พระราชวังบวรสถานพิมุข
พระราชวังบวรสถานพิมุข

พระราชวังบวรสถานพิมุข

พระราชวังบวรสถานพิมุข หรือ วังหลัง คือ วังของสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ ซึ่งทรงเป็นกรมพระราชวังบวรสถานพิมุขในรัชกาลที่ 1 สร้างขึ้นที่ตำบลสวนลิ้นจี่ ตั้งแต่เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ ถือว่าเป็นพระราชนิเวศน์เดิมของพระองค์ท่าน พื้นที่ดังกล่าวนี้มีขอบเขตทางทิศเหนือจรดกำแพงเมืองธนบุรีเดิม ทางทิศใต้จรดฉางเกลือ วังหลังนี้เป็นกำลังสำคัญที่จะป้องกันพระนครทางทิศตะวันตกฝ่ายเหนือจากการรุกรานของข้าศึก ถัดจากวังหลังลงไปเป็นตำบลสวนมังคุด ซึ่งเป็นบ้านเดิมของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี ต่อไปเป็นบ้านปูนและบ้านขมิ้นตามลำดับ ครั้นกรมพระราชวังหลังทิวงคตแล้ว วังก็ถูกแบ่งออกเป็นตอน ๆ ตอนพระมนเทียรสถานเดิม เจ้าครอกทองอยู่ ที่เรียกกันทั่วไปว่า "เจ้าครอกข้างใน" ประทับอยู่ ทางตอนใต้แบ่งออกเป็น 3 วัง คือ ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เชื้อสายกรมพระราชวังหลังไม่มีกำลังที่จะดูแลรักษาวัง จึงได้ปล่อยให้ร้างอยู่อย่างนั้น โดยที่รอบ ๆ เป็นที่อยู่ของราชสกุลเสนีวงศ์หรือปาลกะวงศ์ ซึ่งเป็นเชื้อสายของกรมพระราชวังหลังในปัจจุบัน ที่เหลือกลายเป็นที่ดินราษฎรไปคณะกรรมการสร้างโรงพยาบาลศิริราชได้ขอพระราชทานที่แปลงใต้ คือ วังกรมหมื่นนราเทเวศร์ มาเป็นพื้นที่สำหรับสร้างโรงพยาบาล ต่อมาโรงพยาบาลศิริราชได้ขยายออกไปจนเกือบเต็มวังหลัง โดยได้รับพระราชทานพื้นที่เพิ่มเติมบ้าง เวนคืนด้วยเงินงบประมาณบ้าง ส่วนเขตวังหลังส่วนเหนือซึ่งเป็นที่ของสถานีรถไฟธนบุรี ทางโรงพยาบาลศิริราชเพิ่งได้รับกรรมสิทธิ์เพิ่มเติมอีก 30 ไร่ เมื่อปี พ.ศ. 2547 เพื่อพัฒนาเป็นสถาบันการแพทย์ชั้นเลิศในเอเชียอาคเนย์ คือ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ซากกำแพงวังหลังส่วนนี้ได้ถูกอนุรักษ์ดูแลเป็นอย่างดี โดยมีกระจกควบคุมอุณหภูมิครอบไว้อยู่ปัจจุบันตำบลวังหลังได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น แขวงศิริราช ส่วนถนนเข้าวังหลังได้รับชื่อว่า ถนนวังหลัง

ใกล้เคียง

พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระราชวังต้องห้าม พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 พระราชวังดุสิต พระราชวังสนามจันทร์ พระราชวังบางปะอิน พระราชวังพญาไท