พระเจ้าอโศกมหาราช
พระเจ้าอโศกมหาราช

พระเจ้าอโศกมหาราช

พระเจ้าอโศกมหาราช (สันสกฤต: अशोकः; พ.ศ. 239 - พ.ศ. 312 ครองราชย์ พ.ศ. 270 - พ.ศ. 311) เป็นจักรพรรดิอินเดียโบราณแห่ง ราชวงศ์โมริยะ หรือเมารยะผู้ปกครอง อนุทวีปอินเดีย เกือบทั้งหมดพระองค์เป็นราชนัดดา (หลาน) ของผู้ก่อตั้งราชวงศ์เมารยะคือ พระเจ้าจันทรคุปต์ ผู้สร้างหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในอินเดียโบราณและจันทรคุปต์สละทั้งหมดแล้วบวชเป็นนักบวชเชน พระเจ้าอโศกเป็นหนึ่งในจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ของอินเดียพระองค์ขยายจักรวรรดิของพระเจ้าจันทรคุปต์และครอบครองเหนือดินแดนตั้งแต่ทางทิศตะวันตกคือพื้นที่ ประเทศอัฟกานิสถาน ในปัจจุบันขยายออกไปทางทิศตะวันออกถึงบังกลาเทศ เป็นพื้นที่ครอบคลุมอนุทวีปของชาวอินเดียทั้งหมดยกเว้นพื้นที่ที่เป็น รัฐทมิฬนาฑู ในปัจจุบัน คาร์นาตากาและรัฐเกรละ เมืองหลวงของจักรวรรดิคือเมืองปาฏลีบุตร (ในแคว้นมคธปัจจุบันนี้คือเมืองปัฏนะ) พร้อมด้วยเมืองหลวงต่างจังหวัดคือเมือง ตักศิลา และเมืองอุชเชน หรือ อุชเชนี ในครั้งพุทธกาลประมาณ พ.ศ. 283 หรือ 260 ปีก่อนคริสตกาลพระเจ้าอโศกทำสงครามทำลายล้างอย่างยืดเยื้อกับแคว้นกาลิงคะ(รัฐโอริศาในปัจจุบัน) พระองค์เอาชนะแคว้นกาลิงคะได้ซึ่งไม่เคยมีบรรพบุรุษของพระองค์ทำได้มาก่อนนักวิชาการบางคนบรรยายว่าพระองค์นับถือศาสนาเชนเหมือนบรรพบุรุษแต่ก็เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าพระองค์ยอมรับศาสนาพุทธตำนานบอกว่าพระองค์เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธหลังจากประสบพบเห็นกับคนตายที่มากมายในสงครามแคว้นกาลิงคะ พระองค์เองไม่รู้สึกยินดีกับความต้องการแห่งชัยชนะ พระเจ้าอโศกคำนึงคิดถึงสงครามแคว้นกาลิงคะ ซึ่งผลของสงครามมีคนตายมากกว่า 100,000 คน และ 150,000 คนถูกจับเป็นเชลยศึก สุดท้ายตายประมาณ 200,000 คน พระเจ้าอโศกเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธประมาณ 263 ปีก่อนคริสตกาล พระองค์ให้บันทึกพระบรมราชโองการไว้บนเสาศิลาเรียกว่าเสาอโศก และส่งสมณทูตเพื่อไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังประเทศศรีลังกาและเอเชียกลาง ให้สร้างอนุสรณ์สถานเพื่อเป็นเครื่องหมายให้รู้ว่าสถานที่นี้เป็นสถานสำคัญในช่วงชีวิตของพระพุทธเจ้าขึ้นมากมายซึ่งเรียกว่าสังเวชนียสถานนอกจากพระบรมราชโองการของพระเจ้าอโศก การให้รายละเอียดถึงชีวประวัติของพระองค์อาศัยตำนานซึ่งเขียนขึ้นในหลายร้อยปีต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 