พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์
พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์

พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์

พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์[1] (ศัพท์ราชบัณฑิตยสถาน) หรือ พระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์[2] (ศัพท์โรมันคาทอลิก) หรือ พระวาทะทรงเกิดเป็นมนุษย์ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (อังกฤษ: Incarnation of the Word) ในศาสนาคริสต์หมายถึงการที่พระเยซูซึ่งเชื่อว่าเป็นพระเจ้าพระบุตรหรือพระวจนะ ได้เสด็จลงมาบนโลกเพื่อรับสภาพมนุษย์ผ่านทางครรภ์ของนางมารีย์ (บางคริสตจักร เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ จึงยกย่องพระนางมารีย์พรหมจารีเป็นพระมารดาพระเจ้าด้วย)เรื่องพระเจ้ามารับสภาพมนุษย์ถือเป็นหลักคำสอนทางเทววิทยาที่หลักข้อเชื่อไนซีนให้การรับรอง โดยถือว่าพระเยซูเป็นพระบุคคลที่สองในพระเป็นเจ้าซึ่งเป็นตรีเอกภาพ ได้มารับสภาพมนุษย์โดยที่ธรรมชาติพระเป็นเจ้าเดิมยังดำรงอยู่ในตัว หลักข้อเชื่อนี้จึงถือว่าพระเยซูทรงเป็นทั้งมนุษย์และพระเป็นเจ้าโดยสมบูรณ์ ดังที่พระวรสารนักบุญยอห์นระบุว่า "พระวจนะเป็นพระเจ้า ... พระวจนะทรงรับธรรมชาติมนุษย์และเสด็จมาประทับอยู่ท่ามกลางเรา"[3][4]คริสต์ศาสนิกชนส่วนใหญ่ยังเชื่อว่าในตัวพระเยซูมีธรรมชาติพระเจ้านั้นรวมอยู่กับธรรมชาติมนุษย์ โดยที่ธรรมชาติทั้งสองไม่ได้ปะปนกัน[5] เหตุการณ์นี้เริ่มเกิดขึ้นเมื่อแม่พระรับสารจากทูตสวรรค์กาเบรียลว่านางจะได้ตั้งครรภ์พระบุตรพระเป็นเจ้าคริสตจักรโรมันคาทอลิก แองกลิคัน และลูเทอแรน จึงจัดวันสมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ตรงกับวันที่ 25 มีนาคม ของทุกปี โดยถือจากความเชื่อว่าพระคริสต์ทรงรับสภาพมนุษย์ในครรภ์ของพระแม่มารีย์ทันทีเมื่อแม่พระรับสาร แล้วประทับอยู่ในครรภ์ 9 เดือนจึงประสูติในวันคริสต์มาส เมื่อสมมติวันคริสต์มาสเป็นวันที่ 25 ธันวาคม วันที่พระแม่มารีย์รับสารและพระวจนะได้รับสภาพมนุษย์จึงสมมติเป็นวันที่ 25 มีนาคม อย่างไรก็ตาม คริสตจักรอื่น ๆ ในฝ่ายโปรเตสแตนต์ไม่มีการเฉลิมฉลองดังกล่าว

ใกล้เคียง

พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม