ปรัชญา
ปรัชญา

ปรัชญา

คำว่า ปรัชญา (มีที่มาจากภาษาสันสกฤต प्रज्ञा ปฺรชฺญา) หมายถึง "ความรู้" (ซึ่งเป็นคำเดียวกันใน ภาษาบาลี คือคำว่า ปัญญา) เป็นศัพท์บัญญัติแทนคำว่า philosophy ในภาษาอังกฤษ (ที่มีรากศัพท์มาจากคำกรีกโบราณ: Φιλοσοφία ฟีโลโซเฟีย) ซึ่งอาจเป็นไปได้ที่้ไพธากอรัสเป็นผู้บัญญัติไว้ เมื่อราวปี 570-495 ก่อนค.ศ. โดยเกิดจากการสมาสคำว่า φιλος พีลอส แปลว่า ความรัก และ σοφία โซเฟีย แปลว่าความรู้ เมื่อรวมกันจึงมีความหมายว่า ความรักในความรู้ หรือ ความปรารถนาจะเข้าถึงความรู้ปรัชญา ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า วิชาว่าด้วยหลักแห่งความรู้และหลักแห่งความจริง โดยในบรรดาความรู้ทั้งหลายของมนุษยชาตินั้น อาจแบ่งได้เป็นสองเรื่องใหญ่ ๆ เรื่องที่หนึ่ง คือ เรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติ เช่น ฟิสิกส์ มีเป้าหมายในการศึกษาเพื่อหาความจริงต่าง ๆ และเข้าใจในธรรมชาติมากกว่าสิ่งรอบตัวเพราะรวมไปถึงจักรวาลทั้งหมดอย่างลึกซึ้ง ชีววิทยา มีเป้าหมายในการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย เคมี มีเป้าหมายในการศึกษาเกี่ยวกับธาตุและองค์ประกอบของธาตุ เป็นต้น นับแต่สมัยกรีกโบราณมาจนถึงศตวรรษที่ 19 การศึกษาวิชาดาราศาสตร์ การแพทย์ และฟิสิกส์ เคยถูกรวมอยู่สาขาปรัชญาธรรมชาติ (Natural philosophy) จนกระทั่งการเติบโตของมหาวิทยาลัยสมัยใหม่ ส่งผลให้นักวิชาการหันไปพัฒนาศาสตร์เฉพาะทางขึ้นมา เรื่องที่สอง คือ เรื่องเกี่ยวกับสังคม เช่น เศรษฐศาสตร์ มีเป้าหมายในการศึกษาเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจของสังคม รัฐศาสตร์ มีเป้าหมายในการศึกษาเกี่ยวกับระบบการเมืองการปกครองของสังคม นิติศาสตร์ มีเป้าหมายในการศึกษาเกี่ยวกับระบบกฎหมายของสังคม เป็นต้นเป้าหมายในการศึกษาของปรัชญา คือการครอบคลุมความรู้และความจริงในทุกศาสตร์และในทุกสาขาความรู้ของมนุษย์ รวมทั้งชีวิตประจำวันของตนด้วย ผลจากการศึกษาของปรัชญาก็สามารถนำไปใช้อ้างอิงได้ ผู้ที่มีความรู้ อุทิศตนเพื่อการศึกษาและการผลิตองค์ความรู้ในทางด้านนี้ เรียกกันว่า นักปรัชญา ปราชญ์ หรือ นักปราชญ์