พระพิมพ์_สมเด็จพระแก้วมณีโชติ
พระพิมพ์_สมเด็จพระแก้วมณีโชติ

พระพิมพ์_สมเด็จพระแก้วมณีโชติ

ในปี พ.ศ. 2511คณะกรรมการพุทธสมาคมจังหวัดพิษณุโลก นำโดยนายละเมียด อัมพวะศิริ นายกพุทธสมาคมจังหวัดพิษณุโลก และนายเนียม สุขแก้ว เลขานุการพุทธสมาคมจังหวัดพิษณุโลก ทราบว่า ท่านพระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย สมฺปนฺโน) เจ้าอาวาสวัดสระแก้วปทุมทอง และเจ้าคณะอำเภอเมืองพิษณุโลก เป็นพระเถราจารย์ในภาคเหนือตอนล่างที่เก็บสะสมมวลสารโบราณไว้มากมายทั้งยังครอบครองดูแลวัตถุโบราณหายากอันทรงคุณค่า และเป็นผู้นำเอาดินก้นกรุและโอ่งใต้ฐานสมเด็จพระนางพญา วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลกมาเก็บไว้ คณะกรรมการพุทธสมาคมจังหวัดพิษณุโลก และพลเอกสำราญ แพทยกุล แม่ทัพกองทัพภาคที่ 3 ในขณะนั้นจึงได้กราบนิมนต์ ท่านพระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย สมฺปนฺโน) เป็นแม่งานรับผิดชอบในการจัดสร้างพระพิมพ์ชนิดผง และดินผสมผงเก่า เพื่อใช้ในการประกอบพิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก วันที่ 19 – 20 มกราคม 2515 ณ พระวิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร (วัดใหญ่) พิษณุโลก ตามคำเสนอแนะของเจ้าคุณพระพิษณุบุราจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก ในสมัยนั้นโดยการนี้ท่านพระครูศีลสารสัมบัน เริ่มต้นกดพิมพ์พระ เผาพระ และอบพระตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 เป็นต้นมา ครั้งนั้นได้มีการปิดพระอุโบสถวัดสระแก้วปทุมทอง จังหวัดพิษณุโลก เพื่อจัดพิมพ์พระเครื่องรุ่นปี 2515 และหนึ่งในนั้นคือ พระพิมพ์ สมเด็จพระแก้วมณีโชติ เนื้อดินและผง หลังยันต์แก้วมณีโชติ พิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่

พระพิมพ์_สมเด็จพระแก้วมณีโชติ

ความสำคัญ วัตถุมงคลของจังหวัดพิษณุโลก
หมายเหตุ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2515
ประเภท พระเครื่อง
ศิลปะ ปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย
ความกว้าง 3 ซม.
ความสูง 2.5 ซม.
ชื่อสามัญ พระแก้วมณีโชติ
สถานที่ประดิษฐาน วัดสระแก้วปทุมทอง
ชื่อเต็ม พระพิมพ์ สมเด็จพระแก้วมณีโชติ
วัสดุ เนื้อผงและดินผสมผง

ใกล้เคียง

พระพิจารณ์พลกิจ (ยู่เซ็ก ดุละลัมพะ) พระพิรุณ พระพิมลธรรม (ชอบ อนุจารี) พระพินิจชนคดี (พินิจ อินทรทูต) พระพิราพ พระพิมลพัฒนาทร (พวน วรมงฺคโล) พระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺโต) พระพิทักษ์เจดีย์ (ถง รามางกูร) พระพิมลธรรม (นาค สุมนนาโค) พระพิมลธรรม