2 ได้แก่อาศัยตำนานอโศกาวทาน (เรื่องราวของพระเจ้าอโศกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของติวิยาวทาน Divyavadana) และในประเทศศรีลังกา อาศัยข้อความในคัมภีร์มหาวงศ์ สัญลักษณ์ของสาธารณรัฐอินเดียก็ดัดแปลงมาจากสิงโต 4 ตัวหันหลังเข้าหากันหันหน้าไปยังทิศทั้ง 4 ของพระเจ้าอโศก พระนามของพระเจ้าอโศก หมายความว่า ไม่มีความทุกข์ หรือไม่มีความเศร้าโศกในภาษาสันสกฤต แยกศัพท์ออกเป็น น ปฏิเสธ แปลงเป็น อ แปลว่า ไม่ และคำว่า โสกะ แปลว่า ความโศกเศร้า หรือความทุกข์ใจ ในพระบรมราชโองการของพระองค์ พระองค์ได้ใช้พระนามว่าเทวานัมปริยะ (Devānāmpriya) บาลีเป็น เทวานมฺปิย (Devānaṃpiya) แปลว่า ผู้เป็นที่รักของทวยเทพ และพระนามว่า ปริยทรรศิน (Priyadarśin) บาลีเป็น ปิยทสี (Piyadasī) แปลว่า ผู้เป็นที่เคารพของทุก ๆ คนด้วยความรัก พระนามของพระองค์มีความสัมพันธ์กับต้นอโศก เพราะพระองค์ชอบต้นไม้ชื่อว่าต้นอโศกซึ่งเป็นการอ้างอิงในคัมภีร์อโศกาวทาน เอช. จี. เวลส์ H.G. Wells ได้เขียนถึงพระเจ้าอโศกในหนังสือของเขาชื่อ The Outline of History ว่าในจำนวน 10,000 พระนามของพระมหากษัตริย์ที่หนาแน่นในตารางของประวัติศาสตร์ พระราชอำนาจพระมหากรุณาธิคุณความสงบสุข พระเกียรติคุณ และความชื่นชอบของพวกเขา พระนามของพระเจ้าอโศกส่องสว่าง เจิดจรัสเป็นดวงดาวหนึ่งเดียวพระเจ้าอโศกมหาราชเดิมมีพระอัธยาศัยโหดร้าย ชอบการทำสงครามกับแว่นแคว้นต่าง ๆ จนได้รับสมญานามว่า จัณฑาโศกราช (พระเจ้าอโศกผู้โหดเหี้ยม) แต่หลังจากที่พระองค์หันมานับถือศาสนาพุทธ พระองค์ก็ทรงกลายเป็นองค์เอกอัครพุทธศาสนูปถัมภก์ ผู้อุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาให้มีความเจริญรุ่งเรืองและแผ่ขยายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ศาสนาพุทธ และจากพระราชกรณียกิจมากมายนานัปการที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญด้วยทศพิธราชธรรมอย่างแท้จริง ทำให้ภายหลังทรงได้รับการขนานพระราชสมัญญานามว่า ธรรมาโศกราช (พระเจ้าอโศกผู้ทรงธรรม)

พระเจ้าอโศกมหาราช

พระราชบุตร 11 พระองค์
ราชวงศ์ โมริยะ
ก่อนหน้า พระเจ้าพินทุสาร
พระสนม 4 นาง
ครองราชย์ พ.ศ. 270–311 [3]
อัครมเหสี พระนางอสันธิมิตรา
พระราชมารดา พระนางสุภัทรางคี
พระราชบิดา พระเจ้าพินทุสาร
ราชาภิเษก พ.ศ. 275 [3]
สวรรคต พ.ศ. 311 (ชันษา 72) ณ ปัฏนา
ถัดไป พระเจ้าทศรถ
ประสูติ พ.ศ. 239 ณ ปัฏนา

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช