลนด์ได้แพ้สงครามกับจีนและถูกขับไล่ออกไปโดยราชวงศ์หมิง[18]

ในปี พ.ศ. 2167 (ค.ศ. 1624) บริษัทได้สร้างฐานที่มั่นซึ่งมีชื่อว่าป้อมซีแลนเดียบนเกาะชายฝั่งเถาหยวน ซึ่งปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ของเขตอานผิง เมืองไถหนัน และบริษัทได้เริ่มนำเข้าแรงงานมาจากมณฑลฝูเจี้ยนและเผิงหู

ในปี พ.ศ. 2169 (ค.ศ. 1626) ชาวสเปนเดินทางมาถึงและได้เข้ายึดครองบริเวณทางตอนเหนือของไต้หวัน ที่ท่าเรือของนครจีหลงและบริเวณชายฝั่งของนครซินเป่ย์ในปัจจุบัน เพื่อเป็นฐานในการขยายการค้า กลายเป็นยุคอาณานิคมของสเปนอยู่ 16 ปีจนกระทั่ง พ.ศ. 2185 (ค.ศ. 1642) เมื่อป้อมปราการสุดท้ายของสเปนถูกกองทัพเนเธอร์แลนด์เข้าตีได้สำเร็จ

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ราชวงศ์ชิง

ภาพวาดชาวพื้นเมืองไต้หวันกำลังล่ากวาง สมัยราชวงศ์ชิง ปี ค.ศ 1796

ในปี ค.ศ. 1638 หลังการพ่ายแพ้ของหลานชายของเจิ้ง เฉิงกง จากการบุกโจมตีทางทัพเรือของราชวงศ์ชิงแมนจูที่นำทัพโดยชื่อ หลางจากทางตอนใต้ของมณฑลฝูเจี้ยนทำให้ราชวงศ์ชิงผนวกยึดเกาะไต้หวันมาเป็นส่วนหนึ่งได้สำเร็จ และวางไว้ภายใต้เขตอำนาจของมณฑลฝูเจี้ยน ราชสำนักของราชวงศ์ชิงพยายามลดการละเมิดลิขสิทธิ์และความไม่ลงรอยกันในพื้นที่โดยออกกฎหมายเพื่อจัดการตรวจคนเข้าเมืองและเคารพสิทธิในที่ดินของชนพื้นเมืองไต้หวัน ผู้อพยพจากฝูเจี้ยนทางใต้ส่วนใหญ่ยังคงเดินทางไปไต้หวัน เขตแดนระหว่างดินแดนที่เสียภาษีและสิ่งที่ถูกพิจารณาว่าเป็นดินแดน "เขตอันตราย" เปลี่ยนไปทางทิศตะวันออกโดยชาวพื้นเมืองบางคนเข้ารีตรับวัฒนธรรมแบบจีน ในขณะที่คนอื่น ๆ ถอยกลับเข้าไปในภูเขา ในช่วงเวลานี้มีความขัดแย้งจำนวนมากระหว่างกลุ่มชาวจีนฮั่นด้วยกันเองจากภูมิภาคต่าง ๆ ของฝูเจี้ยนทางใต้โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างเฉวียนโจวกับฉางโจว และระหว่างฝูเจี้ยนตอนใต้และชาวพื้นเมืองไต้หวัน

จักรวรรดิญี่ปุ่น

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

เส้นทางการอพยพหนีภัยของรัฐบาลจีนคณะชาติ (พรรคก๊กมินตั๋ง) ไปยังเมืองไทเป เกาะไต้หวันแผนที่หลังสงครามกลางเมืองจีนยุติ
*สาธารณรัฐประชาชนจีน จีนแผ่นดินใหญ่ที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนยึดครอง      (สีแดง)
*สาธารณรัฐจีนที่รัฐบาลจีนคณะชาติลี้ภัยมาที่เกาะไต้หวัน      (สีน้ำเงิน)

พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) การจลาจลอู่ฮั่นในประเทศจีน เป็นจุดเริ่มต้นการล่มสลายของราชวงศ์ชิงเมื่อพรรคคอมมิวนิสต์จีนเข้ามามีอำนาจในจีนแผ่นดินใหญ่เมื่อ พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) พรรคก๊กมินตั๋ง พรรคการเมืองเมืองชาตินิยมของจีนที่เป็นฝ่ายแพ้ก็พาผู้คนอพยพหนีออกจากแผ่นดินใหญ่มาตั้งหลักที่ไต้หวัน เพื่อวางแผนกลับไปครองอำนาจในจีนต่อไป

ชาวจีนมากกว่า 1 ล้าน 5 แสนคน อพยพตามมาอยู่ที่เกาะไต้หวันในยุคที่ เหมา เจ๋อตง มีอำนาจเต็มที่ในจีนแผ่นดินใหญ่ ผู้นำของประเทศทั้งสองจีน คือผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์กับผู้นำสาธารณรัฐจีนบนเกาะไต้หวัน แย่งกันเป็นกระบอกเสียงของประชาชนจีนในเวทีโลก แต่เสียงของนานาประเทศส่วนใหญ่เกรงอิทธิพลของจีนแผ่นดินใหญ่ จึงให้การยอมรับจีนแผ่นดินใหญ่มากกว่า

