ปลากะรังจุดฟ้าจุดเล็ก
ปลากะรังจุดฟ้าจุดเล็ก

ปลากะรังจุดฟ้าจุดเล็ก

ปลากะรังจุดฟ้าจุดเล็ก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Plectropomus leopardus) เป็นปลากระดูกแข็งในวงศ์ปลากะรัง (Serranidae) วงศ์ย่อย Epinephelinae มีชื่อสามัญอื่น ๆ ว่า "ปลากุดสลาด", "ปลาเก๋าจุดฟ้า" หรือ "ปลาย่ำสวาท" เป็นต้น[2]ปลากะรังจุดฟ้าจุดเล็กมีลำตัวแบนยาว มีความยาวลำตัวได้จนถึง 120 เซนติเมตร บริเวณรอบดวงตาแบน ไม่มีเกล็ด ก้านซี่เหงือกจำนวน 6–10 อัน หลังมีก้านครีบแข็ง 7–8 ก้าน ครีบที่ 3 หรือ 4 ยาวที่สุด ก้านครีบอ่อน 10–12 อัน ครีบอกมีก้านครีบอ่อน 15–17 อัน ครีบก้นมีก้านครีบแข็ง 3 อัน และก้านครีบอ่อน 8 อัน หางเป็นแบบตรงเว้ากลางเล็กน้อย สีลำตัวมีหลากหลายตั้งแต่สีเขียวมะกอกถึงแดงน้ำตาล สีส้มแดงถึงแดงเข้ม จะมีจุดสีฟ้าเล็ก ๆ บนหัวและแก้มมากกว่า 10 จุด และที่ลำตัว ยกเว้นใต้ท้องพบในทะเลความลึกตั้งแต่ 3–100 เมตร พบชุกชุมแถบทะเลเขตร้อน ได้แก่ ประเทศไทย, อินเดีย, ศรีลังกา, พม่า, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, สิงคโปร์, ออสเตรเลียตอนเหนือ, ทะเลแดง, ทะเลอาหรับ และทวีปแอฟริกาตอนใต้ ในเขตอบอุ่นพบบ้างแต่ไม่มากเท่า ปลากะรังจุดฟ้าจุดเล็กสืบพันธุ์วางไข่ในทะเล ลูกปลาจะเข้ามาเจริญเติบโตอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลหรือปากแม่น้ำ สามารถเปลี่ยนเพศได้ ขนาดสมบูรณ์เพศอายุประมาณ 3 ปี น้ำหนักตัวประมาณ 3 กิโลกรัม จะเป็นเพศเมียทั้งหมด เมื่อปลาเจริญเติบโตมีน้ำหนักตัวประมาณ 7 กิโลกรัม ก็จะเปลี่ยนเป็นเพศผู้ ดังนั้นการผสมพันธุ์ของปลาชนิดนี้ในธรรมชาติจะเกิดจากปลาเพศผู้ที่มีขนาดใหญ่กับปลาเพศเมียที่มีขนาดเล็กกว่า ฤดูกาลผสมพันธุ์อยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายนจนถึงเมษายน แต่ละตัวสามารถวางไข่ได้ 208,000–269,500 ฟอง โดยปริมาณและคุณภาพของไข่ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของตัวปลาปลากะรังจุดฟ้าจุดเล็กเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีเนื้อรสชาติอร่อย มีราคาขายที่สูงกว่าปลากะรังชนิดอื่น ๆ โดยมีราคาขายตกถึงตัวละ 750–800 บาท จึงมีการเพาะเลี้ยงกันในกระชัง