ฝุ่นควันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

หมอกควันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นปัญหามลพิษทางอากาศขนาดใหญ่ซึ่งเกิดเป็นประจำ ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและเศรษฐกิจของประเทศบรูไนดารุสซาลาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์และไทย ซึ่งสองประเทศหลังมีขอบเขตปัญหาน้อยกว่าสี่ประเทศข้างต้น[1][2] ปัญหาดังกล่าวปะทุขึ้นทุกฤดูแล้งโดยมีความรุนแรงมากน้อยต่างกัน[3] มีบันทึกหมอกควันข้ามแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาตั้งแต่ปี 2515[4]หมอกควันดังกล่าวส่วนใหญ่เกิดจากไฟเกษตรกรรมมิชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากการทำไร่เลื่อนลอย (slash-and-burn) ในขนาดอุตสาหกรรมในประเทศอินโดนีเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากจังหวัดสุมาตราใต้และรีเยาบนเกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียวส่วนของอินโดนีเซีย[5][6][7] ที่ดินซึ่งถูกเผานั้นสามารถขายได้ในราคาสูงกว่าอย่างผิดกฎหมาย และมีการนำไปใช้สำหรับกิจกรรมอย่างการปลูกน้ำมันปาล์มและไม้ทำเยื่อกระดาษ (pulpwood) การเผามีราคาถูกกว่าและเร็วกว่าการตัดและการเก็บกวาดโดยใช้รถขุดหรือเครื่องจักรอื่น[5][8]

ใกล้เคียง

ฝุ่นควันในภาคเหนือของประเทศไทย ฝุ่นควัน ฝุ่นควันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฝุ่นควันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ.ศ. 2562 ฝุ่นคอสมิก ฝุ่นคันทอร์ ฝุ่นควันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ค.ศ. 2013 ฝุ่น ฝุ่นละออง ฝุ่นจักรราศีนอกระบบ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฝุ่นควันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ http://news.asiaone.com/news/singapore/southeast-a... http://www.straitstimes.com/asia/se-asia/lucrative... http://www.straitstimes.com/asia/se-asia/minister-... http://www.straitstimes.com/singapore/environment/... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/29209970 http://haze.asean.org/?page_id=213 //doi.org/10.1007%2Fs11356-017-0860-y //www.worldcat.org/issn/1614-7499 https://www.bbc.com/news/world-asia-34265922 https://www.economist.com/blogs/economist-explains...