พรรคก๊กมินตั๋งเรืองอำนาจ

ในปี พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) ก่อนที่นายพล เจียง ไคเช็ก (General Chiang Kaishek) (ภาษาจีน:蔣中正) จะถึงอสัญกรรมไม่กี่ปี สาธารณรัฐจีนซึ่งเป็นประเทศที่ร่วมก่อตั้งองค์การสหประชาชาติได้สูญเสียสมาชิกภาพในฐานะตัวแทนชาวจีนให้กับสาธารณรัฐประชาชนจีน ในปี พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) สหประชาชาติก็ประกาศรับรองจีนเดียวคือจีนแผ่นดินใหญ่และตัดสัมพันธ์ทางการเมืองกับสาธารณรัฐจีน ทั้งสหรัฐอเมริกาก็ได้ถอนการรับรองว่าสาธารณรัฐจีนมีฐานะเป็นรัฐ ไต้หวันจึงกลายเป็นเพียงดินแดนที่จีนอ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

เมื่อเจียง ไคเช็ก ถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) ลูกชายที่ชื่อ เจี่ยง จิงกั๋ว (Chiang Chingkuo) ได้เป็นผู้สืบทอดการปกครองไต้หวันต่อและเริ่มกระบวนการ วางรากฐานไปสู่ประชาธิปไตย

ปฏิรูปประชาธิปไตย

ในปี ค.ศ. 1988 หลี่ เติงฮุย ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีที่เป็นชาวพื้นเมืองไต้หวันคนแรกของสาธารณรัฐจีนและได้รับการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยในปี ค.ศ. 1996

หลังจากที่ประธานาธิบดี เจียง จิงกั๋ว เสียชีวิต ไต้หวันจึงได้เข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยเต็มรูปแบบ ประธานาธิบดีคนใหม่ ซึ่งเกิดในไต้หวัน ชื่อ หลี่ เติงฮุย (Lee Tenghui) ขึ้นบริหารประเทศ โดยการสนับสนุนของเจี่ยง จิงกั๋ว (Chiang Chingkuo) ทั้งที่ หลี่ เติงฮุย (Lee Tenghui) นั้นเคลื่อนไหวสนับสนุนเอกราชไต้หวัน นาย รัฐบาลจีนที่ปักกิ่งได้ตั้งฉายาประธานาธิบดีไต้หวันคนใหม่ว่า "จิ้งจกปากหวาน" (A sweet-Talking Chameleon) ช่วงเวลาที่นายหลี่ เติงฮุย เป็นประธานาธิบดี การเมืองของไต้หวันเกิดการแตกแยกออกเป็น 3 ฝ่ายคือ 1) พวกก๊กมินตั๋ง ที่ต้องการกลับไปรวมประเทศกับจีนแผ่นดินใหญ่ (รวมจีนแผ่นดินใหญ่ภายใต้การปกครองของสาธารณรัฐจีน) 2) พวกที่ต้องการให้ไต้หวันเป็นประเทศอิสระไม่เกี่ยวข้องกับจีนแผ่นดินใหญ่ และ 3) พวกที่ต้องการดำรงฐานะของประเทศไว้ดังเดิมต่อไป

ไต้หวันกับจีนแผ่นดินใหญ่นัดเจรจาหาทางออกของข้อขัดแย้งทางการเมืองครั้งแรกที่สิงคโปร์เมื่อปี พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) แต่ปรากฏว่าจีนแผ่นดินใหญ่ประวิงเวลาการลงนามในสัญญาหลายฉบับที่เป็นข้อตกลงร่วมกัน ทำให้ผลของการเจรจาคราวนั้นไม่ก้าวหน้าไปถึงไหน ความสัมพันธ์ระหว่างสองจีนเลวร้ายลงทุกที เมื่อประธานาธิบดี หลี่ เติงฮุย เดินทางไปเยือนสหรัฐอเมริกาและได้รับการยอมรับอย่างเอิกเกริก ทำให้จีนแผ่นดินใหญ่ไม่พอใจเป็นอย่างมาก จึงกระทำการข่มขวัญไต้หวันกับประเทศที่ให้การสนับสนุนไต้หวัน ด้วยการทำการซ้อมรบขึ้นใกล้ ๆ เกาะไต้หวัน สหรัฐอเมริกาออกมาแสดงอาการปกป้องคุ้มครองไต้หวันด้วยการส่งกำลังกองเรือรบของสหรัฐฯ มาป้วนเปี้ยนอยู่ในน่านน้ำที่จีนซ้อมรบ

ขณะที่โลกกำลังล่อแหลมกับสถานการณ์ที่ตึงเครียดในน่านน้ำจีนมากขึ้นทุกทีนั้น ไต้หวันก็จัดให้มีการเลือกตั้งครั้งใหม่ และในการเลือกตั้งครั้งใหม่นั้นเอง ไต้หวันก็ได้นายหลี่ เติงฮุย เป็นประธานาธิบดีอีกครั้ง

ไต้หวันเข้าสู่สภาวะวิกฤต เมื่อเกิดแผ่นดินไหวครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) ทำให้ประชากรส่วนมากที่เป็นชาวพื้นเมืองเสียชีวิตไป 2,000 คน ทั้งเมืองมีแต่เศษซากสิ่งปรักหักพังที่เกิดจากภัยธรรมชาติ และช่วงนี้ไต้หวันต้องเผชิญความยากลำบากจากภัยธรรมชาติร้ายแรง จีนแผ่นดินใหญ่ก็เพิ่มความกดดันไม่ให้นานาชาติเข้ามายุ่งเกี่ยวกับไต้หวันแม้ในยามคับขันเช่นนี้ โดยออกมาประกาศว่า หากมีประเทศใดจะเข้าไปให้ความช่วยเหลือไต้หวัน จะต้องได้รับอนุญาตจากจีนก่อน ซึ่งคำประกาศของจีนแผ่นดินใหญ่สวนทางกับเมตตาธรรมของประเทศทั่วโลกที่ต้องการให้ความช่วยเหลือไต้หวัน

เดือนมีนาคม พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) มีการเลือกตั้งใหม่ในไต้หวัน ชาวไต้หวันเลือกผู้แทนจากพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า คือ นายเฉิน สุยเปี่ยน (Chen Shui-bian) เป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของไต้หวัน ผู้ประกาศนโยบายการเมืองแข็งกร้าวว่าไต้หวันต้องการแยกตัวเป็นอิสระจากจีนแผ่นดินใหญ่ ยุติยุคของพรรคชาตินิยมที่ยังฝักใฝ่แผ่นดินใหญ่อยู่ จีนแผ่นดินใหญ่จึงถือว่าเป็นกบฏต่อการปกครองของจีน เพราะแต่ไหนแต่ไรมา ไต้หวันไม่เคยประกาศอย่างเป็นทางการว่าไต้หวันเป็นประเทศอิสระแยกจากจีน และจีนพูดอยู่เสมอว่าไต้หวันเป็นเด็กในปกครองที่ค่อนข้างจะหัวดื้อและเกเร หากไต้หวันประกาศว่าเป็นอิสระจากจีนเมื่อใด จีนก็จะยกกำลังจัดการกับไต้หวันทันที

ในขณะที่ความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างสองจีนในสายตาชาวโลกเลวร้ายลง จีนทั้งสองกลับมีการติดต่อทางการค้ากันมากขึ้น มีการผ่อนปรนอนุญาตให้ชาวไต้หวันเดินทางไปจีนแผ่นดินใหญ่เพื่อเยี่ยมญาติได้ เกิดปรากฏการสำคัญคือนักธุรกิจไต้หวันหอบเงินทุนมากกว่า 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไปลงทุนดำเนินธุรกิจทางตอนใต้ของจีนแผ่นดินใหญ่ จนกระทั่งขณะนี้ชาวไต้หวันกลายเป็นนักลงทุนรายใหญ่เป็นลำดับ 2 ของจีน

วันที่ 24 พฤษภาคม 2560 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ากฎหมายสมรสปัจจุบันในเวลานั้นละเมิดรัฐธรรมนูญโดยปฏิเสธสิทธิสมรสของคู่รักเพศเดียวกันชาวไต้หวัน ศาลวินิจฉัยว่าหากสภานิติบัญญัติไม่ผ่านการแก้ไขกฎหมายที่เพียงพอต่อกฎหมายสมรสของไต้หวันภายในสองปี การสมรสเพศเดียวกันจะชอบด้วยกฎหมายโดยอัตโนมัติในไต้หวัน[19] วันที่ 17 พฤษภาคม 2562 สภานิติบัญญัติไต้หวันอนุมัติร่างกฎหมายทำให้การสมรสเพศเดียวกันชอบด้วยกฎหมาย ทำให้เป็นประเทศแรกในทวีปเอเชียที่ผ่านกฎหมายดังกล่าว[20][21]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ประเทศไต้หวัน http://palaeoworks.anu.edu.au/pubs/Birdetal04.pdf http://www.britannica.com/EBchecked/topic/580902/T... http://forums.chinatimes.com/report/goldfile/serie... http://www.govivigo.com/trips/18-%E0%B9%80%E0%B8%9... http://afs.sagepub.com/content/29/1/57 http://www.taipeitimes.com/News/editorials/archive... http://www.taipeitimes.com/News/taiwan/archives/20... http://www.taipeitimes.com/News/taiwan/archives/20... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1876738 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17160892